กระทรวงมหาดไทย (จีนโบราณ)
กระทรวงมหาดไทย หรือ ลี้ปู้ (จีน: 吏部; พินอิน: Lì bù) เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงในยุคจีนโบราณ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกเริ่มจัดตั้ง ลี้เฉา (吏曹) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ซ่างซูฉางซื่อเกา (尚书常侍曹) หลังราชวงศ์เว่ย และราชวงศ์จิ้น มันถูกเรียกว่ากระทรวงมหาดไทย (吏部 "ลี้ปู้") ในสมัยราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร เป็นหนึ่งในหกกระทรวงภายใต้สังกัด (尚书省"ซ่างซูเฉิ่ง") ขุนนางที่เป็นหัวหน้าของกระทรวงมหาดไทยถูกเรียกว่าเสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย (吏部尚书 "ลี้ปู้ซ่างซู")
กระทรวงมหาดไทยประกอบด้วย 4 กรม ดังนี้ (吏部司"ลี้ปู้ซือ")、(司封司 "ซือเฟิงซือ")、(司勋司 "ซือซุนซือ")、(考功司 "ข่าวกงซือ")
กระทรวงมหาดไทยราชวงศ์หมิง
[แก้]หลังจากจักรพรรดิหงอู่ยกเลิกตำแหน่งอัครเสนาบดี ทำให้กระทรวงทั้งหกอยู่ภายใต้การควบคุมจักรพรรดิโดยตรง กระทรวงมหาดไทยในราชวงศ์หมิง รับผิดชอบในการประเมิน แต่งตั้ง โยกย้าย ลดเลื่อนตำแหน่ง ถอดถอนข้าราชการ และมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการทหารในสังกัดกระทรวงกลาโหม (兵部 "ปิงปู้") แต่ไม่มีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐบาลต้าเสวียซื่อ (内阁大学士)
ขุนนางในกระทรวงมหาดไทยราชวงศ์หมิง
[แก้]- เสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย (吏部尚书"ลี้ปู้ซ่างซู") จำนวน 1 คน เป็นขุนนางขั้น 2 ชั้นเอก
- เสนาบดีช่วยซ้าย (左侍郎 "จั่วซื่อหลาง"), เสนาบดีช่วยขวา (右侍郎 "โย่วซื่อหลาง") เป็นขุนนางขั้น 3 ชั้นเอก
- ปลัดทูลฉลอง (司务厅"ซืออู้วทิง") จำนวน 2 คน เป็นขุนนางขั้น 9 ชั้นรอง
- จางวางกรม (郎中 "หลางจง") กรมละ 1 คน เป็นขุนนางขั้น 5 ชั้นเอก
- เจ้ากรม (员外郎 "หยวนไว่หลาง") กรมละ 1 คน เป็นขุนนางขั้น 5 ชั้นรอง
- สมุบาญชีย์ (主事 "จู่ซื่อ") กรมละ 1 คน เป็นขุนนางขั้น 6 ชั้นเอก
กระทรวงมหาดไทยราชวงศ์ชิง
[แก้]ขุนนางในกระทรวงมหาดไทยราชวงศ์ชิงประกอบด้วยเสนาบดีว่าการ (尚书 "ซ่างซู") เป็นขุนนางขั้น 1 ชั้นรอง และมีเสนาบดีช่วยซ้าย (左侍郎 "จั่วซื่อหลาง"), เสนาบดีช่วยขวา (右侍郎 "โย่วซื่อหลาง") เป็นขุนนางขั้น 2 ชั้นรอง[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “雍正八年俱定從二品。各部同。俱滿、漢一人。”《清史稿》卷114,职官一。