ข้ามไปเนื้อหา

องศาแรงคิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก °Ra)
แรงคิน
เป็นหน่วยของอุณหภูมิ
สัญลักษณ์°R หรือ °Ra 
ตั้งชื่อตามวิลเลียม แรงคิน
การแปลงหน่วย
1 °R ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   หน่วยฐานเอสไอ   5/9x K
   หน่วยเอสไอ   5/9x − 273.15 °C
   หน่วยอังกฤษ/ธรรมเนียมสหรัฐ   x − 459.67 °F
William John Macquorn Rankine

องศาแรงคิน (อังกฤษ: Rankine Scale, สัญลักษณ์: °Ra[1]) คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นโดยวิศวกรช่างกลชาวสก็อตแลนด์ ชือ นายวิลเลียม แรงคิน (William Rankine) ผู้ร่วมก่อตั้งสาขาวิชาเทอร์โมไดนามิกส์ เป็นมาตรวัดอุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิกส์ในหน่วยวัดแบบอังกฤษ[2] ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1859 (หลังมาตรวัดเคลวิน ในปี ค.ศ.1849)[3] ใช้วัดอุณหภูมิพลศาสตร์และเอนโทรปี มีจุดเยือกแข็งของน้ำที่ 491.67 R และจุดการกลายเป็นไอน้ำที่ 671.67 R ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดของ Rankine Scale คือ 0 R ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K หรือ 0 R) มีความคล้ายคลึงกับเคลวินอย่างมาก เพราะมีจุดกำเนิดร่วมกัน แต่ต่างกันตรงที่องศาแรงคินมีองศาฟาเรนไฮต์เป็นแม่แบบ อุณหภูมิเพิ่ม 1 °Ra มีค่าเท่ากับ 1°F

จากองศาแรงคิน แปลงให้เป็นองศาแรงคิน
องศาเซลเซียส [°C] = ([°R] − 491.67) × ​59 [°R] = ([°C] + 273.15) × ​95
องศาฟาเรนไฮต์ [°F] = [°R] − 459.67 [°R] = [°F] + 459.67
เคลวิน [K] = [°R] × ​59 [°R] = [K] × ​95
องศาเดลิเซิล [°De] = (671.67 − [°R]) × ​56 [°R] = 671.67 − [°De] × ​65
องศานิวตัน [°N] = ([°R] − 491.67) × ​1160 [°R] = [°N] × ​6011 + 491.67
องศาโรเมอร์ [°Ré] = ([°R] − 491.67) × ​49 [°R] = [°Ré] × ​94 + 491.67
องศาเรอเมอร์ [°Rø] = ([°R] − 491.67) × ​724 + 7.5 [°R] = ([°Rø] − 7.5) × ​247 + 491.67

เปรียบเทียบกับมาตรวัดอุณหภูมิแบบอื่น

[แก้]
เคลวิน องศาเซลเซียส องศาฟาเรนไฮต์ องศาแรงคิน องศาเดลิเซิล องศานิวตัน องศาโรเมอร์ องศาเรอเมอร์
ศูนย์สัมบูรณ์ 0.00 −273.15 −459.67 0.00 559.73 −90.14 −218.52 −135.90
อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดที่เคยวัดได้บนพื้นผิวโลก[4] 184 −89.2[4] −128.6[4] 331 284 −29 −71 −39
อุณภูมิของน้ำแข็ง น้ำ และ เกลือของฟาเรนไฮต์ 255.37 −17.78 0.00 459.67 176.67 −5.87 −14.22 −1.83
จุดเยือกแข็งของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล) 273.15 0.00 32.00 491.67 150.00 0.00 0.00 7.50
อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลก 288 15 59 519 128 5 12 15
อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายมนุษย์ 310 37 98 558 95 12 29 27
อุณหภูมิที่สูงที่สุดที่เคยวัดได้บนพื้นผิวโลก[5] 331 58[5] 136.4[5] 596 63 19 46 38
จุดเดือดของน้ำ (ณ ระดับน้ำทะเล) 373.1339 99.9839 211.97102[6] 671.64102[6] 0.00 33.00 80.00 60.00
จุดหลอมเหลวของไททาเนียม (ณ ระดับน้ำทะเล) 1941 1668 3034 3494 −2352 550 1334 883
อุณหภูมิของพื้นผิวดวงอาทิตย์ 5800 5500 9900 10400 −8100 1800 4400 2900

ดูเพิ่ม

[แก้]
  1. การแปลงหน่วยอุณหภูมิ

อ้างอิง

[แก้]
  1. B.8 Factors for Units Listed Alphabetically from Thompson & Taylor 2008, pp. 45–69
  2. Pauken 2011, p. 20
  3. "Rankine". Merriam-Webster Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2019-11-07.
  4. 4.0 4.1 4.2 The Coldest Inhabited Places on Earth; researchers of the Vostok Station recorded the coldest known temperature on Earth on July 21st 1983: −89.2 °C (−128.6 °F).
  5. 5.0 5.1 5.2 "World: Highest Temperature". Arizona State University, School of Geographical Sciences. November 12, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2013. an Italian weather station in al 'Aziziyah (Libya) measured a temperature of 58 °C (136.4 °F) on September 13th 1922. "Although this record has gained general acceptance as the world's highest temperature recorded under standard conditions, the validity of the extreme has been questioned."
  6. 6.0 6.1 "Comparison of temperature scales". Tampile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-05-22.