ข้ามไปเนื้อหา

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (อังกฤษ: Thailand Qualifications Framework) นิยมย่อว่า ทีคิวเอฟ (TQF) เป็นกรอบงานสำหรับใช้เป็นฐานในการถ่ายโอนหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย จัดทำโดยวิธีการควบคุมคุณภาพการสอน พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิของไทยพัฒนามาจากแนวคิด National Qualifications Framework ที่เป็นระบบควบคุมคุณภาพสำหรับการถ่ายโอนหน่วยกิต ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร[1]

เป้าหมายในอนาคตของทีคิวเอฟเพื่อให้นักศึกษาในประเทศกลุ่มอาเซียนสามารถถ่ายโอนหน่วยกิตกันได้ โดยในปัจจุบันมีอยู่สามประเทศที่เข้าร่วมโครงการนี้คือ ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และ ประเทศอินโดนีเซีย[2]

ทีคิวเอฟมีกระแสการคัดค้านจากนักวิชาการหลายท่าน[3] รวมถึงการร่วมลงชื่อคัดค้านกว่า 400 คน[4]

เป้าปัจจัย

[แก้]

กรอบความรู้ของทีคิวเอฟ เน้นให้นักศึกษามหาวิทยาลัยมีการเรียนรู้ในด้าน (1) คุณธรรมและจริยธรรม (2) ความรู้ (3) ปัญญา (4) ความรับผิดชอบ และ (5) ทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องในการทำงาน

สาขาวิชา

[แก้]

ทีคิวเอฟเริ่มประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ บังคับใช้เฉพาะ 4 สาขา คือ การท่องเที่ยว พยาบาลศาสตร์ โลจิสติกส์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ[5] สำหรับหลักสูตรที่ตั้งภายหลังปี 2553 และในปี พ.ศ. 2555 หลักสูตรที่ถูกจัดตั้งก่อนหน้าจำเป็นต้องสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานนี้

ในสาขาอื่นที่จะมีผลบังคับใช้ตามมาได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ การบัญชี อุตสาหกรรมการเกษตร ครุศาสตร์ และ ศึกษาศาสตร์[5]ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาลงนาม

สำหรับสาขาอื่น ทางคณะอนุกรรมการได้เห็นชอบในการดำเนินการ ซึ่งได้แก่สาขาวิชา สัตวแพทยศาสตร์, วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, การแพทย์แผนไทยประยุกต์ (ตรี-บัณฑิตศึกษา), พยาบาลศาสตร์ (บัณฑิตศึกษา), บริหารธุรกิจ, เศรษฐศาสตร์, เกษตรศาสตร์ ป่าไม้และประมง, สถาปัตยกรรมศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ, สาธารณสุขศาสตร์, กายภาพบำบัด, สิ่งแวดล้อม, ศิลปกรรมศาสตร์, นิเทศศาสตร์, แพทยศาสตร์, เภสัชศาสตร์, ทันตแพทยศาสตร์, การบริหารการศึกษา, ครุศาสตร์อุตสาหกรรม, คติชนวิทยา[5]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]