ข้ามไปเนื้อหา

กรรติก (มีด)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัชรกรรติก คือมีดกรรติก ด้ามจับเป็นวัชระ, ปักกิ่ง ปี 1407

กรรติก หรือ ชีคูก (ละติน: kartika; ทิเบต: གྲི་གུག་, ไวลี: gri-gug,[1][2]) หมายถึงมีดปอกหนังขนาดเล็กแบบถือมือ รูปจันทร์เสี้ยว สำหรับใช้ในพิธีกรรมของตันตระในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน กรรติกเป็น "หนึ่งในคุณลักษณะอันสำคัญของเทพเจ้าตันตระปางดุร้าย"[3] อีกชื่อหนึ่งของมีดกรรติกคือ "มีดของพระฑากิณี"[1]

ในประติมานวิทยาวัชรยาน โดยทั่วไปมักปรากฏกรรติกนี้ถือในมือขวาของพระฑากิณี แต่ก็สามารถพบถือโดยเทพเจ้าชายบางองค์ที่ไม่ปรากฏบ่อย (esoteric)[4] เช่นปางหนึ่งของพระยมานตกะ[5] เช่นเดียวกับที่ฆัณฏากับวัชระมักปรากฏคู่กันเป็นวัตถุพิธีในวัตรและประติมานวิทยาของวัชรยาน กรรติกมักปรากฏคู่กับถ้วยกะโหลกกปาละ[6]

รูปของมีกรรติกซึ่งเป็นรูปจันทร์เสี้ยวที่มีปลายให้จับอีกฝั่งหนึ่งได้มาจากมีดแล่สัตว์โดยธรรมเนียมแบบอินเดีย[3]

ประติมานวิทยาของพระวัชรโยคินีมักมีกรรติกปรากฏอยู่ด้วย ในประติมานวิทยาของพระฑากิณีและยิดัมมักปรากฏมีดกรรติกในมือขวา และกปาละในมือซ้าย ซึ่งแสดงถึง "ความเป็นหนึ่งระหว่างปัญญากับอุปายะ ที่แยกขาดจากกันมิได้"[3]

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Allione, Tsultrim (1986). Women of Wisdom. London: Arkana. ISBN 1-85063-044-5.
  • Anon (2020). "About Yamantaka/Vajrabhairava". Yamataka.org. สืบค้นเมื่อ 2021-07-26.
  • Beer, Robert (2003). The Handbook of Tibetan Buddhist Symbols. Boston: Shambhala.
  • Beyer, Stephen (1973). The Cult of Tara: Magic and Ritual in Tibet. Berkeley, CA: University of California Press.
  • Harderwijk, Rudy (2011). "Tantric Symbols". A View on Buddhism. สืบค้นเมื่อ 2008-09-28.
  • Huntington, John; Bangdel, Dina (2004). The Circle of Bliss: Buddhist Meditational Art, Columbus Museum of Art, Columbus, Ohio. Chicago: Serindia Publications.