กรองกาญจน์ วีสมหมาย
กรองกาญจน์ วีสมหมาย | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2482 อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ |
คู่สมรส | บุญชง วีสมหมาย |
ทันตแพทย์หญิง กรองกาญจน์ วีสมหมาย (เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2482) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 5 สมัย[1] อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ เป็นภริยาของบุญชง วีสมหมาย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ประวัติ
[แก้]กรองกาญจน์ วีสมหมาย เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ณ ตำบลกล้วยกว้าง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ สำเร็จการศึกษาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล สมรสกับบุญชง วีสมหมาย อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ
กรองกาญจน์ วีสมหมาย เริ่มเข้าสู่งานการเมืองในปี พ.ศ. 2522 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 ในนามพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง 4 สมัย โดยไม่ย้ายพรรคเลย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จึงย้ายไปสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 5
กรองกาญจน์ เคยเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2534
ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 7[2] และในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกในประเทศไทย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กรองกาญจน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 กรองกาญจน์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบสัดส่วน ในนามพรรคชาติไทย[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2530 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
- ↑ วุฒิสภา ชุดที่ ๘ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๓)[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายชื่อผู้สมัครส.ส.ระบบสัดส่วน : พรรคชาติไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอห้วยทับทัน
- ทันตแพทย์ชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ
- พรรคกิจสังคม
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคชาติไทย
- บุคคลจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.