ข้ามไปเนื้อหา

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024
สนามกีฬาเวมบลีย์ในลอนดอนจะเป็นเจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศ
รายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2023–24
วันที่1 มิถุนายน ค.ศ. 2024 (2024-06-01)
สนามสนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
ดานิ การ์บาฆัล (เรอัลมาดริด)[1]
ผู้ตัดสินสลัฟคอ วินชิช (สโลวีเนีย)[2]
สภาพอากาศมีเมฆ
18 °C (64 °F)
54% ความชื้นสัมพัทธ์[3]
2023
2025

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024 จะเป็นนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2023–24 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ 69 ของการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรประดับสูงสุด และเป็นฤดูกาลที่ 32 นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อจากยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ เป็นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยจะแข่งขันที่สนามกีฬาเวมบลีย์ ใน ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2024.[4] เนื่องจากการเลื่อนและการย้ายสถานที่ของนัดชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2020 เจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศจึงถูกเลื่อนย้อนกลับไปหนึ่งปี โดยที่ลอนดอนจะเป็นเจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2024 แทน[5]

ผู้ชนะจะได้รับสิทธิ์ในการเล่นกับผู้ชนะของยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2023–24 ในการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2024 รวมทั้งผ่านเข้ารอบฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2025 โดยใช้โควต้าของผู้ชนะยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[6] ทีมรองชนะเลิศจะได้รับการเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่า ซึ่งหมายความว่าขึ้นอยู่กับทีมที่จะผ่านเข้ารอบโดยใช้โควต้าทีมที่อันดับดีที่สุดใน 4 ปีของยูฟ่า ซึ่งยังมีอีก 3 ทีมที่ต้องรอตัดสินอันดับ[6]

ทีม[แก้]

ทีม การเข้าร่วมครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาหมายถึงทีมชนะเลิศ)
เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 2 (1997, 2013)
สเปน เรอัลมาดริด 17 (1956, 1957, 1958, 1959, 1960, 1962, 1964, 1966, 1981, 1998, 2000, 2002, 2014, 2016, 2017, 2018, 2022)

สนามแข่งขัน[แก้]

นี่เป็นครั้งที่สามของนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่จะจัดขึ้นที่สนามกีฬาเวมบลีย์ที่สร้างใหม่ โดยก่อนหน้านี้เคยจัดขึ้นในปี 2011 และ 2013 โดยรวมแล้วนี่เป็นครั้งที่แปดที่จัดขึ้นในลอนดอน โดยอีกห้านัดก่อนหน้านี้จัดขึ้นที่สนามกีฬาเวมบลีย์เดิม ในปี1963, 1968, 1971, 1978 และ 1992 นัดนี้จะเป็นนัดชิงชนะเลิศถ้วยยุโรปครั้งที่เก้าที่จัดขึ้นในอังกฤษ โดย นัดชิงชนะเลิศ 2003 จัดขึ้นที่โอลด์แทรฟฟอร์ดในแมนเชสเตอร์ เท่ากับสถิตินัดชิงชนะเลิศถ้วยยุโรปเก้าครั้งที่จัดขึ้นใน อิตาลี, เยอรมนี และสเปน นอกจากนี้ยังเป็นครั้งที่สิบสามที่จัดขึ้นในสหราชอาณาจักร โดยนัดชิงชนะเลิศในปี 1960, 1976, 2002 จัดขึ้นที่สกอตแลนด์ และนัดชิงชนะเลิศ 2017 จัดขึ้นที่เวลส์[7] สนามกีฬาเวมบลีย์ยังเคยเป็นสนามกีฬาที่การจัดแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 โดยมีแปดนัดที่ได้เล่นในสนามกีฬาเวมบลีย์ รวมถึงรอบรองชนะเลิศและนัดชิงชนะเลิศ

การคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]

กระบวนการประมูลเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 โดยยูฟ่า เพื่อคัดเลือกสนามแข่งขันที่ใช้จัดยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022 และ 2023[8] สมาคมมีเวลาจนถึง 22 มีนาคม 2019 ในการแสดงความสนใจ และต้องส่งเอกสารการประมูลภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2019[9]

มีรายงานว่า สมาคมฟุตบอล ได้ยื่นข้อเสนอให้สนามกีฬาเวมบลีย์ในลอนดอนเป็นสนามเจ้าภาพจัดแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ 2023 เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบหนึ่งร้อยปีการเปิดใช้สนามเดิมในปี 1923[9] เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2019 สนามกีฬาเวมบลีย์ถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการบริหารยูฟ่า ระหว่างการประชุมในลูบลิยานา,สโลวีเนีย[10] โดยที่มีการเลือกสนามเจ้าภาพสำหรับจัดการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2021 และ 2022 อีกด้วย[11]

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2020 คณะกรรมการบริหารยูฟ่าได้ประกาศว่าเนื่องจากการเลื่อนและการย้ายของ นัดชิงชนะเลิศ 2020, ลอนดอนจะเป็นเจ้าภาพในนัดชิงชนะเลิศ 2024 แทน[5]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

หมายเหตุ: ในผลการแข่งขันทั้งหมดด้านล่างนี้ ผลของทีมที่ได้เข้าชิงชนะเลิศจะขึ้นต้นก่อน (H: เหย้า; A: เยือน)

เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ รอบ สเปน เรอัลมาดริด
คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 0–2 (A) นัดที่ 1 เยอรมนี อูนีโอนแบร์ลีน 1–0 (H)
อิตาลี มิลาน 0–0 (H) นัดที่ 2 อิตาลี นาโปลี 3–2 (A)
อังกฤษ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 1–0 (A) นัดที่ 3 โปรตุเกส บรากา 2–1 (A)
อังกฤษ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 2–0 (H) นัดที่ 4 โปรตุเกส บรากา 3–0 (H)
อิตาลี มิลาน 3–1 (A) นัดที่ 5 อิตาลี นาโปลี 4–2 (H)
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 1–1 (H) นัดที่ 6 เยอรมนี อูนีโอนแบร์ลีน 3–2 (A)
ชนะเลิศ กลุ่ม เอฟ ตารางคะแนน ชนะเลิศ กลุ่ม ซี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 สเปน เรอัลมาดริด 6 18
2 อิตาลี นาโปลี 6 10
3 โปรตุเกส บรากา 6 4
4 เยอรมนี อูนีโอนแบร์ลีน 6 2
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง รอบแพ้คัดออก คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง
เนเธอร์แลนด์ เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 3–1 1–1 (A) 2–0 (H) รอบ 16 ทีมสุดท้าย เยอรมนี แอร์เบ ไลพ์ซิช 2–1 1–0 (A) 1–1 (H)
สเปน อัตเลติโกเดมาดริด 5–4 1–2 (A) 4–2 (H) รอบก่อนรองชนะเลิศ อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 4–4
(ดวลลูกโทษ 4–3)
3–3 (H) 1–1
(ต่อเวลา) (A)
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 2–0 1–0 (H) 1–0 (A) รอบรองชนะเลิศ เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 4–3 2–2 (A) 2–1 (H)

ก่อนการแข่งขัน[แก้]

อัตลักษณ์[แก้]

อัตลักษณ์ทางภาพของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024 ได้รับการเปิดเผยในการจับสลากรอบแบ่งกลุ่มที่โมนาโก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2023.[12]

ผู้ตัดสิน[แก้]

ผู้ตัดสินชาวสโลวีเนีย สลัฟคอ วินชิช จะเป็นผู้ตัดสินในนัดชิงชนะเลิศ.

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2024, ผู้ตัดสินชาวสโลวีเนีย สลัฟคอ วินชิช ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลรอบชิงชนะเลิศโดยยูฟ่า, พร้อมด้วยเพื่อนร่วมชาติสโลวีเนีย: ตอมาช คลันช์นิก และ อันดราช คอวาชิช ในฐานะ ผู้ช่วยผู้ตัดสิน และ เนจ์ค คัจตาซอวิช ในฐานะ ผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์.[2] เจ้าหน้าที่สามคนแรกเคยทำหน้าที่ด้วยกันก่อนหน้านี้ใน ยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022.[13] พวกเขาจะเข้าร่วมโดยเพื่อนร่วมชาติ ราเด ออเบรนอวิช ในตำแหน่งผู้ช่วย วีเออาร์, โดยชาวฝรั่งเศส ฟร็องซัวส์ เลอแตซิเยร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตัดสินที่สี่.[2]

พิธีเปิดการแข่งขัน[แก้]

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2024, นักร้องชาวอเมริกัน เลนนี แครวิตซ์ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้แสดงเปิดหัวในพิธีเปิดการแข่งขัน.[14]

การแข่งขัน[แก้]

รายละเอียด[แก้]

ทีม "เจ้าบ้าน" (สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดการ) จะถูกกำหนดขึ้นโดยการจับสลากเกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการจับสลากรอบก่อนรองชนะเลิศ และรอบรองชนะเลิศ

โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์[3]
เรอัลมาดริด[3]
GK 1 สวิตเซอร์แลนด์ เกรกอร์ โคเบิล
RB 26 นอร์เวย์ ยูเลียน ไรเยอร์สัน
CB 15 เยอรมนี มัทซ์ ฮุมเมิลส์ โดนใบเหลือง ใน 79 นาที 79'
CB 4 เยอรมนี นีโค ชล็อทเทอร์เบ็ค โดนใบเหลือง ใน 40 นาที 40'
LB 22 เนเธอร์แลนด์ เอียน มาอัตเซิน
DM 23 เยอรมนี แอมแร จัน (กัปตัน) Substituted off in the 80 นาที 80'
DM 20 ออสเตรีย มาร์เซ็ล ซาบิทเซอร์ โดนใบเหลือง ใน 43 นาที 43'
RW 10 อังกฤษ เจดอน แซนโช Substituted off in the 87 นาที 87'
AM 19 เยอรมนี ยูลีอาน บรันท์ Substituted off in the 80 นาที 80'
LW 27 เยอรมนี คาริม อาเดเยมี Substituted off in the 72 นาที 72'
CF 14 เยอรมนี นีคลัส เฟือลล์ครุก
ผู้เล่นสำรอง:
GK 33 เยอรมนี อาเลซันเดอร์ เมเยอร์
GK 35 โปแลนด์ มาร์แซ็ล ลอตกา
DF 25 เยอรมนี นิคคลัส ซือเลอ
MF 6 ตุรกี ซาลีห์ ออซจัน
MF 8 เยอรมนี เฟลิกซ์ เอ็นเมชา
MF 11 เยอรมนี มาร์โค ร็อยส์ Substituted on in the 72 minute 72'
MF 17 เยอรมนี มารีอุส ว็อล์ฟ
MF 38 เยอรมนี คเยลล์ วาตเยน
MF 43 อังกฤษ เจมี บีโน-กิทเทนส์ Substituted on in the 87 minute 87'
FW 9 โกตดิวัวร์ เซบัสเตียง อาแลร์ Substituted on in the 80 minute 80'
FW 18 เยอรมนี ยูสซูฟา มูโกโก
FW 21 เนเธอร์แลนด์ โดนีเยลล์ มาเลิน
ผู้จัดการทีม:
เยอรมนี เอดิน แตร์ซิช
GK 1 เบลเยียม ตีโบ กูร์ตัว
RB 2 สเปน ดานิ การ์บาฆัล
CB 22 เยอรมนี อันโทนีโอ รือดีเกอร์
CB 6 สเปน นาโช (กัปตัน)
LB 23 ฝรั่งเศส แฟร์ล็อง แมนดี
DM 12 ฝรั่งเศส เอดัวร์โด กามาวีงกา
CM 15 อุรุกวัย เฟเดริโก บัลเบร์เด
CM 8 เยอรมนี โทนี โครส Substituted off in the 85 นาที 85'
AM 5 อังกฤษ จูด เบลลิงงัม Substituted off in the 85 นาที 85'
CF 11 บราซิล โรดรีกู Substituted off in the 90 นาที 90'
CF 7 บราซิล วีนีซียุส ฌูนีโยร์ โดนใบเหลือง ใน 35 นาที 35' Substituted off in the 90+4 นาที 90+4'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 13 ยูเครน อันดรีย์ ลูนิน
GK 25 สเปน เกปา อาร์ริซาบาลากา
DF 3 บราซิล แอแดร์ มีลีเตา Substituted on in the 90 minute 90'
DF 4 ออสเตรีย ดาวิด อาลาบา
DF 17 สเปน ลูกัส บัซเกซ Substituted on in the 90+4 minute 90+4'
DF 20 สเปน ฟรัน การ์ซิอา
MF 10 โครเอเชีย ลูกา มอดริช Substituted on in the 85 minute 85'
MF 18 ฝรั่งเศส โอเรเลียง ชัวเมนี
MF 19 สเปน ดานิ เซบาโยส
MF 21 โมร็อกโก บราฮิม ดิแอซ
MF 24 ตุรกี อาร์ดา กือแลร์
FW 14 สเปน โฆเซลู Substituted on in the 85 minute 85'
ผู้จัดการทีม:
อิตาลี การ์โล อันเชลอตตี

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
ดานิ การ์บาฆัล (เรอัลมาดริด)[1]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
ตอมาช คลันช์นิก (สโลวีเนีย)
อันดราช คอวาชิช (สโลวีเนีย)
ผู้ตัดสินที่สี่:
ฟร็องซัวส์ เลอแตซิเอร์ (ฝรั่งเศส)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:[2]
ไซรีล มุกนิเอร์ (ฝรั่งเศส)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์:
เนจ์ค คัจตาซอวิช (สโลวีเนีย)
ผู้ช่วยของผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์:
ราเด ออเบรนอวิช (สโลวีเนีย)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์ด้านการล้ำหน้า:
มัสซีมีเลียโน เอียร์ราตี (อิตาลี)

กฎการแข่งขัน

  • แข่งขันในเวลาปกติ 90 นาที
  • ต่อเวลาพิเศษ 30 นาที หากเสมอกันในเวลาปกติ
  • ดวลลูกโทษตัดสิน หากเสมอกันหลังต่อเวลาพิเศษ
  • ส่งรายชื่อตัวสำรองได้สิบสองคน
  • อนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้สูงสุดห้าคน และจะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวเพิ่มขึ้นเป็นหกคนเมื่อต่อเวลาพิเศษ[note 1]

สถิติ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

บันทึก[แก้]

  1. แต่ละทีมจะมีสิทธิ์ในการเปลี่ยนตัวสามครั้ง และจะได้สิทธิ์ครั้งที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ สิทธิ์ดังกล่าวจะไม่นับรวมหากการเปลี่ยนตัวเกิดขึ้นในช่วงพักครึ่งเวลา ช่วงก่อนเริ่มการต่อเวลา และช่วงพักครึ่งเวลาในการต่อเวลา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Match summary
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Referee teams for 2024 UEFA club competition finals announced". UEFA. 13 May 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2024. สืบค้นเมื่อ 13 May 2024.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Tactical Line-ups – Final – Saturday 1 June 2024" (PDF). UEFA. 1 June 2024. สืบค้นเมื่อ 1 June 2024.
  4. "International match calendar and access list for the 2023/24 season". UEFA Circular Letter. No. 65/2022. Union of European Football Associations. 26 September 2022. สืบค้นเมื่อ 27 September 2022.
  5. 5.0 5.1 "UEFA competitions to resume in August". UEFA.com. Union of European Football Associations. 17 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
  6. 6.0 6.1 "FIFA Council confirms key details for FIFA Club World Cup 2025". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-20.
  7. "UEFA Champions League Statistics Handbook 2013/14: Finals" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 2014. สืบค้นเมื่อ 24 September 2019.
  8. "9 associations bidding to host 2021 club finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. 22 February 2019. สืบค้นเมื่อ 14 September 2019.
  9. 9.0 9.1 "London Mayor backs bid to host 2023 Champions League final at Wembley". Reuters. 31 July 2019. สืบค้นเมื่อ 14 September 2019.
  10. "Champions League final hosts announced for 2021, 2022 and 2023". UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 September 2019. สืบค้นเมื่อ 24 September 2019.
  11. "UEFA Executive Committee agenda for Ljubljana meeting". UEFA.com. Union of European Football Associations. 17 September 2019. สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.
  12. UEFA.com (2023-08-31). "Brand identity unveiled for the 2024 UEFA Champions League final in London | Inside UEFA". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-31.
  13. "Referee teams appointed for 2022 UEFA club competition finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. 11 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2022. สืบค้นเมื่อ 14 May 2024.
  14. "Lenny Kravitz to headline UEFA Champions League Final Kick Off Show by Pepsi". UEFA.com. 17 May 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
  15. "Full Time Report Final – Borussia Dortmund v Real Madrid" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 June 2024. สืบค้นเมื่อ 1 June 2024.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Team statistics" (PDF). UEFA. 1 June 2024. สืบค้นเมื่อ 1 June 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]