ข้ามไปเนื้อหา

คุยกับผู้ใช้:หทัยรัตน์ พหลทัพ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หทัยรัตน์ พหลทัพ ชื่อ เล่น วิส เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 ที่อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู จบการศึกษาที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เธอเกิดในครอบครัวชาวนาที่พ่อต้องไปทำงานต่างประเทศเพื่อสร้างฐานะ ชีวิตส่วนใหญ่ของเธอจึงเติบโตในชนบทและห้องสมุดของแม่ เพราะแม่ชอบอ่านหนังสือ โดยเธออ่าน "สี่แผ่นดิน" ครั้งแรกเมื่ออายุ 7 ขวบ หลังจากนั้นชีวิตวัยเด็กจึงอยู่ในห้องสมุดของโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย

ชีวิตของการเรียนมหาวิทยาลัยถูกใช้ไปกับการเรียนรู้นอกห้องเรียน เธอสนุกกับการไปสังเกตการณ์ชุมนุมของกลุ่มสมัชชาคนจนข้างทำเนียบรัฐบาลมากกว่าการเรียนในห้องเรียน เธอชอบอ่านหนังสือในห้องสมุดมากกว่าเรียนในห้องบรรยายที่มีคนเป็นร้อย เธอมีความฝันว่า วันหนึ่งเธอจะเป็นนักเขียนเหมือนกุหลาย สายประดิษฐ์​ เธอจึงส่งบทความ บทกลอนและการแสดงความคิดเห็นไปยังหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ ได้ตีพิมพ์บ้าง ไม่ได้ตีพิมพ์บ้าง ระหว่างที่เรียนวิชาการหนังสือพิมพ์เธอจึงฝึกปฏิบัติงานในหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติของมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้บทความและบทกลอนของเธอได้ตีพิมพ์ที่นั่น

ด้วยความที่เธอรู้ว่า กุหลาบ สายประดิษฐ์ เคยเป็นนักข่าว เธอจึงเริ่มต้นด้วยการฝึกงานในอาชีพนักข่าว หลายแห่ง เช่น กองบรรณาธิการรายการตามล่าหาความจริง ออกอากาศทางช่อง 5 เป็นต้น

หทัยรัตน์ เริ่มทำงานเป็นนักข่าวสายการเมือง หนังสือพิมพ์แนวหน้า ประจำพรรคไทยรักไทยและรัฐสภา เมื่อปี 2546 ขณะยังเรียนอยู่ชั้นที่ปี 4 โดยการชักชวนของ เสถียร วิริยะพรรณพงษา บรรณาธิการบริหารสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี รุ่นพี่รามคำแหงที่ทำกิจกรรมนักศึกษาด้วยกัน ด้วยความที่เธอเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ ชอบขีดเขียน จึงทำให้รุ่นพี่ชักชวนมาเป็นนักข่าว

แต่การเป็นนักข่าวในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บริหารงานประเทศทำให้เธอรู้สึกผิดหวังกับการเป็นนักข่าวจึงตัดสินใจออกจากการเป็นนักข่าวและทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นเวลา 6 เดือนก่อนจะลาออกและกลับมาเป็นนักข่าวการเมืองของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ประจำทำเนียบรัฐบาลและดูความเคลื่อนไหวขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ช่วงก่อนรัฐประหาร 2549

เธอยังโลดแล่นในเส้นทางสายข่าว โดยย้ายไปประจำเป็นผู้สื่อข่าวการเมือง ประจำกองบรรณาธิการการเมืองของหนังสือพิมพ์มติชน ติดตามความเคลื่อนไหวของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และพรรคชาติไทย กระทั่งตัดสินใจลาออกเมื่อปี 2552 เพื่อไปเรียนภาษาอังกฤษที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปี

ก่อนจะกลับเข้าสู่วงการสื่อมวลชนอีกครั้งด้วยการเป็นผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ประจำรายการเปลี่ยนประเทศไทย ก่อนจะย้ายเป็นโปรดิวเซอร์รายการตอบโจทย์ ร่วมทำงานกับ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และ ณัฎฐา โกมลวาทิน แต่หลังการสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เธอเดินทางไปสัมภาษณ์ที่นครดูไบ พร้อมกับ ภิญโญ หลังเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 ออกอากาศก็ทำให้เธอตัดสินใจย้ายจากการโปรดิวเซอร์รายการตอบโจทย์มาทำงานเชิงสืบสวนสอบสวนในฐานะตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการรายการเปิดปม ในสถานีเดียวกัน

เธอทำงานที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสกว่า 8 ปีก่อนตัดสินใจลาออกเมื่อเดือนธันวาคม 2561และทำงานเป็นล่าม ผู้ประสานงานให้สำนักข่าวต่างประเทศ อาทิ Al Jazeera, Swiss Radio, The Economic, New Naratif, NPR เป็นต้น ก่อนจะตัดสินใจรับตำแหน่งบรรณาธิการภาษาไทย ประจำเว็บไซต์ The Isaan Record ที่มีสำนักงานที่จังหวัดขอนแก่น

ผลงานหนังสือ ฉะ แฉ ฉาว 2 เล่ห์...ลมปากการเมืองไทย 2 ฉะ แฉ ฉาว นักการเมืองไทย บันทึกคนข่าว 7 ตุลา. ข้อเท็จจริงที่แตกต่าง

รางวัล ปี 2555 ได้รับรางวัลชมเชยจาก Amnesty International Thailand จากการนำเสนอสารคดีเชิงข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนในรายการเปิดปม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่อง "รอมฎอนกลางไฟใต้"

ปี 2558 ได้รับรางวัลชมเชยจาก Amnesty International Thailand จากการนำเสนอสารคดีเชิงข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนในรายการเปิดปม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกี่ยวกับผลกระทบของเหมืองทองคำ จ.พิจิตร

ปี 2560 ได้รับรางวัลชมเชยจาก Amnesty International Thailand จากการนำเสนอสารคดีเชิงข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนในรายการ The Exit สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮิงญาจนต้องหนีจากพม่าไปประเทศบังกลาเทศ เรื่องโรฮิงญาคนไร้แผ่นดิน

ปี 2561 ได้รับรางวัลดีเด่นจาก Amnesty International Thailand จากการนำเสนอสารคดีเชิงข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนในรายการ The Exit สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกี่ยวกับการอพยพของชาวโรฮิงญาไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศพม่า เรื่อง "โรฮิงญากลางฤดูอพยพ"

ปี 2561 ได้รับการเชิดชูจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในวันสตรีสากล 7 มีนาคม 2561 ให้เป็นผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ปี 2561 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มอบรางวัลบุคคลที่มีผลงานดีเด่น ด้านการส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประเภทสื่อมวลชน เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม

อ้างอิง http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/05/24/somyot -no-longer-human-after-7-years-for-lese-majeste/

http://www.broadagenda.com.au/home/pressing-for-freedom- letters-from-the-field-part-1/

http://iawrt.org/news/speaking-censorship-thailand

https://www.youtube.com/watch?v=c-snwggbMd4

https://www.youtube.com/watch?v=dNStkR9Y3gI

https://www.facebook.com/Hathai.Hathai/videos/1015609784 4489122/

https://www.engagemedia.org/blog/featured-filmmaker-hatha irat-phaholtap-wist --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ หทัยรัตน์ พหลทัพ (พูดคุยหน้าที่เขียน) 18:08, 21 มกราคม 2566 (ICT)