กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์
กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ (อังกฤษ: cornucopia หรือ horn of plenty; ละติน: cornu copiae) เป็นสัญลักษณ์ของอาหารและความอุดมสมบูรณ์ที่ใช้กันมาราวห้าร้อยปีก่อนคริสต์ศักราชบางครั้งก็เรียกว่า “กรวยแห่งอมาลเธีย” (Horn of Amalthea) หรือ “กรวยแห่งการเก็บเกี่ยว” (Harvest cone) “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” พบบ่อยในงานศิลปะทุกแขนงมาตั้งแต่สมัยกรีกโรมันในการใช้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และการให้กำเนิด
ในตำนานเทพเจ้ากรีกเทพีอมาลเธีย (Amalthea) เป็นแพะผู้เลี้ยงดูซูสด้วยน้ำนมของตนเอง เมื่อเขาของอมาลเธียหักด้วยอุบัติเหตุโดยซูสขณะที่กำลังเล่นกันซึ่งทำให้อมาลเธียกลายเป็นยูนิคอร์น เทพซูสผู้รู้สึกผิดก็คืนเขาให้ เขานั้นจึงมีอำนาจเหนือธรรมชาติที่จุสิ่งใดก็ได้ที่ผู้เป็นเจ้าของต้องการ ภาพดั้งเดิมเป็นภาพเขาแพะที่เต็มไปด้วยผลไม้และดอกไม้ เทพเช่นเทพีฟอร์ชูนา (Fortuna) บางภาพจะถือกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ กรวยก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของการให้กำเนิด
อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าเทพีอมาลเธียอาจจะเป็นนิมฟ์ที่ถูกขอให้มาเลี้ยงซูสเมื่อถูกซ่อนตัวจากโครเนิส อมาลเธียก็นำซูสไปซ่อนไว้ที่เขาไอไกออน (Mount Aigaion) ที่แปลว่าภูเขาแพะ ซึ่งอาจจะหมายความว่าอมาลเธียเป็นนิมฟ์ที่เป็นแพะหรือเป็นนิมฟ์ที่ดูและแพะก็ได้ ฉะนั้นเขาที่หักอาจจะเป็นเขาของอมาลเธียหรือเขาของแพะของอมาลเธียที่หักขณะที่เล่นกับซูสก็ได้ เพื่อเป็นการตอบแทนเทพซูสจึงสร้าง “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าอมาลเธียเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของกลุ่มดาวแพะทะเล
การสร้างงานศิลปะในสมัยใหม่ของ “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” มักจะเป็นกรวยที่สานด้วยหวายที่มีรูปร่างเหมือนเขาแพะที่บรรจุด้วยสิ่งต่างสำหรับฉลองเช่นผลไม้และผัก ในทวีปอเมริกาเหนือ “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” กลายมามีความสัมพันธ์กับเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้าและการเก็บเกี่ยว ในรัฐบริติชโคลัมเบีย “Cornucopia” เป็นชื่อของเทศกาลไวน์และอาหารประจำปีที่ฉลองกันที่วิสเลอร์ นอกจากนั้นสัญลักษณ์นี้ก็ยังปรากฏในธงและตราของรัฐไอดาโฮ, รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐนิวเจอร์ซีย์ และในตราของประเทศโคลอมเบีย, ประเทศเปรู และประเทศเวเนซุเอลา
“กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” ใช้ในเครื่องประดับที่เป็นสัญลักษณ์ของการมีบุตร, โชค และความอุดมสมบูรณ์[1] ผู้นับถือคริสต์ศาสนาบางกลุ่มก็กล่าวเตือนไม่ให้ใช้สัญลักษณ์ที่ว่านี้เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความโชคร้าย[2] และเปรียบเทียบกับ “เขา” ที่บรรยายในพระคัมภีร์ที่หมายถึงพระเยซูเท็จ (Antichrist)[3]
อ้างอิง
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์
ระเบียงภาพ
[แก้]-
กรวยจากคริสต์ศตวรรษที่ 1 พบที่เมสซินาในอิตาลี
-
เทพีฟอร์ชูนาแบบกรวย
-
เทพพลูโตถือกรวย
-
ประติมากรรมโดย จิโอวาน บัตติสตา คัชชินิที่ฟลอเรนซ์