ข้ามไปเนื้อหา

หลวงอิศรางกูรเสนีย์ (หม่อมหลวงแช่ม อิศรางกูร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงอิศรางกูรเสนีย์
(หม่อมหลวงแช่ม อิศรางกูร)
เกิดหม่อมหลวงแช่ม
11 มิถุนายน พ.ศ. 2440
จังหวัดนครนายก
เสียชีวิต27 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 (77 ปี)
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นหม่อมหลวงอิสระ อิศรางกูร
อาชีพทหารอากาศ
คู่สมรสนางจินดา อิศรางกูรเสนีย์
บุตรนางศจี เจริญยิ่ง
นายวีรเดช อิศรางกูร ณ อยุธยา
บิดามารดาหม่อมราชวงศ์ลินลา อิศรางกูร
นางหนู อิศรางกูร ณ อยุธยา

พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์ (หม่อมหลวงแช่ม อิศรางกูร) (11 มิถุนายน พ.ศ. 2440 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2518) อดีตรองเสนาธิการทหารอากาศ

ประวัติ[แก้]

พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์ เป็นบุตรหม่อมราชวงศ์ลินลา อิศรางกูร กับนางหนู อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 12 คํ่า เดือน 7 ปีระกา ณ หมู่บ้านหนองนางวัว ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

การศึกษา[แก้]

ครอบครัว[แก้]

ได้ทำการสมรสกับนางสาวจินดา วิชัยมนูสาร ธิดาหลวงวิชัยมนูสาร กับนางเงิน วิชัยมนูสาร เมื่อ พ.ศ. 2474 พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์มีบุตรธิดา รวม 2 คน

  • นางศจี เจริญยิ่ง ได้ทำการสมรสกับ นายสนั่น เจริญยิ่ง
  • นายวีรเดช อิศรางกูร ณ อยุธยา

พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์ มีหลานตา 2 คน

  • ด.ญ.ลัศนันท์ เจริญยิ่ง
  • ด.ญ.มนไศล เจริญยิ่ง

ยศทหารและบรรดาศักดิ์[แก้]

ยศทหาร[แก้]

  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2462 เป็น สิบตรี
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 เป็น นักเรียนทำการนายร้อย
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2463 เป็น ร้อยตรี
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เป็น ร้อยโท
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2474 เป็น ร้อยเอก
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เป็น เรืออากาศเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2480 เป็น นาวาอากาศตรี
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485 เป็น นาวาอากาศโท
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 เป็น นาวาอากาศเอก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2492 เป็น พลอากาศตรี

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 เป็น หลวงอิศรางกูรเสนีย์
  • 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ออกจากบรรดาศักดิ์
  • 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 กลับใช้บรรดาศักดิ์เดิม

การทำงาน[แก้]

การรับราชการ[แก้]

  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 นักเรียนนายร้อย
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 ศิษย์การบิน
  • กันยายน พ.ศ. 2466 ประจำกองบินใหญ่ที่ 3
  • 11 กันยายน พ.ศ. 2466 ผู้บังคับหมวดบินในกองบินใหญ่ที่ 3
  • เมษายน พ.ศ. 2466 ผู้บังคับหมวดสถานีการบิน จังหวัดอุดรธานี
  • เมษายน พ.ศ. 2468 ผู้บังคับฝูงบินที่ 19 กองบินใหญ่ที่ 3
  • 3 มีนาคม พ.ศ. 2468 ผู้บังคับฝูงบินที่ 11 กองบินใหญ่ที่ 2
  • มีนาคม พ.ศ. 2469 ประจำฝูงศึกษาและฝึกหัด กองบินน้อยที่ 1 ของกองบินใหญ่ที่ 2
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2470 ผู้บังคับหมวดฝูงบินที่ 12 กองบินน้อยที่ 2 ของกองบินใหญ่ที่ 2
  • เมษายน พ.ศ. 2472 ประจำกองบินน้อยที่ 2 ของกองบินใหญ่ที่ 2
  • มิถุนายน พ.ศ. 2472 ผู้ช่วยผู้บังคับฝูงบินที่ 15 กองบินน้อยที่ 2 ของกองบินใหญ่ที่ 2
  • 3 มีนาคม พ.ศ. 2473 ผู้บังคับฝูงบินที่ 15 ใน บ.2 กองบินน้อยที่ 2
  • 12 มกราคม พ.ศ. 2476 ผู้รักษาการแทน ผบ.กบ. น้อย อีกตำแหน่งหนึ่ง
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ผบ. ฝูง 2 ใน บ. น้อย 3
  • 30 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ผบ. กองบินน้อย 3 แต่ตำแหน่งเดียว
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 ผู้บังคับกองบินน้อยที่ 13
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 หัวหน้าแผนก โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
  • 7 เมษายน พ.ศ. 2485 ประจำกรมเสนาธิการทหาร
  • 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 หัวหน้าแผนกทหารอากาศ เสนาธิการทหาร
  • 4 กันยายน พ.ศ. 2487 หัวหน้าแผนกที่ 1 กรมเสนาธิการทหาร
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2489 หัวหน้าแผนกที่ 4 กรมเสนาธิการทหาร
  • 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 หัวหน้าแผนกที่ 1 กรมเสนาธิการทหารอากาศ
  • 16 มิถุนายน พ.ศ. 2491 รักษาราชการหัวหน้าเสนาธิการทหารอากาศ 4
  • 27 ธันวาคม พ.ศ. 2491 รองเสนาธิการทหารอากาศ และรักษาราชการหัวหน้าเสนาธิการทหารอากาศ 1
  • 7 กันยายน พ.ศ. 2492 รองเสนาธิการทหารอากาศ

หลวงอิศรางกูรเสนีย์ออกจากราชการ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492

ตำแหน่งพิเศษ[แก้]

  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 เป็นราชองครักษ์เวร
  • 21 เมษายน พ.ศ. 2485 เข้าประจำ บก. ทหารสูงสุด
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เป็นกรรมการปราบปรามไข้จับสั่น
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2490 เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการทหารผ่านศึก
  • 12 ตุลาคม พ.ศ. 2491 เป็นราชองครักษ์เวร
  • 12 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2492 เป็นนายทหารติดตามคณะผู้แทนทหารอากาศ ไปเยี่ยมฐานทัพอากาศสิงคโปร์
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2493 เป็นนายทหารกองหนุนเบี้ยหวัด
  • 29 ตุลาคม พ.ศ. 2495 เป็นกรรมการพิจารณาการปฏิบัติราชการตามมติประชาชน
  • 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการพิจารณาอัตรากำลังของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ฝ่ายพลเรือน

นอกจากนี้หลวงอิศรางกูรเสนีย์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาสมทบศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 จนถึงแก่อนิจกรรม รวมเป็นระยะเวลาดำรงตำแหน่งนี้ถึง 23 ปี

ราชการทัพ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

พลอากาศตรี หลวงอิศรางกูรเสนีย์ ได้เริ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อปลายปี พ.ศ. 2517 และได้ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 เวลา 21.45 น. ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

สายสกุล[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๒, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๔, ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๔, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๔๖, ๑๑ สิงหาคม ๒๔๗๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๙๐, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ส่งเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๙๓, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๑๑, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑