ข้ามไปเนื้อหา

Ă

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Ă (พิมพ์เล็ก: ă) เป็นตัวอักษรที่ใช้ภาษาโรมาเนียและภาษาเวียดนามโดยเฉพาะอักษรดังกล่าวก็คืออักษร A ที่มีบรีฟอยู่ด้านบน โดยมีลักษณะรูปร่างของเหมือนหูของถ้วยกาแฟ สำหรับในภาษาโรมาเนียใช้แทนเสียง schwa ส่วนของภาษาเวียดนามใช้แทนเสียง /a/ ที่มีเสียงสั้น


Ă/ă ยังคงถูกใช้ในภาษาบัลแกเรียเพื่อใช้แทนเสียง Ъ/ъ เมื่อเขียนด้วยอักษรละติน

ภาษาโรมาเนีย

[แก้]

ในภาษาโรมาเนีย ă ถูกใช้เพื่อแทนสระกลาง หรือ schwa /ə/ ซึ่งในภาษาโรมาเนีย พยางค์ที่มีสระ schwa จะถูกเน้นได้ไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษ ภาษากาตาลา หรือภาษาฝรั่งเศส เช่น cărțile /ˈkərt͡sile/ ("หนังสือหลายเล่ม") and odăi /oˈdəj/ ("ห้องหลายห้อง") หรือสามารถเกิดเป็นสระเดี่ยวของคำได้ เช่น măr /mər/ ("แอปเปิล") or văd /vəd/ ("ฉันเห็น")

ภาษาเวียดนาม

[แก้]

ในภาษาเวียดนาม จะออกเสียงเป็น /a/ ที่มีเสียงสั้น และจะต้องมีตัวสะกดต่อท้ายเท่านั้น และด้วยภาษาเวียดนามเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ จึงสามารถใส่วรรณยุกต์ 5 แบบด้วยกับตัวอักษร ă

  • Ằ ằ
  • Ắ ắ
  • Ẵ ẵ
  • Ẳ ẳ
  • Ặ ặ

ภาษามาเลย์

[แก้]

การแทนเสียงในระบบการเขียนภาษามาเลย์ก่อนปี 1972 ใช้ ă เพื่อแทนเสียง /ə/ ที่เกิดขึ้นท้ายพยางค์ของรากศัพท์ เช่น lamă /lamə/ ("ยาว", "เก่า"), mată /matə/ ("ตา"), and sană /sanə/ ("นี้") แต่ถูกแทนที่ด้วย a ภายหลังจากการใช้การสะกดแบบ Joint Rumi Spelling

ภาษาเขมร

[แก้]

Ă หรือ ă ถูกใช้ในการเขียนภาษาเขมรด้วยอักษรละติน เช่น Preăh Réachéanachăk Kămpŭchéa (ราชอาณาจักรกัมพูชา)

ดูเพิ่ม

[แก้]