ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 21 กันยายน พ.ศ. 2541
(0 ปี 311 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 (80 ปี)
อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
พรรคการเมืองกิจสังคม (2535–2539)
ชาติไทย (2544–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพัฒนา ศิริวันสาณฑ์

ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2487) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลชวน หลีกภัย (ชวน 2) เป็นอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (ชุมพล ศิลปอาชา) ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์

ประวัติ[แก้]

ธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2487[1] สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมรสกับนางพัฒนา ศิริวันสาณฑ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครสวรรค์ มีบุตร 4 คน[2] หนึ่งในนั้นคือ นายพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ. 2550) ซึ่งเป็นบุตรคนโต

การทำงาน[แก้]

ธีระวัฒน์ เป็นนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในชื่อ หจก.พรสวัสดิ์ก่อสร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลตาคลี จนถึงปี พ.ศ. 2535 ได้หันเหเข้าสู่งานการเมืองระดับประเทศ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 4 สมัย สังกัดพรรคกิจสังคม โดยได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2535/2 พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 ต่อในปี พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครสวรรค์ ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549

ธีระวัฒน์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมนตรี พงษ์พานิช) และที่ปรึกษานายสมศักดิ์ เทพสุทิน และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[3]

เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2540 ในช่วงที่มีนายรักเกียรติ สุขธนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ต่อมานายรักเกียรติ ลาออกจากตำแหน่งจากกรณีทุจริตจัดซื้อยา และเขาก็ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบในครั้งนั้นด้วย

ในปี พ.ศ. 2553 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (ชุมพล ศิลปอาชา) ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ธีระวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. "นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐/๒๕๓๙ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง,นายสมชาย เบญจรงคกุล ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี)
  4. พท.ปชป.-ชพผ รุมสกรัมเก้าอี้ปากน้ำโพ
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐