กระดาษเงินกระดาษทอง
หน้าตา
กระดาษเงินกระดาษทอง | |||||||||||
กระดาษเงินกระดาษทองในร้านค้า | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 金紙 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 金纸 | ||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | กระดาษทอง | ||||||||||
| |||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 陰司紙 | ||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 阴司纸 | ||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | กระดาษโลกบาดาล | ||||||||||
| |||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2) | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 紙錢 | ||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 纸钱 | ||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | กระดาษเงิน | ||||||||||
| |||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (3) | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 冥幣 | ||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 冥币 | ||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | เงินดำ | ||||||||||
|
กระดาษเงินกระดาษทอง เป็นกระดาษสีเงินสีทองด้านหนึ่งที่คนจีนใช้เผาไฟในพิธีไหว้เจ้าเป็นต้น
กระดาษเงินกระดาษทองในแบบต่างๆ
[แก้]- เทียงเถ่าจี๊
- เทียงเถ่าจี๊ (天頭錢) เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า "เผ่งอัง" เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดีใช้สำหรับไหว้พระแม่กวนอิม ปึงเถ่ากงม่า แปะกง ทีตี่แป่บ้อ (เทพยดาฟ้าดิน)และองค์เทพเจ้าต่างๆทุกพระองค์ ยกเว้นสัมภเวสี เจ้าที่ และบรรพบุรุษ
- กิมจั้ว
- กิมหงิ่งจั๊ว (金紙) หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาใช้ไหว้จะต้องใช้ไหว้บรรพบุรุษ และคนตาย สัญลักษณ์ที่จะมองเห็นได้คือ คนตายใหม่ๆที่ไม่เกิน 3 ปี จะใช้ไหว้ 24 แผ่นต่อ 1 ครั้ง บรรพบุรุษจะใช้ไหว้ 48 ใบ ต่อ 1 ครั้ง สำหรับการพับก็คือ ไหว้คนตาย 24 ใบ ต่อ 1 ครั้ง ไหว้บรรพบุรุษ 48 ใบ ต่อ 1 ครั้ง แต่ถ้าจะให้เผาง่ายก็ต้องมีรูปดอกไม้ นอกจากนั้น ยังมีแบบของฮกเกี้ยนทำเป็นข้อความแดง,เขียวอย่างละช่อง และของกวางตุ้งที่เป็นกระดาษมีทอง,เงินติดอยู่
- กิมเต้า
- กิมเต้า หงิ่งเต้า (金斗 銀斗) หรือ ค้อซีเต้า (錁絲斗) คือถังเงินถังทอง เปรียบเสมือนถังเงินถังทองใช้ไหว้เจ้าเพื่อขอเงินขอทองขอโชคลาภ ใช้ไหว้ตี่จู่เอี๊ย ไฉ่ซิ้งเอี๊ย ไท้ส่วยเอี๊ย พระแม่กวนอิม ทีตี่แป่บ้อ แป๊ะกง ปึงเถ่ากง ปึงเถ่าม่า เซี๋ยอ๊วงกง(เจ้าพ่อหลักเมือง)แบบจีนแต้จิ๋ว
- กิมเตี๊ยว
- กิมเตี๊ยว (金條) คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ อย่างน้อยการใช้ไหว้บรรพบุรุษ จะไหว้แบบ 8 แท่งขึ้นไปเท่านั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์เฉพาะบรรพบุรุษ ส่วนคนตายจะเป็น 4 แท่ง แต่ให้ไหว้ 4 ชุดขึ้นไป เปรียบเสมือนทองที่อยู่บนโลกมนุษย์ (โหล่วกัง)
- โกวอีพิมพ์
- โกวอีพิมพ์ (孤衣) คือ กระดาษที่ใช้ไหว้บรรพบุรุษ การไหว้จะต้องใช้ 1 ปึกต่อ 1 ครั้ง ประมาณ 12-13 แผ่น นำมาพับไหว้บรรพบุรุษ วิธีการพับก็คล้ายๆค้อซีหรือตั่วกิม และใช้ไหว้รวมกับตั่วกิม ค้อซี กิมจั๋ว อิมกังจัวยี่ และหว่องแซจี๊ เป็นต้น
- งิ่งเตี๋ย
- เง็งเตี๋ย หรือหงิ่งเตี๋ย/งิ่งเตี๋ย (銀錠) เป็นกระดาษแผ่นใหญ่ด้านหนึ่งเป็นสีเงินอีกด้านหนึ่งเป็นสีทอง ด้านในตรงกลางมีอั่งจี้ 1 แผ่นใช้ไหว้เจ้าที่ แก้บนและทำพิธีต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลและให้โชคลาภ
งิ่งเตี๋ย เป็นกระดาษเงิน-ทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ แปะกง โท่วตี่ซิ้ง ที่ละ 1 ชุด หรือ 3 ชุด แล้วแต่ธรรมเนียมของบ้านผู้ไหว้ โดยมักจะไหว้คู่กับค้อซี หรือ กระดาษทองขอบทองสีส้มด้วย บางธรรมเนียมก็ไหว้ 3 แผ่น 5 แผ่น 12 แผ่น หรือแล้วแต่
- ตั่วกิม
- ตั่วกิม (大金) หรือ ค้อซี (錁絲) เป็นกระดาษทอง และขอบสีส้ม โดยใช้ไหว้เจ้าที่ พับเป็นเคี่ยวเท้าซี และมีกระดาษแดงแปะติดตรงกลาง เพื่อไหว้เจ้าที่ ขอเรื่องความสุข ความเจริญ การงานเจริญรุ่งเรือง สุขภาพแข็งแรง ใช้ไหว้คู่กับงิ่งเตี๋ย กุ้ยนั้งฮู้ เป็นต้น บางครั้งใช้เทียงเถ่าจี๊ กิมงึ่งเต้าด้วยคู่กัน และใช้ไหว้บรรพบุรุษ จะต้องพับเป็นเคียวเท่าซีแต่ห้ามหักท้ายกระดก โดยไหว้ 1 ครั้งต้อง 48 แผ่นขึ้นไป ต้องมากกว่ากิมจั๋วและอวงแซจี๊ อิมกังจัวยี่ ถือเป็นกระดาษไหว้บรรพบุรุษ และบรรพบุรุษนำไปใช้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองต่อลูกหลานอีกด้วย โดยนำไปไหว้ทีตี่แป่บ้อด้วยการพับเคียวเท่าซีใส่อ้วงป้อและกระดกตั่วกิมขึ้นด้วย ไหว้พระแม่กวนอิม แป๊ะกง โท่วตี่กง แป๊ะเอี๊ย บุ่งซูผู่สัก โผ่วเฮี้ยงผู่สัก และเทพทุกพระองค์ ไหว้ที่ละ 12 แผ่นฃ
- เพ้า
- เพ้า (袍) คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ
- เหรียญเงินเหรียญทอง
- หากมีธนบัตรก็ต้องมีเหรียญ
- อ่วงแซจี๊
- อ่วงแซจี๊ (往生錢) เป็นกระดาษสีเหลืองอักษรจีนสีแดง ใช้ไหว้ฮอเฮียตี๋ในวันตรุษจีน สารทจีน เพื่อส่งให้ไปเกิดใหม่ ไม่ใช้ใบเบิกทางแบบที่เข้าใจ
ถือเป็นกระดาษสำคัญที่ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ต่อ 1 ครั้ง จะมีการใช้เป็นส่วนมาก มากกว่ากระดาษชิ้นอื่นๆ มากกว่า 3 เท่าอีกด้วย ถือเป็นกระดาษไหว้ที่สำคัญที่สุด หากไม่มีกระดาษก็ไม่ส่งถึงบรรพบุรุษด้วย
- อิมกังจัวยี่
- อิมกังจัวยี่ หรือแบงก์กงเต็ก เป็นกระดาษมาพิมพ์เป็นแบงค์ใช้ในภพภูมิซึ่งท้าวยมทูตเป็นผู้รับรอง พระอินทร์ (เง็กเซียนฮ่องเต้) เป็นพระคลัง ใช้จ่ายในภพภูมิและไหว้ตามทาง ฉะนั้นบุตรหลานจึงมีการหาซื้อมาไหว้บรรพบุรุษของตนเองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบบุตรหลานญาติมิตรที่เมืองมนุษย์ในเทศกาลจีนต่างๆ
- อ่วงป้อตั่วกิม
- อ่วงป้อตั่วกิม หรือกระทงเป็นกระดาษตั่วกิม12-13แผ่น กดหัวท้ายแล้วมัดรวมกัน จัดอยู่ในกระทงที่เรียกว่าอ่วงป้อ
- เทียนก้องกิม
- เทียนก้องกิม(天公金) หรือ ฮกเกี้ยนกิมแผ่นใหญ่ เป็นกระดาษเฉพาะที่ใช้บูชาหยกอ๋องซ่งเต้ หรือ ทีก้อง และ เทพเจ้าชั้นสูง ถือว่าเป็นกระดาษชั้นสูง ตรงกลางเขียนว่า "เทียนกวนซูฮก" หรือ ฟ้าประทานพร หมายถึง หยกอ๋องซ่งเต้ เป็นกระดาษที่เห็นเฉพาะกลุ่มของชาวฮกเกี้ยน และ ชาวไต้หวัน
- อั่งจี้
- อั่งจี้ เป็นกระดาษสีแดงฉลุคำอวยพรต่างๆ มักไหว้คู่กับหงิ่งเตี๋ย หลักๆมี 4 ชนิด คือ อั่งจี้ สี่เอี่ยจี้ หลักฮะจี้ และ จี้ตุ่ย
- ซิ่วกิม
- ซิ่วกิม เป็นกระดาษไหว้ของชาวกวางตุ้ง ลักษณะคล้ายตั่วกิม แต่มีการเขียนคำว่าซิ่ว ที่แปลว่าอายุยืนลงไป มักใช้ไหว้ในวันประสูติเทพเจ้าต่างๆ
- กิมก่ง
- กิมก่งเป็นกระดาษที่มีลักษณะคล้ายโคม ทำจากตั่วกิมม้วนแปะรอบโครงไม้ไผ่ แล้วติดลายต่างๆ เช่น ลายแปดเซียน นิยมใช้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลกินเจ
- ตั่วป้อ
- ตั่วป้อ มีลักษณะคล้ายก้อนทองใหญ่ มีทั้งขนาดเล็กกับใหญ่ ขนาดเล็กใช้ในเทศกาลต่างๆ เช่น ไหว้พระจันทร์ คนจีนเตี่ยเอี้ยนิยมใช้ไหว้วันเทวสมภพ ขนาดใหญ่ใช้ในงานกงเต็ก ไหว้บรรพบุรุษ แต่ก็ไหว้เทพเจ้าได้เช่นกัน
- อาเนี้ยเต็ง
- อาเนี้ยเต็ง หรือ วังเจ้าแม่ นิยมไหว้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ ลักษณะคล้ายวัง มีตุ๊กตาโปวเต็งของเทวีฉางเอ๋อหรือพระอวโลกิเตศวรอยู่ด้านใน ด้านนอกติดภาพหรือตุ๊กตาโปวเต็งแปดเซียน
- อ่วงมึ้ง
- อ่วงมึ้ง ทำจากตั่วกิมพับแล้วร้อยเป็นพวง ด้านบนอาจจะติดกระดาษพระอวโลกิเตศวร นิยมประดับโต๊ะไหว้พระจันทร์ หรือประดับศาสนสถาน
- กุ้ยนั้งฮู้
- กุ้ยนั้งฮู้ เป็นกระดาษสีแดง ตีตารางแปดช่อง มีรูปเทพเซียนต่างๆ เช่น เทพอุปถัมป์สี่ทิศ เทพดาวโชคลาภ กุมารเรียกทรัพย์ อยู่ในตาราง อีกช่องเป็นยันต์
ใช้ไหว้ขอคนอุปถัมป์ และยังมีอีกลักษณะหนึ่ง คือ ตั่วกิมตัดเป็นรูปคน เรียกว่า กุ้ยนั้ง หู่ที้ หู่จ้อ และรูปม้า เรียกว่าหลกแบ้ ไว้เร่งคำขอพร
- ไต่ปุ่ยจิ่วจั้ว
- ไต่ปุ่ยจิ่วจั้ว เป็นกระดาษไหว้บรรพบุรุษ จารึกมหากรุณาธารณี นิยมนำมาพับเป็นเรือ หรือที่เรียกว่านาวาธรรม นิยมใช้ในเทศกาลอุลลัมพนะ(สารทเดือน 7)
- การเผากระดาษ
- การเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เซ่นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ "เหี่ยม" หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิษฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผาเมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลาเป็นการเสร็จพิธี บางธรรมเนียมอาจมีการจุดประทัด เรียกว่า เสี๋ยโผ่งเผี๋ย เช่น เช็งเม้ง ตรุษจีน สารทจีน หลังจากไป๋ฮ่อเฮียตี๋ (ไหว้ผีต้นตระกูลจีน)และไหว้เจ้าที่ตามศาลเจ้าต่างๆ
อ้างอิง
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ กระดาษเงินกระดาษทอง