ผู้ใช้:บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ภูมารินทร์ วงษ์ศรี[แก้]

ภูมารินทร์ วงษ์ศรี
เกิดพ.ศ. 2540 (อายุ 27 ปี)
ที่เกิดอำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ
แนวเพลง
อาชีพ
ช่วงปีพ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

ภูมารินทร์ วงษ์ศรี (พ.ศ. 2540 –) หรือชื่อในวงการคือ บิ๊ก ภูมารินทร์ เป็นนักแต่งเพลงหมอลำชาวไทย[1] มีชื่อเสียงจากการประพันธ์เพลงให้กับศิลปินหมอลำสมัยใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ได้แก่ จิตรฉรีญา บุญธรรม, เพลง พิมพ์ลดา, ซีแกรม โตเกียวมิวสิค, แพรวพราว แสงทอง, อุ๋งอิ๋ง รัตนาภรณ์, จินตหรา พูนลาภ เป็นต้น

ประวัติและวงการบันเทิง[แก้]

เขาเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ[2] โดยเขามีศักดิ์เป็นหลานของกลมลี จันทวลีศิลปินหมอลำในท้องถิ่น[2] เขาได้ฝึกฝนการร้องเพลงและหมอลำ มาตั้งแต่สมัยที่ยังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา จนกระทั่งเขาได้เข้าศึกษาที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เขาได้ร่วมกับเพื่อนก่อตั้งวงบัวอุบลซึ่งเป็นวงดนตรีหมอลำ[2] และในขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยดังกล่าวเขาได้พบกับจิตรฉรีญา บุญธรรม ศิลปินหมอลำซึ่งศึกษาอยู่ในคณะและมหาวิทยาลัยเดียวกันกับเขา[2]

เขามีผลงานด้านการขับร้องและประพันธ์เพลงเรื่อยมา จนกระทั่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เขาเริ่มมีชื่อเสียงจากเพลง ฮอยกอดภูยอดรวย[3][4] ซึ่งเขาได้ประพันธ์ให้จิตรฉรีญาขับร้อง โดยเพลงดังกล่าวมียอดผู้เข้าชมในยูทูบถึง 1,000,000 ครั้งภายในหนึ่งเดือน ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เพลงดังกล่าวมียอดผู้ชมในยูทูบร่วม 27,647,003 ครั้ง หลังจากความสำเร็จในเพลงดังกล่าว เขาได้ประพันธ์เพลงให้กับศิลปินอื่นเพิ่มเติม อาทิ ฮอยใจบั้งไฟแสน ขับร้องโดยเพลง พิมพ์ลดา[5], พบรักที่แม่กลอง ขับร้องโดยซีแกรม โตเกียวมิวสิค, เอิ้นหาอ้ายอำนวย ขับร้องโดยพร อภิรดี, เอิ้นหานางเอกน้อย ขับร้องโดยอุ๋งอิ๋ง รัตนาภรณ์[6], คอยอ้ายไหลเรือไฟ ขับร้องโดยจินตหรา พูนลาภและจิตรฉรีญา, น้ำตาหยดบนรถไฟ ขับร้องโดยแพรวพราว แสงทอง เป็นต้น

ลักษณะการประพันธ์[แก้]

ลักษณะผลงานการประพันธ์ของเขาโดยส่วนใหญ่มักใช้ทำนองหมอลำแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะลำกลอนทำนองอุบลที่เป็นพื้นฐานสำหรับนักร้องหมอลำ ทั้งยังมีการใช้ถ้อยคำและสอดแทรกวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในภาคอีสาน ด้วยฝีมือการประพันธ์เพลงของเขาทำให้สลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติแสดงความชื่นชมต่อเขาเช่นกัน[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญชาร์ล[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญชาร์ล
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2401
ประเทศ โมนาโก
ผู้สมควรได้รับชาวโมนาโกและชาวต่างประเทศ
สถานะยังพระราชทานอยู่
ประธานเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 เจ้าผู้ครองโมนาโก
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าไม่มี
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งโมนาโก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญชาร์ล (ฝรั่งเศส: Ordre de Saint-Charles, โมนาโก: U̍rdine de San Carlu) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของราชรัฐโมนาโก โดยเจ้าผู้ครองโมนาโกเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้[1][2] ซึ่งจะมอบให้แก่ชาวโมนาโกและชาวต่างประเทศที่กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อประเทศโมนาโก เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2401 มีทั้งสิ้นห้าชั้น[1][2]

การพระราชทาน[แก้]

กรณีเป็นข้าราชการหรือชาวโมนาโก เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ต้องมีการเลื่อนขั้นตามลำดับซึ่งจะคล้ายคลึงกันกับระบบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยโดยจะเริ่มขอพระราชทานชั้นเบญจมาภรณ์ก่อนแล้วจึงสามารถขอพระราชทานในชั้นที่สูงกว่าต่อไปได้ ดังนี้

  • หากได้รับชั้นเบญจมาภรณ์ครบสี่ปี ให้เลื่อนขั้นไปที่ชั้นจัตุรถาภรณ์
  • หากได้รับชั้นจัตุรถาภรณ์ครบสามปี ให้เลื่อนขั้นไปที่ชั้นตริตาภรณ์
  • หากได้รับชั้นตริตาภรณ์ครบสี่ปี ให้เลื่อนขั้นไปที่ชั้นทวีติยาภรณ์
  • หากได้รับชั้นทวีติยาภรณ์ครบห้าปี ให้เลื่อนขั้นไปที่ชั้นประถมาภรณ์

โดยมักจะมีพิธีพระราชทานในวันชาติโมนาโก คือวันที่ 16 พฤศจิกายนของทุกปี[3]

เกียรติยศศพ[แก้]

สำหรับชาวโมนาโก หากผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถึงแก่กรรมลง

  • ชั้นตริตาภรณ์ลงไป : จะได้รับเกียรติโดยคณะประสานเสียงซึ่งจะขับร้องบทสวดหรือบทสดุดีแสดงความอาลัยภายในโบสถ์ และมีเจ้าหน้าที่คาราบิเนียร์สี่คนคอยอารักขาภายในโบสถ์ในระหว่างพิธีศพตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่
  • ชั้นประถมาภรณ์และทวีติยาภรณ์ : จะได้รับเกียรติระหว่างนำศพเข้าโบสถ์รวมถึงการเคลื่อนย้ายศพออกจากโบสถ์ โดยมีเจ้าหน้าที่คาราบิเนียร์ถึงยี่สิบสี่คนคอยอารักขาและแสดงความเคารพ

ลำดับชั้นและลักษณะ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นห้าชั้น[1][2] ประกอบด้วย

  • ประถมาภรณ์: ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับสายสะพายแถบสีขาวริ้วสีแดง โดยสะพายจากบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย และมีดาราสีทองสำหรับประดับบนอกซ้าย พร้อมกับสายสร้อยที่ประกอบด้วยดวงตราและมีลักษณะรูปไข่ลายหมกรุกสีแดงและสีขาวประกอบกับสายสร้อย
  • ทวีติยาภรณ์: ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับแพรแถบสีขาวริ้วสีแดง สำหรับสวมคอ และมีดาราสีเงินสำหรับประดับบนอกขวา
  • ตริตาภรณ์: มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นทวีติยาภรณ์ แต่ไม่มีดารา
  • จัตุรถาภรณ์: ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับแพรแถบสีขาวริ้วสีแดง ประดับบนอกด้านซ้าย โดยมีดอกไม้จีบติดบนแพรแถบ
  • เบญจมาภรณ์: มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นจัตุรถาภรณ์ แต่ไม่มีดอกไม้จีบติดบนแพรแถบ
แพรแถบย่อ
ประถมาภรณ์
ทวีติยาภรณ์
ตริตาภรณ์
จัตุรถาภรณ์
เบญจมาภรณ์

สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Palais – Order of St. Charles". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2007. สืบค้นเมื่อ 4 January 2008.
  2. 2.0 2.1 2.2 "UK – Order of St. Charles". สืบค้นเมื่อ 4 January 2008.
  3. Fête nationale monégasque 2011, les décorations
  4. "Ordonnance Souveraine n° 1.324 conférant l'honorariat la Grand'Croix de l'Ordre de Saint-Charles – Journal 5143". Journal de Monaco. Principauté de Monaco. 1956. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2017. สืบค้นเมื่อ October 6, 2017.
  5. Jack Jones, "Princess Grace" เก็บถาวร มีนาคม 12, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Register-Guard, September 15, 1982.
  6. Sovereign Ordonnance of 1 March 1934
  7. n° 10223 of 27 November 2023
  8. Le prince Albert II décoré de l’ordre national de la Couronne du Royaume et remet l’ordre de Saint-Charles au roi de Malaisie
  9. "Monaco's Prince Albert II accorded state welcome at Istana Negara". Malay Mail. 27 November 2023. สืบค้นเมื่อ 27 November 2023.
  10. n° 4504 of 4 October 2013

เครื่องอิสริยาภรณ์มิตรภาพ[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์มิตรภาพ คือเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศรัสเซีย สร้างขึ้นโดยบอริส เยลต์ซิน ตามคำสั่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐที่ 442 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2537 หลังจากนั้นมีการปรับปรุงเกณฑ์การมอบเป็นระยะทั้งในปี พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2555 ออกแบบโดยอเลกซานเดอร์ ชูค

กิตติศักดิ์ สายน้ำทิพย์[แก้]

กิตติศักดิ์ สายน้ำทิพย์
เกิด23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (60 ปี)
ที่เกิดอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
แนวเพลง
อาชีพ
ช่วงปีพ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน

กิตติศักดิ์ สายน้ำทิพย์ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 –) เป็นโปรดิวเซอร์และนักเรียบเรียงเสียงประสานเพลงลูกทุ่งชาวไทย โดยเรียบเรียงเพลงให้กับศิลปินเพลงลูกทุ่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รวมทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและประธานชมรมคนรักลูกทุ่ง[1]

ประวัติ[แก้]

กิตติศักดิ์มีชื่อเล่นว่า หมู เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เขาสนใจด้านดนตรีมาตั้งแต่ยังเด็กโดยเคยเข้าร่วมกับชมรมดนตรีโรงเรียนสมัยที่เขาศึกษาอยู่ชั้นมัธยมต้น ต่อมาเข้าสู่กรุงเทพมหานครจากคำชักชวนของน้าเขย และได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา แต่เรียนไม่จบเนื่องจากมีใจรักในสายดนตรีมากกว่าจากการที่เขาได้ฝึกเล่นอิเล็กโทนที่สยามกลการ แต่ต่อมาเขาได้เข้าศึกษาในระบบอีกครั้งที่โรงเรียนเซนต์จอห์น

เส้นทางดนตรี[แก้]

เขาเริ่มอาชีพนักดนตรีที่ปาลาติโน[2] ในจุดนั้นทำให้เขารู้จักกับคนในวงการเพลงลูกทุ่งหลายท่าน ทั้งยังเคยเล่นดนตรีให้กับสถานบันเทิงในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง[2] ต่อมาเขาเริ่มอาชีพนักเรียบเรียงเพลงในปี พ.ศ. 2531 โดยเรียบเรียงดนตรีให้เอกชัย ศรีวิชัย เป็นคนแรก จากชุด วันนี้พี่ขอ แต่ยังคงทำงานเป็นนักดนตรีกลางคืนควบคู่กันไป

ในปี พ.ศ. 2535 เขาได้ทำหน้าที่เรียบเรียงดนตรีในอัลบั้ม ยิ่งยงมาแล้ว ของยิ่งยง ยอดบัวงาม ซึ่งมีเพลงดังคือ สมศรี 1992 ที่สร้างชื่อเสียงให้กับยิ่งยงและทำให้วงการเพลงลูกทุ่งที่ซบเซากลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง นับแต่นั้นมาทำให้เขาต้องยุติอาชีพนักดนตรีกลางคืนอย่างถาวร และเป็นนักเรียบเรียงดนตรีเพลงลูกทุ่งอย่างเต็มตัว ซึ่งมีศิลปินลูกทุ่งจำนวนมากที่ได้ร่วมงานกับเขา อาทิ สันติ ดวงสว่าง เสรี รุ่งสว่าง เพลิน พรหมแดน ลูกแพร-ไหมไทย ยุ้ย ญาติเยอะ เกษม คมสันต์ ดาวใต้ ปลายพระยา ดำรง วงศ์ทอง จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ อาภาพร นครสวรรค์ มนต์สิทธิ์ คำสร้อย หนู มิเตอร์ สลักจิต ดวงจันทร์[3] เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2559 เขามีส่วนในการเรียบเรียงเพลง ฟ้าร้องไห้ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อถวายความอาลัยแก่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นผลงานการประพันธ์ของชลธี ธารทอง[4] และในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ทำหน้าที่เรียบเรียงดนตรีให้กับยืนยง โอภากุล ในชุด รักสายัณห์น้อยๆ แต่ให้นานๆ และ เทวดาเพลง[5] ซึ่งเป็นการนำเพลงของสายัณห์ สัญญาและเพลงที่ประพันธ์คำร้องโดยชลธี ธารทองมาขับร้องใหม่

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เขาเคยถือหุ้นของบริษัท บีบี โปรโมชั่น จำกัด[6] และเปิดร้านอาหาร ตำนาบ้านเพลงเก่า อยู่ที่จังหวัดนนทบุรี[2]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รอเบร์ต ฟิตซอ[แก้]

รอเบร์ต ฟิตซอ
นายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย คนที่ 5, 7 และ 12
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ประธานาธิบดีซูซานา ชาปูตอวา
เปเตอร์ เปลเลกรีนี (elect)
รอง
ก่อนหน้าลูดอวิช ออดอร์
ดำรงตำแหน่ง
4 เมษายน พ.ศ. 2555 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2561
ประธานาธิบดีเอบาน กาชปาโลวิช
อันเดรย์ กิสกา
รอง
ก่อนหน้าอีเบตา ราบิโชบา
ถัดไปเปเตอร์ เปลเลกรีนี
ดำรงตำแหน่ง
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ประธานาธิบดีเอบาน กาชปาโลวิช
รอง
See list
ก่อนหน้ามิกูลัส ดราซูลินา
ถัดไปอีเบตา ราบิโชบา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
ตอปอลชานี, เชโกสโลวาเกีย
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยสโลวาเกีย (เอสเอ็มอีสาร์-เอสดี)
ลายมือชื่อ

รอเบร์ต ฟิตซอ (สื่อบางสำนักของไทยทับศัพท์เป็น รอเบิร์ต ฟิโก[1]; สโลวัก: Robert Fico; 15 กันยายน พ.ศ. 2507 –) เป็นนักการเมืองชาวสโลวาเกียและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสโลวาเกียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ก่อนหน้านี้เขาเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 2 สมัย คือปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2553 และปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2561 ตามลำดับ นับเป็นนายกรัฐมนตรีสโลวาเกียที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยดำรงตำแหน่งรวมกันทั้งสี่สมัยเป็นเวลา 12 ปี นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยสโลวาเกีย (เอสเอ็มอีสาร์-เอสดี) เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 ทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนของประเทศเชโกสโลวาเกียในสภายุโรป และได้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกหลังจากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ทั้งนี้เขายังเคยเป็นผู้นำฝ่ายค้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2555 รวมทั้งเคยรับสมัครตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี พ.ศ. 2554 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[2]

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สามเนื่องจากเปเตอร์ เปลเลกรีนี รองนายกรัฐมนตรีถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีส่วนรู้เห็นในคดีฆาตกรรมยาน คูซัค ซึ่งเป็นนักข่าวอิสระ[3][4]

เขามีอุดมการณ์ซ้ายจัด สนับสนุนแนวคิดประชานิยม และมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับประเทศรัสเซีย[5] โดยหลังจากที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2566 เขาได้ถอนตัวจากการสนับสนุนยูเครนในสงครามรัสเซีย-ยูเครน[6][7] ยกเลิกองค์กรตรวจสอบการทุจริตทางการเมือง และจำกัดเสรีภาพสื่อ[8] ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจแก่ประชาชนจนเกิดการประท้วงครั้งใหญ่[9]

ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเนื่องจากถูกลอบยิงขณะกำลังพูดคุยกับประชาชนที่ฮันด์โลบา[10][11] โดยเขาถูกยิงถึง 5 นัดจนได้รับบาดเจ็บสาหัส[12][1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สุดช็อก นายกฯ สโลวาเกียโดนพยายามลอบสังหาร มือปืนบุกยิง อาการโคม่า
  2. "Kiska becomes president (updated)". The Slovak Spectator. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
  3. "Fico podá demisiu, novým premiérom môže byť Pellegrini (minúta po minúte)". Sme (ภาษาสโลวัก). 15 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
  4. Heijmans, Philip (15 March 2018). "Slovakia's PM Robert Fico resigns amid public outcry". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
  5. "Slovak Prime Minister Knows Who Provoked this War in the Caucasus". HNonline.sk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 October 2011.
  6. Kottasová, Ivana; Tanno, Sophie; Chen, Heather (1 October 2023). "Pro-Russian politician wins Slovakia's parliamentary election". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.
  7. "Slovakia elections: Populist party wins vote but needs allies for coalition". BBC News. 30 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.
  8. "Slovakia, the EU's next rule of law headache". Politico. 20 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
  9. "Thousands rally in Slovakia to condemn a government plan to overhaul public broadcasting". Associated Press. 15 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
  10. "Slovakia PM shooting live: Robert Fico in surgery and 'fighting for his life' – minister". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 15 May 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2024. สืบค้นเมื่อ 15 May 2024.
  11. "Slovak PM Fico no longer in life-threatening condition after being shot, minister says". Reuters. 15 May 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
  12. เหตุลอบยิงนายกฯ สโลวาเกียแบบเฉียดตาย เรารู้อะไรแล้วบ้าง

เลนี รอร์เบโด[แก้]

เลนี รอร์เบโด
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการของเธอเมื่อปี พ.ศ. 2559
รองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 14
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 – 30 มิถุนายน 2565
ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต
ก่อนหน้าเจโจมาร์ บินาย
ถัดไปซารา ดูแตร์เต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มาเรีย เลออนอร์ ซานโต โทมัส เจโรนา

23 เมษายน พ.ศ. 2508 (59 ปี)
นางา, คามารีเนสซูร์, ประเทศฟิลิปปินส์
พรรคการเมืองพรรคเสรีนิยม
คู่สมรสเจสเซ รอร์เบโด (เสียชีวิตแล้ว)
บุตรบุตรสาว 3 คน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ (ศิลปศาสตรบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยนูเอวา การ์เซอเรส (นิติศาสตรบัณฑิต)
อาชีพนักกฎหมาย
นักเคลื่อนไหวทางสังคม
นักการกุศล
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์Campaign website

มาเรีย เลออนอร์ "เลนี" รอร์เบโด (ตากาล็อก: Maria Leonor "Leni" Robredo; 23 เมษายน พ.ศ. 2508 –) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวฟิลิปปินส์ ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึง พ.ศ. 2565 ทั้งนี้เธอเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดคามารีเนสซูร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2553 จนถึงปี พ.ศ. 2559

เธอชนะบองบอง มาร์กอสบุตรชายของอดีตประธานาธิบดีและเผด็จการเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ในการเลือกตั้งรองประธานาธิบดีเมื่อปี พ.ศ. 2556 ส่งผลให้เธอเป็นสตรีคนที่สองของฟิลิปปินส์ที่ดำรงตำแหน่งนี้ โดยเธอยังดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในรัฐบาลของโรดรีโก ดูแตร์เต

ในระหว่างการดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี เธอคือจุดเริ่มต้นของโครงการ อันงัดบูฮาย ที่เน้นขจัดความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการพัฒนาชนบท รวมถึงสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ[1] ส่งผลให้เธอได้รับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนจากหลายองค์กรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ[2]

ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองของเธอที่มีจุดยืนเสรีนิยม ทำให้เธอมีความขัดแย้งกับดูแตร์แตและวิพากษ์วิจารณ์การบริหารของดูแตร์แตในหลายโอกาส ทั้งการรับมือสถานการณ์โควิด 19ที่ผิดพลาด[3] สงครามยาเสพติด[4] การปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบ[5] ซึ่งนโยบายเหล่านี้เธอมองว่าดูแตร์เตทำเกินกว่าเหตุ และยังเป็นแกนนำคนสำคัญที่คัดค้านการทำพิธีศพของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสในสุสานวีรชน[6] ส่งผลให้เธอถูกดูแตร์เตออกคำสั่งควบคุมตัวเธอในปี พ.ศ. 2563[7] รวมทั้งยังถูกเป็นเป้าโจมตีของผู้เห็นต่างทางการเมืองจากเธอทางสื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง[8]

เธอเคยวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนจากการที่จีนรุกล้ำพื้นที่ในทะเลจีนใต้ด้วยการตั้งขีปนาวุธ[9] ซึ่งเป็นการละเมิดคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวรว่าด้วยเรื่องข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายทางการทูตของดูแตร์เตที่ค่อนข้างเป็นมิตรกับประเทศจีนมากกว่า[10] อย่างไรก็ตามเธอมีจุดยืนต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐและเนโท และยังมีจุดยืนที่ไม่เป็นมิตรต่อประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2565 เธอประกาศลงสมัครประธานาธิบดีโดยจับคู่กับฟรานซิส ปางงิลินัน อดีตวุฒิสมาชิกของฟิลิปปินส์ที่ลงสมัครรองประธานาธิบดี แต่เธอได้พ่ายแพ้ให้กับบองบองซึ่งชนะเธอด้วยคะแนนที่ถล่มทลาย[11][12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "COA gives OVP highest audit rating for third successive year". June 29, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2021. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
  2. Robredo honored as ‘outstanding woman’ in Southeast Asia
  3. Cepeda, Mara (September 3, 2021). "Robredo tempted to tell Duterte: Just let me handle pandemic response". Rappler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
  4. Cepeda, Mara (January 6, 2020). "'1 over 100': Robredo calls Duterte's drug war a 'failure'". Rappler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
  5. Cepeda, Mara (November 9, 2021). "Robredo wants to abolish Duterte's notorious anti-insurgency group". Rappler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
  6. "Robredo chides Marcos family: Why hide burial like a shameful criminal deed?". GMA News Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ November 7, 2018.
  7. DOJ clears Robredo, charges Trillanes in sedition case
  8. Cepeda, Mara. "Here's how Robredo debunks 'fake news' vs her". Rappler (ภาษาอังกฤษ). Rappler Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ March 2, 2019.
  9. "Robredo slams Beijing 'missiles' in West PH Sea". ABS-CBN News. ABS-CBN Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2019. สืบค้นเมื่อ March 2, 2019.
  10. Cruz, Moises (January 21, 2022). "Robredo: China must recognize arbitral rule first before any joint exploration deal". The Manila Times (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2022. สืบค้นเมื่อ April 26, 2022.
  11. "Final, official tally: Marcos, Duterte on top with over 31M votes each". Manila Bulletin. May 25, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2022. สืบค้นเมื่อ May 26, 2022.
  12. "Marcos Jr. officially proclaimed president-elect". CNN Philippines. May 25, 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2022. สืบค้นเมื่อ May 25, 2022.