ข้ามไปเนื้อหา

วัดอัมพวา (กรุงเทพมหานคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดอัมพวา
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 109 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดอัมพวา ตั้งอยู่เลขที่ 109 ถนนอิสรภาพ 37 และถนนจรัญสนิทวงศ์ 22 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 8 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับซอยวัดอัมพวา ทิศใต้ติดกับที่เอกชน ทิศตะวันออกติดกับกองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร. ทิศตะวันตกติดกับอาคารบ้านเรือนราษฎรและโรงเรียนวัดอัมพวา วัดอัมพวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2211 ในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่เดิมบริเวณนี้เป็นพื้นที่สวน วัดตั้งอยู่ทิศตะวันตกวังสวนอนันต์ กรมการขนส่งทหารเรือ วัดอัมพวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. 2216 (กรมการศาสนา,2526 358-359) ใบเสมารัชกาลที่ 1 เป็นเสมาคู่ หรืออาจจะเป็นใบเสมาสมัยกษัตริย์รัชกาลสุดท้ายของอยุธยาก็ได้ สองสมัยนี้ ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาทำซุ้มเป็นกูบช้าง ด้านหลังอุโบสถมีเจดีย์ทรงกลมใหญ่ เป็นแบบรัชกาลที่ 4 แสดงว่า ต้องมาปฏิสังขรณ์ใหญ่สมัยรัชกาลที่ 4 (น.ณ.ปากน้ำ)

ทั้งอุโบสถ และเจดีย์ใหญ่หนึ่งเจดีย์ และเจดีย์เล็กสองเจดีย์ เป็นปูชนียสถานเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างตอนปลายสมัยอยุธยา มีปูชนียวัตถุ พระประธาน หน้าตัก กว้าง 4 ศอก พระพักตร์ มีลักษณะประติมากรรมแบบอู่ทอง พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยสัมฤทธิ์ 4 องค์ ปัจจุบันเหลือ 3 องค์ ภาพเขียนที่บานประตูหน้าต่างหลังอุโบสถสมัยโบราณ (ปัจจุบันไม่พบ) มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทั้งภายในอุโบสถ และภายในวิหารหลวงปู่นาค

จากแนวคิดที่ศึกษามีความเชื่อสนับสนุนตามแนวคิดของ น.ณ. ปากน้ำ และกรมการศาสนา วัดอัมพวา น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาช่วงเจริญรุ่งเรือง ดังตัวอย่างที่กล่าว ในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (2085) โปรดให้ขุดคลองแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ เพื่อสะดวกในการค้าขายในบริเวณดินแดนแถบนี้ประชาชนมาอาศัยจำนวนหนาแน่นที่สุด เริ่มเป็นเมืองด้านการค้าขายที่สำคัญ วัดอัมพวา อาจจะเริ่มก่อตัวในสมัยนั้นก็ได้ (กรองแก้ว บูรณะกิจ และสว่าง ขวัญบุญ ; 75)

พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่สัญจรไปมาสะดวกสบาย มีซอยต่อเชื่อมระหว่างถนนอิสรภาพ ซอย 37 กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 22 การคมนาคมสะดวก อาคารเสนาสนะ มีอุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 26 เมตร ก่ออิฐถือปูน เจดีย์ทรงระฆังคว่ำด้านหลังอุโบสถ 1 ปาง มีวิหารหลวงปู่นาค กว้าง 7เมตร ยาว 14.30 เมตร อาคารคอนกรีต วิหารหลวงปู่แป้น กว้าง 7 เมตร ยาว 14 เมตร ก่ออิฐถือปูนวิหารสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) ก่ออิฐถือปูน กุฏิสงฆ์ขนาดสงฆ์ขนาดเล็ก 4 ห้อง จำนวน 2 หลัง กุฏิสงฆ์ขนาดใหญ่สองชั้น 12 ห้อง จำนวน 1 หลัง กุฏิสงฆ์ขนาดเล็กสองชั้น 6 ห้อง จำนวน 1 หลัง ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 36 เมตร 1 หลัง อาคารคอนกรีต หอระฆัง 1 หลัง เมรุ 1 หลัง ศาลาการบำเพ็ญกุศล 2 หลัง ด้านการศึกษา ทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมจากสำนักเรียนต่างๆ ได้ตามอัธยาศัย และเป็นประเพณีปฏิบัติมาช้านาน นอกจากนั้นยังให้ทางราชการสร้างโรงเรียนขึ้นในวัดเป็นการสนับสนุนการศึกษาของชาติอีกด้วย

ปัจจุบันมีพระภิกษุสามเณรศึกษาเล่าเรียนจำนวนมากตั้งแต่ระดับปริยัติธรรมแผนธรรม นักธรรมตรี โท – เอก และบาลี ตั้งแต่ประโยค 1-2 เป็นต้นไป

เจ้าอาวาสวัดอัมพวา[แก้]

  • พระอาจารย์ ตา (เก่งทางสมถะกัมมัฏฐาน)
  • พระอาจารย์ พุก
  • พระอาจารย์ ปลื้ม
  • พระอาจารย์ จัน
  • พระอาจารย์ นุ้ย (หลวงอาพระครูแป้น)
  • พระครูแป้น รชโฏ (พ.ศ. 2456-250)
  • พระครูโสภณพัฒนกิจ (ปัจจุบัน เป็น พระราชพัฒนโสภณ เจ้าอาวาสวัดชิโนรสารามวรวิหาร พ.ศ 2553)
  • พระครูโสภณวิมลกิจ (พ.ศ. 2527 - 2545)
  • พระครูวุฒิธรรมานันท์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]