มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์
เป็นที่รู้จักกันในชื่อมาสเตอร์เชฟ จูเนียร์
อังกฤษMasterChef Junior Thailand
ประเภทเรียลลิตีโชว์แข่งขันการทำอาหาร
สร้างโดยแฟรงก์ รอดดัม
เค้าโครงจากMasterChef Junior UK
เสนอโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการหม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล3
จำนวนตอน30
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญ​โรจน์
สถานที่ถ่ายทำเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
กล้องกล้อง 8 ตัว
ความยาวตอน90 นาที (ฤดูกาลที่ 1-2)
110 นาที (ฤดูกาลที่ 3-ปัจจุบัน)
บริษัทผู้ผลิตเฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ19 สิงหาคม 2561 (2561-08-19)
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์

มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ เป็นรายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหารสำหรับเด็กอายุ 8–13 ปี โดยบริษัท เฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์จากกลุ่มเอนเดโมลชายน์ (ปัจจุบันกลุ่มแบนิเจย์) มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย เป็นภาคแยกของมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ทางช่อง 7HD[1][2][3] ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) และมีคณะกรรมการในการตัดสินคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)

พิธีกรและกรรมการ[แก้]

กรรมการ ฤดูกาล
1 2 3
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์)
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (หม่อมป้อม)
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
พิธีกร ฤดูกาล
1 2 3
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก)

รูปแบบรายการ[แก้]

รอบคัดเลือกรอบแรก[แก้]

ในรอบนี้จะเป็นการทดสอบทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร โดยจะมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวนหนึ่งเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบต่อไป และในรอบต่อไปจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหาร 1 จาน โดยที่ทางรายการจะกำหนดวัตถุดิบหลักและระยะเวลาในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ภายในเวลา 3 นาที หลังจากนั้นกรรมการจะตัดสินและประกาศผู้เข้าแข่งขันที่จะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบต่อไปที่มาสเตอร์เชฟคิทเชน (ใช้เฉพาะฤดูกาลที่ 1)

รอบกล่องปริศนา[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนา และวัตถุดิบพื้นฐานที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ

รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 นาทีจาก ซุปเปอร์มาเก็ตของมาสเตอร์เชฟ ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบทีมชาเลนจ์ ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน

รอบทดสอบทักษะทางด้านอาหาร[แก้]

ผุ้เข้าแข่งขันจะต้องทำการทดสอบทางด้านอาหาร ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นเชฟที่แตกต่างกันออกไป ทีมใดที่มีทักษะทางด้านอาหารที่ดีกว่า คนๆนั้นจะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบทันที

รอบการแข่งขันแบบทีม[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมา โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ อีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป

รอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ[แก้]

ทีมที่แพ้ในรอบทีมชาเลนจ์ จะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อคัดหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบทีมชาเลนจ์ สามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ

ฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ออกอากาศครั้งแรก ออกอากาศรอบชิงชนะเลิศ ผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขัน (เรียงตามลำดับคนออก) จำนวนผู้แข่งขัน จำนวนตอน
1 19 สิงหาคม 2561 9 ธันวาคม 2561 ชนัญชิดา พงษ์เพ็ชร สิริศักดิ์ มาทอง
ภาวริสร์ พานิชประไพ
นาโน & ราฟาแอล, เอ็นดู & แพรว, ซีนาย & เมล, แทน & เคซี, กัปตัน & สตังค์, อลิช & ริต้า, ชาช่า & ภูมิ, บูม & น้ำใส, อชิ & พอใจ, กอหญ้า & พีช, อัยริน, จัสมิน & เชน 26 16
2 22 กันยายน 2562 22 ธันวาคม 2562 พริมา สิงหะผลิน คีตกานท์ พงษ์ศักดิ์
วีรวิน เลิศบรรณพงษ์
เฟิร์น สุประวีณ์ & สตางค์ ธาดา, ภูมิใจ ศศิชา & เอพริล ภูวริศา, โกะ ณัชชา & ริสา มาริสา, แพท ชณิชา & เฟิร์ส ภควัฒน์, ฟิจิ กฤตภาส & มะกร ภุม ผนินทร, อิ่ม จิดาภา & โมสต์ ภูรี, จินจิน อินทร์ริตา & เคนเน็ธ เคนเน็ธ, พรีม ประวีร์รัชย์ & จัสติน ณัฐสกนธ์, รันย่า พิลันยา & ฟุ้ย พศิน, เฌอแตม ญาณิณีศ์, ตั้น ภาคิน & ปาร์แมน ปุญญพัฒน์, ชูบี้ จิรัชญา & เนลล์ กรรัมภา, เฟย์ รรกร & พอดี พอดี 28 14
3 2 มิถุนายน 2567 รอประกาศ รอประกาศ รอประกาศ พร้อม นภัทร & เพลงเพราะ นัทธ์ชวัล, 25 รอประกาศ

รางวัล[แก้]

ปี พ.ศ. ผู้มอบรางวัล สาขารางวัล ผลการตัดสิน
2562 ดาราเดลี่ อวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 รายการโทรทัศน์ที่สุดแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 10 รายการเด็กยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เอเชียน อคาเดมี ครีเอทีฟ อวอร์ด รายการฟอร์แมตยอดเยี่ยม ชนะ
2563 เอเชียน เทเลวิชั่น อวอร์ด ครั้งที่ 24 รายการฟอร์แมตยอดเยี่ยม ชนะ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. khaosod. "ทุ่ม 70 ล้านทำ "มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์" หนุ่ม ชูฝีมือเด็ก-สอดแทรกศิลปะอาหารไทย". สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. thairath. ""มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์" "หนุ่ม" ยันงบไม่เด็ก 70 ล้าน". สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. onbnews. "ต่อยอดความสำเร็จ !! เปิดรับสมัคร "มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์" อายุระหว่าง 8-13 ปี แข่งขันทำอาหาร ชิงเงิน 5 แสนบาท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]