กรมขุนเสนาบริรักษ์
กรมขุนเสนาบริรักษ์ | |
---|---|
ราชวงศ์ | ปราสาททอง (ประสูติ) บ้านพลูหลวง (สถาปนา) |
พระบิดา | เจ้าฟ้าน้อย |
พระมารดา | ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) |
กรมขุนเสนาบริรักษ์[1] หรือ กรมขุนเสนาบุรีรักษ์[2] มีพระนามเดิมว่า หม่อมแก้ว[1] หรือ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอพระองค์แก้ว[2] เป็นพระโอรสของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) บาทบริจาริกาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นพระภาคิไนยของสมเด็จพระเพทราชา แต่ข้อมูลจากเอกสารของฟร็องซัว อ็องรี ตุรแปง (François Henri Turpin) ระบุว่าพระโอรสนี้ประสูติแต่เจ้าฟ้าน้อย พระราชอนุชา[3]
พระประวัติ
[แก้]กรมขุนเสนาบริรักษ์เป็นพระโอรสของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นางเป็นบุตรีของท้าวศรีสัจจาหรือพระนมเปรม และเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระเพทราชา ในเอกสารของฟร็องซัว อ็องรี ตุรแปง (François Henri Turpin) ให้ข้อมูลว่าพระชนนีมีศักดิ์พระญาติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[3]
แต่ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นหญิงผู้มักมากในกามคุณ แม้จะถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว แต่นางก็ยังเพียรหาข้ออ้างเพื่อออกไปจากพระราชฐานแล้วไปสมสู่กับกระทาชายต่างด้าวที่หมู่บ้านโปรตุเกสจนกลายเป็นที่อื้อฉาวในหมู่ชาวบ้านร้านตลาด ประชาชนได้นำความอัปรีย์ของนางไปขับร้องเป็นเพลงทั่วพระนคร เมื่อเรื่องไปถึงพระเนตรพระกรรณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงให้นางอยู่แต่ในรั้วในวัง มิให้ออกไปไหนอีก[4] ด้วยเหตุนี้นางจึงไปมีความสัมพันธ์กับเจ้าฟ้าน้อย พระราชอนุชาแทน ภายหลังเมื่อถูกจับได้ นางก็ให้ประสูติพระโอรสคือหม่อมแก้ว แล้วจึงรับโทษประหารด้วยการโยนให้เสือกิน[3] ส่วนเจ้าฟ้าน้อยรับโทษเฆี่ยนด้วยหวายจนมีพระอาการทุพพลภาพ ก็พบว่าพระวรกายบวม มีพระอาการอ่อนเปลี้ยที่พระเพลา และมีพระอาการอัมพาตที่พระชิวหา หลายคนเชื่อว่าพระองค์แสร้งเป็นใบ้[4]
เรื่องราวของหม่อมแก้วปรากฏอีกครั้งเมื่อสมเด็จพระเพทราชา ซึ่งเป็นพระมาตุลาขึ้นเสวยราชย์ โปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมแก้วหรือสมเด็จพระเจ้าหลานเธอพระองค์แก้วขึ้นเป็นกรมขุนเสนาบริรักษ์ (หรือกรมขุนเสนาบุรีรักษ์) ในฐานะที่หม่อมแก้วเป็นพระราชภาคิไนย[1][2]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของกรมขุนเสนาบริรักษ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 318
- ↑ 2.0 2.1 2.2 คำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง), ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 413
- ↑ 3.0 3.1 3.2 สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ (11 กันยายน 2552). "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับสมเด็จพระนารายณ์". ศิลปวัฒนธรรม 30:11, หน้า 101-105
- ↑ 4.0 4.1 ออกญาวิไชเยนทร์ หรือการต่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์, หน้า 220-226
- บรรณานุกรม
- ขจร สุขพานิช. ออกญาวิไชเยนทร์ หรือการต่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2560. 256 หน้า. ISBN 978-616-437-012-8
- ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9