ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอราชสาส์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอราชสาส์น
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ratchasan
วัดสะแกงาม
คำขวัญ: 
อำเภอราชสาส์น ตำนานเมืองเก่า
ใบโพธิ์สีขาว ข้าวหอมมะลิ
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอราชสาส์น
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอราชสาส์น
พิกัด: 13°46′56″N 101°16′54″E / 13.78222°N 101.28167°E / 13.78222; 101.28167
ประเทศ ไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่
 • ทั้งหมด134.9 ตร.กม. (52.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด12,591 คน
 • ความหนาแน่น93.34 คน/ตร.กม. (241.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 24120
รหัสภูมิศาสตร์2407
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอราชสาส์น เลขที่ 87
หมู่ที่ 2 ถนนราชสาส์น-พนมสารคาม ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ราชสาส์น เป็นอำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพนมสารคาม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปี พ.ศ. 2520[1] และตั้งเป็นอำเภอลำดับที่ 9 ของทางจังหวัดปี พ.ศ. 2537[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอราชสาส์นมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

ท้องที่เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองพนมสารคาม มณฑลปราจีนบุรี ต่อมาเมืองพนมสารคามถูกลดฐานะเป็นอำเภอ มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ ณ บ้านเมืองใหม่ ตำบลเมืองใหม่ ในปี พ.ศ. 2480 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปที่บ้านหนองรี ริมคลองท่าลาดฝั่งซ้าย ของตำบลเมืองเก่า[3] รวมทั้งจัดการปกครองของตำบลเมืองใหม่ขึ้นใหม่ โดยโอนพื้นที่หมู่ 1,3 ไปขึ้นกับตำบลเมืองเก่าปี พ.ศ. 2481[4] และแยกพื้นที่หมู่ 1–4 ตำบลเมืองใหม่ ตั้งเป็น ตำบลบางคา[5]

ทางราชการได้เห็นว่าพื้นที่มีระยะห่างจากอำเภอต้นสังกัดมากกว่า 11 กิโลเมตร ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และนายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแยกพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลบางคา ตำบลเมืองใหม่ และตำบลดงน้อย ของอำเภอพนมสารคาม ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2520[1] โดยที่ว่าการกิ่งตั้งที่หมู่ 2 ตำบลบางคา ในที่ดินนายอั๋น มันทสูตร์ ยกให้แก่ทางราชการจำนวน 25 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา

โดยใช้ชื่อกิ่งว่า "ราชสาส์น" (ราด-ชะ-สาน) มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง พระรถเมรี สถานที่ที่พระฤๅษีแปลงสาส์นให้กับพระรถนี้ จึงใช้เป็นชื่อหมู่บ้านว่า "ราชสาส์น" สืบมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นชื่อที่เป็นมงคลเพราะเป็นสถานที่ที่เปลี่ยนสถานการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดี จึงใช้เป็นชื่อกิ่งอำเภอเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ได้ยกฐานะเป็น อำเภอราชสาส์น ปี พ.ศ. 2537[2] มีระยะเวลาในการเป็นกิ่งอำเภอทั้งหมด 17 ปี 101 วัน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอราชสาส์นแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางคา (Bang Kha) 6 หมู่บ้าน
2. เมืองใหม่ (Mueang Mai) 9 หมู่บ้าน
3. ดงน้อย (Dong Noi) 16 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอราชสาส์นประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองใหม่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงน้อยทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอราชสาส์น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (13 ง): 773. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 420–421. วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2480
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2986–2987. วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2581
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (46 ง): 2507–2533. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2490