ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารานุกรมวิทยาศาสตร์

สารานุกรมวิทยาศาสตร์ในวิกิพีเดียไทย เป็นสารานุกรมรวบรวมเรื่องราวในด้านวิทยาศาสตร์ในรูปแบบสถานีย่อย กล่าวคือเป็นหน้าต่างของการเรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ที่ถูกเขียนขึ้นในภาษาไทย ข้อมูลในสารานุกรมวิทยาศาสตร์เป็นข้อมูลเสรี อนุญาตให้แจกจ่าย ทำซ้ำ หรือดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดได้เสรีตามเงื่อนไขเอกสารเสรีของกนู โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดูเพิ่ม...

ภาพคัดเลือก
ภาพขยายของเกร็ดหิมะจากเครื่องเอสอีเอ็ม


บทความแนะนำ
ดาราจักรทางช้างเผือก

ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึง[[จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ|การกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ

ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี ดูเพิ่ม...


หัวข้อที่สำคัญ

คณิตศาสตร์ : ความน่าจะเป็น · แคลคูลัส · จำนวน · ตรรกศาสตร์ · ตรีโกณมิติ · ทฤษฎีกราฟ · พีชคณิต · เรขาคณิต · สถิติศาสตร์

เคมี : เคมีฟิสิกส์ · เคมีวิเคราะห์ · เคมีอนินทรีย์ · เคมีอินทรีย์ · ชีวเคมี · ตารางธาตุ · พันธะเคมี · วัสดุศาสตร์ · อะตอม · อุณหเคมี

ชีววิทยา : จุลชีววิทยา · นิเวศวิทยา · บรรพชีวินวิทยา · ปรสิตวิทยา · พฤกษศาสตร์ · พันธุศาสตร์ · โภชนาการ · สัตววิทยา · อณูชีววิทยา · อนุกรมวิธาน

ฟิสิกส์: กลศาสตร์ · พลศาสตร์ · พลังงาน · ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ · ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า · ทฤษฎีสัมพัทธภาพ · อุณหพลศาสตร์

ดาราศาสตร์: เอกภพ · ดาราจักร · ระบบสุริยะ · ดาวฤกษ์ · ดาวเคราะห์ · ดาวเคราะห์น้อย · สุริยุปราคา · ดวงอาทิตย์ · ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · การสำรวจอวกาศ

วิทยาศาสตร์โลก: นิเวศวิทยา · ภูมิศาสตร์ · ธรณีวิทยา · ธรณีสัณฐานวิทยา · วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม · ไฟ · น้ำ · ปรากฏการณ์โลกร้อน

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ : เกษตรกรรม · นาโนเทคโนโลยี · นิติวิทยาศาสตร์ · วิทยาศาสตร์การกีฬา · วิศวกรรมศาสตร์ · เทคโนโลยี · โทรคมนาคม · สถาปัตยกรรม · สารสนเทศ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ : ทันตกรรม · พยาบาล · แพทยศาสตร์ · เภสัชกรรม · สาธารณสุข · สัตวแพทยศาสตร์ · ระบาดวิทยา

คอมพิวเตอร์ : อินเทอร์เน็ต · อีเมล · เครือข่าย · วิทยาการคอมพิวเตอร์ · ซอฟต์แวร์เสรี · ไวรัสคอมพิวเตอร์

รู้ไหมว่า...
คุณช่วยเราได้

นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้ คุณสามารถมีส่วนร่วมในสารานุกรมวิทยาศาสตร์ได้ อย่าลังเล!

"วิทยาศาสตร์" ในโครงการอื่น
วิกิพจนานุกรม
หาความหมาย
วิกิคำคม
คำคม
วิกิตำรา
หนังสือ
วิกิซอร์ซ
ค้นแหล่งเอกสาร
วิกิข่าว
เนื้อหาข่าว
คอมมอนส์
ภาพและสื่อ


หมวดหมู่

สถานีย่อยอื่น