ข้ามไปเนื้อหา

นิธิ สถาปิตานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิธิ สถาปิตานนท์

เกิด7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
อาชีพสถาปนิก, นักเขียน ศิลปิน
อาชีพสถาปนิก
รางวัล
การทำงานบริษัท สถาปนิก 49 จำกัด (A49)
ผลงานสำคัญ

นิธิ สถาปิตานนท์ (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 -) (ชื่อเล่น เต้ย) เป็นสถาปนิก นักเขียน และศิลปินชาวไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสถาปนิก 49 จำกัด (A49) ที่ถือเป็นหนึ่งในสำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ที่สุดในไทย และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทในเครือ 49GROUP ในสาขาวิชาชีพให้บริการออกแบบและก่อสร้างอย่างครบวงจรมากกว่า 15บริษัท นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งหนังสือลายเส้น (Li-Zenn) ที่รวบรวมผลงานออกแบบของสถาปนิกไทย ซึ่งเขามีความตั้งใจที่จะยกระดับงานสถาปัตยกรรมไทยสู่สากล นอกจากงานในวิชาชีพสถาปนิกเขายังเป็นวิทยากรพิเศษให้กับโรงเรียนสถาปัตยกรรมในหลายมหาวิทยาลัย ภายหลังที่เขาเกษียณงานในวิชาชีพลงแล้ว เขาได้เปลี่ยนบทบาทใหม่เป็นสถาปนิกอาสาเพื่อสังคม มีผลงานที่สำคัญคือวัดวาอารามตามต่างจังหวัดหลายแห่ง เขาได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย) ประจำปี พ.ศ. 2544[2]

ภายหลังจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาต่อยังคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ได้เริ่มต้นฝึกงานและทำงานกับชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว ที่ดีไซน์ 103 (Design 103) เป็นเวลา 12 ปี ก่อนที่จะมาเปิดบริษัทของตัวเองในชื่อ สถาปนิก 49 ใน ปี พ.ศ. 2526 โดยที่มาของตัวเลข 49 นั้นอิงมาจากที่ตั้งสำนักงานในเวลานั้นคือ ซอยสุขุมวิท 49[3] ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการผู้จัดการในเครือ 49 Group อีก 6 บริษัท

นิธิ เป็นสถาปนิกร่วมสมัย (Contemporary) ยุคบุกเบิกคนสำคัญของไทย เช่นเดียวกับ เมธา บุนนาค องอาจ สาตรพันธุ์ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา และกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา มีผลงานที่หลากหลายร่วมกับบริษัท A49 เช่น อาคารที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศ อาคารสำนักงานเมืองไทยภัทร คอมเพล็กซ์ หอประชุมนวมภูมินทร์ วชิราวุธวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้นิธิ ยังมีชื่อเสียงในเรื่องของลายเส้นในการวาดภาพทัศนียภาพ (Perspective) ซึ่งได้รับการจัดแสดงงานหลายครั้ง

ประวัติ[แก้]

นิธิ สถาปิตานนท์ เกิดเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 มีคุณปู่คือพระยาอุภัยภาติเขตต์ (เอี่ยม สถาปิตานนท์) นายอำเภออยู่ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับพระราชทานนามสกุล สถาปิตานนท์ หลังจากทำพลับพลาที่ประทับให้รัชกาลที่ 6 ระหว่างเสด็จอำเภอสองพี่น้อง[4]

นิธิ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาปัตยกรรมศาตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอิลลินอย ประเทศสหรัฐอเมริกา

นิธิได้รับพระราชทานรางวัลผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น (เหรียญทอง) 4 ครั้ง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและรางวัลชนะเลิศการประกวดแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และได้รับเกียรติเป็นนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์,เลขาธิการสภาสถาปนิก, เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ The Japan Institute of Architects ฯลฯ[5]

ผลงาน[แก้]

ด้านงานเขียน นิธิเขียนหนังสือบทความทางวิทยาการเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมเผยแพร่ในโอกาสต่างๆ ตลอดจนเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น

รางวัลและเกียรติคุณ[แก้]

  • 2527: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2528: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2532: ผลงานดีเด่นรางวัลเหรียญทอง จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2532: ผลงานดีเด่นรางวัลเหรียญทอง จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2536: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2536: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2537: ผลงานดีเด่นรางวัลเหรียญทอง จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2537: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2537: สมาชิกกิตติมศักดิ์ The Japan Instiute of Architects (JIA)
  • 2538: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2538: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2539: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2540: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2541: รองชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2542: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2542: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2545: ผลงานดีเด่นรางวัลเหรียญทอง จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2545: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2545: ชนะเลิศการประกวดแบบ
  • 2545: รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ด้านชีวิตส่วนตัวสมรสกับ ศาสตราจารย์ เลอสม สถาปิตานนท์ อดีตคณบดีและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตร 1 คน คือ นิธิศ สถาปิตานนท์ โดยทั้งภรรยาและบุตรชายล้วนเป็นสถาปนิกทั้งหมด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นายนิธิ สถาปิตานนท์, สำนักศิลปะวัฒนธรรม. วันที่ 13 มิถุนายน 2012
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-02.
  3. สถาปิตานนท์, นิธิ (เมษายน 2551). เส้ยสายสู่ปลายฝัน. ลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำกัด. p. 37. ISBN 978-974-06-2202-4. สืบค้นเมื่อ 1 May 2023.
  4. นิธิ สถาปิตานนท์
  5. คำประกาศเกียรติคุณศิลปินแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑, ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๓๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]