ข้ามไปเนื้อหา

ฮวนกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮวนกาย (หฺวาน เจีย)
桓階
เสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจผี
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 220 (220) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจผี
หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 220 (220) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจผี
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 220 (220)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 213 (213) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ขุนพลราชองครักษ์หู่เปิน
(虎賁中郎將 หู่เปินจงหลางเจี้ยง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 213 (213) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
เจ้าเมืองเจ้าจฺวิ้น
(趙郡太守 เจ้าจฺวิ้นไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 213 (213)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
นายทะเบียนของอัครมหาเสนาบดี
(丞相主簿 เฉิงเซี่ยงจู่ปู้)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 208 (208) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ขุนนางสำนักราชเลขาธิการ
(尚書郎 ช่างชูหลาง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเลนเต้ /
พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครหลินเซียง มณฑลหูหนาน
เสียชีวิตไม่ทราบ
บุตร
  • หวนแก
  • บุตรชายคนอื่นอีกอย่างน้อย 3 คน
บุพการี
  • หฺวาน เชิ่ง (บิดา)
ญาติ
  • หฺวาน เชา (ปู่)
  • หฺวาน จฺว่าน (น้องชาย)
  • ฮวนฮี (น้องชาย)
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองปั๋วซฺวี่ (伯緒/伯序)
สมัญญานามเจินโหว (貞侯)
บรรดาศักดิ์อันเล่อเซียงโหว (安樂鄉侯)

ฮวนกาย[a], เต๊งไก่[b] หรือ หองไก่[c] (มีบทบาทในช่วงคริสต์ทศวรรษ 190–220) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หฺวาน เจีย (จีน: 桓階; พินอิน: Huán Jiē) ชื่อรอง ปั๋วซฺวี่ (จีน: 伯緒/伯序; พินอิน: Bóxù) เป็นขุนนางชาวจีนในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและรับใช้ขุนศึกโจโฉ หลังการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ฮวนกายได้รับราชการกับรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กเป็นระยะเวลาสั้น ๆ[6]

ภูมิหลังครอบครัว[แก้]

ฮวนกายเป็นชาวอำเภอหลินเซียง (臨湘縣 หลินเซียงเซี่ยน) เมืองเตียงสา (長沙郡 ฉางชาจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือนครหลินเซียง มณฑลหูหนาน[7] ปู่ของฮวนกายชื่อหฺวาน เชา (桓超) บิดาของฮวนกายชื่อหฺวาน เชิ่ง (桓勝) ทั้งคู่รับราชการเป็นเจ้าเมืองในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หฺวาน เชิ่งยังเป็นราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) ในสำนักราชเลขาธิการและมีชื่อเสียงในพื้นที่ภาคใต้ของจีน[8]

การรับราชการช่วงต้น[แก้]

ฮวนกายเริ่มรับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ปกครอง (功曹) ในเมืองเตียงสาอันเป็นเมืองบ้านเกิด ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 187 และ ค.ศ. 190 เมื่อซุนเกี๋ยนดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเตียงสา ซุนเกี๋ยนได้เสนอชื่อฮวนกายให้เป็นเซี่ยวเหลียน ราชสำนักฮั่นจึงเรียกตัวฮวนกายมายังนครหลวงลกเอี๋ยงให้มารับราชการเป็นเจ้าหน้าที่สำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง) เมื่อบิดาของฮวนกายเสียชีวิต ฮวนกายได้ลาออกจากตำแหน่งกลับมาบ้านเพื่อไว้ทุกข์[9]

ในปี ค.ศ. 191 หลังจากซุนกวนถูกสังหารในที่รบในยุทธการที่ซงหยงที่รบกับเล่าเปียวเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว ฮวนกายกล้าเสี่ยงเดินทางไปซงหยงเพื่อขอให้เล่าเปียวมอบศพของซุนเกี๋ยนให้ตนเพื่อจะได้จัดงานศพอย่างเหมาะสมให้กับซุนเกี๋ยน เล่าเปียวรู้สึกประทับใจในคุณธรรมของฮวนกายจึงตกลง[10] ภายหลังฮวนกายคืนศพของซุนเกี๋ยนให้กับครอบครัวของซุนเกี๋ยน ซึ่งได้นำศพไปฝังที่อำเภอขยกโอ๋ (曲阿縣 ชฺวีเออเซี่ยน; อยู่ในนครตานหยาง มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน)[11]

การรับราชการกับจาง เซี่ยนและเล่าเปียว[แก้]

ในปี ค.ศ. 200 เมื่อขุนศึกโจโฉและอ้วนเสี้ยวรบกันในยุทธการที่กัวต๋อ เล่าเปียวต้องรวบรวมกำลังพลจากเมืองต่าง ๆ ทั่วมณฑลเกงจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานในปัจจุบัน) เพื่อส่งไปโจมตีโจโฉและสนับสนุนอ้วนเสี้ยว[12] เมื่อฮวนกายได้ยินเรื่องนี้จึงไปพบจาง เซี่ยน (張羨) เจ้าเมืองเตียงสา และบอกว่า:

"ไม่เคยมีเรื่องความพ่ายแพ้ในประวัติศาสตร์ที่ไม่เกิดขึ้นกับใครก็ตามที่เริ่มสงครามโดยปราศจากเหตุผลที่ชอบธรรม นี่คือสาเหตุที่เจ๋ฮวนก๋ง (齊桓公 ฉีหฺวานกง) นำเจ้านายต่าง ๆ แสดงคำมั่นว่าจะภักดีต่อราชวงศ์จิว (周 โจว) และเป็นสาเหตุที่จิ้นบุนก๋ง (晉文公 จิ้นเหวินกง) เอาชนะผู้ชิงบัลลังก์และเชิญจิวเซียงอ๋อง (周襄王 โจวเซียงหวาง) กลับคืนครองบัลลังก์ บัดนี้ตระกูลอ้วนทำสิ่งที่ตรงกันข้าม หากเล่าเปียวตัดสินใจสนับสนุนตระกูลอ้วน ก็เหมือนหาเคราะห์ร้ายใส่ตน ท่านเจ้าเมืองผู้ชาญฉลาด ท่านควรใช้วิจารณญาณและสติปัญญาของท่านนำความรุ่งเรืองมาสู่ตนและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ ท่านไม่ควรเข้าร่วมกับคนพวกนั้น"[13]

จาง เซี่ยนถามฮวนกายว่าควรทำอย่างไรดี ฮวนกายตอบว่า:

"ท่านโจ (โจโฉ) อาจดูเหมือนกำลังจะพ่ายแพ้ในยามนี้ แต่เขาก็ยกตนเป็นผู้เชิดชูความชอบธรรม ช่วยเหลือราชสำนักจากการล่มจม และใช้อาณัติที่ได้รับพระราชทานจากจักรพรรดิในการลงโทษคนอธรรม ใครจะกล้ายืนขวางหน้าเขาเล่า หากท่านโน้มน้าวให้เจ้าเมืองของทั้งสี่เมืองตอนใต้ของเกงจิ๋วให้รักษาตำแหน่งไว้จากนี้และสนับสนุนท่านโจเพื่อเขาโจมตีเล่าเปียว นั่นจะเป็นการดีที่สุด!"[14]

จาง เซี่ยนทำตามคำแนะนำของฮวนกายและประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวเจ้าเมืองของสามเมืองใกล้เคียงคือบุเหลง (武陵; อยู่บริเวณนครฉางเต๋อ มณฑลหูหนานในปัจจุบัน), เลงเหลง (零陵 หลิงหลิง; อยู่บริเวณนครหย่งโจว มณฑลหูหนานในปัจจุบัน) และฮุยเอี๋ยง (桂陽 กุ้ยหยาง; อยู่บริเวณนครเชินโจว มณฑลหูหนานในปัจจุบัน) ให้ตัดสัมพันธ์กับเล่าเปียวและแปรพักตร์เข้าด้วยโจโฉ โจโฉยินดีมากเมื่อได้ยินเรื่องนี้[15]

เวลานั้นโจโฉยังคงทำศึกกับอ้วนเสี้ยว จึงไม่สามารถนำทัพไปยังมณฑลเกงจิ๋วเพื่อโจมตีเล่าเปียว เล่าปียวใช้โอกาสของสถานการณ์นี้เข้าโจมตีจาง เซี่ยนที่เมืองเตียงสา จาง เซี่ยนเสียชีวิตด้วยอาการป่วยระหว่างถูกล้อม เมืองเตียงสาตกถูกทัพเล่าเปียวยึดได้หลังการเสียชีวิตของจาง เซี่ยน ฮวนกายเข้าหลบซ่อนตัวและเมืองเตียงสาถูกตีแตก[16]

ต่อมาเล่าเปียวให้อภัยแก่ฮวนกายในเรื่องที่ฮวนกายยุยงจาง เซี่ยนและเจ้าเมืองคนอื่นของอีก 3 เมืองให้ก่อกบฏต่อตน และรับฮวนกายเข้ารับราชการกับตนในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยและเจ้าหน้าที่พิธีบวงสรวง (從事祭酒 ฉงชื่อจี้จิ่ว) เล่าเปียวยังต้องการจัดให้ฮวนกายไดแต่งงานของน้องสาวของชัวฮูหยินภรรยาของเล่าเปียว แต่ฮวนกายปฏิเสธและบอกว่าตนแต่งงานแล้ว ฮวนกายยังอ้างว่าตนป่วยและปฏิเสธที่จะรับใช้เล่าเปียว[17]

การรับราชการกับโจโฉ[แก้]

ปลายปี ค.ศ. 208 หลังจากโจโฉรับการสวามิภักดิ์ของเล่าจ๋องผู้เป็นบุตรชายและผู้สืบทอดตำแหน่งของเล่าปียวในฐานะเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว โจโฉได้ยินเรื่องที่ฮวนกายเคยให้คำแนะนำจาง เซี่ยนและเห็นว่าฮวนกายมีความสามารถไม่ธรรมดา จึงรับฮวนกายมารับราชการในตำแหน่งนายทะเบียน (主簿 จู่ปู้) ภายหลังเลื่อนตำแหน่งให้เป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเจ้าจฺวิ้น (趙郡; อยู่บริเวณนครหานตาน มณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน)[18]

การรับราชการกับโจผี[แก้]

ครอบครัว[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 6[1][2][3]
  2. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 63[4]
  3. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 63[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. ("ฮวนกายจึงว่าข้าพเจ้ากับเล่าเปียวได้รู้จักกันมาแต่น้อย ข้าพเจ้าจะขออาสาไปว่าแก่เล่าเปียวตามคำอุยกาย ซุนเซ็กได้ฟังก็มีความยินดีนักจึงให้ฮวนกายไป แลฮวนกายจึงเข้าไปหาเล่าเปียว") "สามก๊ก ตอนที่ ๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 13, 2023.
  2. ("เก๊งเหลียงจึงว่าแก่เล่าเปียวว่า ซึ่งท่านจะยอมให้ศพซุนเกี๋ยนไปนั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย แลซุนเกี๋ยนล่วงมาทำการครั้งนี้เพราะเปนคนใจหยาบช้าจึงถึงแก่ความตาย แลซุนเซ็กผู้บุตรนั้นก็ยังอ่อนความคิดอยู่ แลทหารทั้งปวงก็เห็นจะย่อท้อฝีมือทหารเรา ถ้าท่านฟัง ข้าพเจ้าจะคิดมิให้ทหารทั้งปวงเหลือกลับไปเมืองกังตั๋งได้แต่สักคนหนึ่งเลย ขอท่านให้จับฮวนกายฆ่าเสียเถิด แล้วยกทหารออกไปตี แลเมืองกังตั๋งนั้นก็จะได้เปนสิทธิแก่ท่าน ถ้าท่านมิฟังข้าพเจ้า แลจะให้ศพซุนเกี๋ยนไปนั้นเห็นจะมีอันตรายแก่ท่านเปนมั่นคง) "สามก๊ก ตอนที่ ๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 13, 2023.
  3. ("แล้วเล่าเปียวจึงว่าแก่ฮวนกาย ให้เร่งกลับออกไปเถิด เวลาพรุ่งนี้ให้เอาตัวหองจอมาส่งให้เราที่ประตูเมือง เราจะส่งศพซุนเกี๋ยนไปให้ ฮวนกายก็เอาเนื้อความกลับไปบอกแก่ซุนเซ็ก ๆ ก็มีความยินดี") "สามก๊ก ตอนที่ ๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 13, 2023.
  4. ("แล้วฮัวหิมอองลองซินเลียกกาเซี่ยงเล่าอี้เล่าฮัวตันเกียวตันกุนเต๊งไก่ขุนนางผู้ใหญ่ กับนายทหารประมาณสี่สิบคน พากันเข้าไปยังเมืองฮูโต๋ เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 13, 2023.
  5. ("พระเจ้าเหี้ยนเต้ขัดเคืองนักแต่ว่าจำเปนด้วยกลัว จึงสั่งให้หองไก่แต่งหนังสือ ในหนังสือนั้นว่าโจผีนี้สมควรอยู่แล้วที่จะรับราชสมบัติแทนเรา ด้วยเราคิดถึงโจโฉนัก แต่ก่อนบ้านเมืองเกิดศึกราษฎรก็ยับเยินไปอาศรัยอยู่ป่าดงมาก เพราะโจโฉปราบปรามข้าศึกบ้านเมืองก็ราบคาบราษฎรก็อยู่เย็นเปนสุข บัดนี้โจโฉหาบุญไม่แล้ว โจผีได้แทนบิดาเห็นมีบุญมากกว่าบิดาอีก ราษฎรทั้งปวงก็นิยมยินดีรักใคร่นัก ขอให้ท่านเสวยราชสมบัติแทนเราเถิด") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 13, 2023.
  6. de Crespigny (2007), p. 335.
  7. (桓階字伯緒,長沙臨湘人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  8. (魏書曰:階祖父超,父勝,皆歷典州郡。勝為尚書,著名南方。) อรรถาธิบายจากเว่ย์ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  9. (仕郡功曹。太守孫堅舉階孝廉,除尚書郎。父喪還鄉里。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  10. (會堅擊劉表戰死,階冒難詣表乞堅喪,表義而與之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  11. (堅薨,還葬曲阿。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 46.
  12. (後太祖與袁紹相拒於官渡,表舉州以應紹。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  13. (階說其太守張羨曰:「夫舉事而不本於義,未有不敗者也。故齊桓率諸侯以尊周,晉文逐叔帶以納王。今袁氏反此,而劉牧應之,取禍之道也。明府必欲立功明義,全福遠禍,不宜與之同也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  14. (羨曰:「然則何向而可?」階曰:「曹公雖弱,杖義而起,救朝廷之危,奉王命而討有罪,孰敢不服?今若舉四郡保三江以待其來,而為之內應,不亦可乎!」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  15. (羨曰:「善。」乃舉長沙及旁三郡以拒表,遣使詣太祖。太祖大恱。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  16. (會紹與太祖連戰,軍未得南。而表急攻羨,羨病死。城陷,階遂自匿。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  17. (乆之,劉表辟為從事祭酒,欲妻以妻妹蔡氏。階自陳已結婚,拒而不受,因辭疾告退。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
  18. (太祖定荊州,聞其為張羨謀也,異之,辟為丞相掾主簿,遷趙郡太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.

บรรณานุกรม[แก้]