กรดซอร์บิก
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
(2E,4E)-hexa-2,4-dienoic acid
| |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
เคมสไปเดอร์ | |
ECHA InfoCard | 100.003.427 |
เลขอี | E200 (preservatives) |
ผับเคม CID
|
|
UNII | |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
C6H8O2 | |
มวลโมเลกุล | 112.128 g·mol−1 |
จุดหลอมเหลว | 135 องศาเซลเซียส (275 องศาฟาเรนไฮต์; 408 เคลวิน) |
จุดเดือด | 228 องศาเซลเซียส (442 องศาฟาเรนไฮต์; 501 เคลวิน) |
pKa | 4.76 ที่ 25 °C |
ความอันตราย | |
NFPA 704 (fire diamond) | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
กรดซอร์บิก (อังกฤษ: sorbic acid) หรือ 2,4-กรดเฮกซะไดอีโนอิก (2,4-hexadienoic acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในธรรมชาติ มีสูตรเคมีคือ C6H8O2 เป็นของแข็งไม่มีสี ละลายในน้ำและระเหิดได้เร็ว
การผลิต
[แก้]แต่เดิมกรดซอร์บิกได้จากการควบแน่นของกรดมาโลนิกและทรานส์-บูเทนอล แต่วิธีในเชิงพาณิชย์จะใช้การทำปฏิกิริยาระหว่างอัลลีลคลอไรด์ อะเซทิลีนและคาร์บอนมอนอกไซด์ ประมาณการกันว่ามีการผลิตกรดซอร์บิก 30,000 ตันต่อปี[1]
ประวัติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1859 เอากุสท์ วิลเฮล์ม ฟอน ฮอฟมันน์ นักเคมีชาวเยอรมัน ได้สกัดกรดซอร์บิกจากการกลั่นน้ำมันของผลต้นโรแวน[2] (Sorbus aucuparia) ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1930-1940 มีการค้นพบว่ากรดซอร์บิกมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ จึงมีการนำมาซื้อขายในเวลาต่อมา จนถึงทศวรรษที่ 1980 มีการใช้กรดซอร์บิกในการยับยั้งเชื้อ Clostridium botulinum ในเนื้อสัตว์แทนไนเตรต ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง[3]
คุณสมบัติและการใช้
[แก้]กรดซอร์บิกมีค่า pKa เท่ากับ 4.76 มีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ จึงนิยมใช้เป็นวัตถุกันเสียในอาหาร[4] โดยใช้ในรูปของเกลือ เพราะละลายน้ำได้ดีกว่า เนื่องจากค่า pH ที่เหมาะสำหรับการต้านจุลินทรีย์คือ ต่ำกว่า pH 6.5 จึงมีการใช้กรดซอร์บิกที่ความเข้มข้น 0.025% ถึง 0.10%
กรดซอร์บิกมีเลขอี:
- E200 กรดซอร์บิก
- E201 โซเดียมซอร์เบต
- E202 โปแตสเซียมซอร์เบต
- E203 แคลเซียมซอร์เบต
นอกจากนี้ ยังมีการใช้กรดซอร์บิกในอุตสาหกรรมยาง และเป็นสารมัธยันตร์ในการผลิตพลาสติกและสารหล่อลื่น
ความปลอดภัย
[แก้]กรดซอร์บิกมีค่า LD50 ระหว่าง 10-7.4 กรัม/กิโลกรัม ซึ่งถือว่าสูง กรดซอร์บิกเป็นสารที่ไม่เสถียรและสลายตัวในดินได้เร็ว อย่างไรก็ตาม กรดซอร์บิกถือเป็นสารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Erich Lück, Martin Jager and Nico Raczek "Sorbic Acid" in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, Wiley-VCH, Weinheim, 2000.doi:10.1002/14356007.a24_507
- ↑ What Is Sorbic Acid? - Healthline
- ↑ A. S. Naidu, บ.ก. (2000). Natural food antimicrobial systems. p. 637. ISBN 0-8493-2047-X.
- ↑ "Sorbic acid" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2015-09-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กรดซอร์บิก
- "Sorbic acid - MSDS". Science Lab.