ความสัมพันธ์ชีอะฮ์–ซุนนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลังมุฮัมมัดเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 กลุ่มมุสลิมที่ภายหลังรู้จักกันในชื่อซุนนี เชื่อว่าผู้สืบทอดของมุฮัมมัดในฐานะเคาะลีฟะฮ์แห่งประชาชาติอิสลามควรเป็นของอะบูบักร์ ในขณะที่มุสลิมอีกกลุ่มที่ภายหลังรู้จักกันในชื่อ ชีอะฮ์ เชื่อว่าผู้สืบทอดควรเป็นอะลี ข้อพิพาทนี้กระจายไปทั่วโลกมุสลิม ซึ่งนำไปสู่สงครามอูฐและยุทธการที่ศิฟฟีน การแบ่งแยกนิกายตามข้อพิพาททางประวัติศาสตร์ครั้งนี้เมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังยุทธการที่กัรบะลาอ์ที่ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและพรรคพวกที่ใกล้ชิดบางคน รวมทั้งสมาชิกและลูก ๆ ในครอบครัวมุฮัมมัด (อะฮ์ลุลบัยต์) ถูกสังหารโดยเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ยะซีดที่ 1 และเสียงเรียกร้องแก้แค้นได้แบ่งแยกชุมชนอิสลามยุคแรก ๆ ออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ซุนนีและชีอะฮ์ แม้ว่าจะไม่ได้สัดส่วนกันก็ตาม ปัจจุบันรู้จักกันในฐานะ ศาสนเภทอิสลาม (Islamic schism)[1]

การแจกแจงข้อมูลประชากรในปัจจุบันระหว่างทั้งสองนิกายเป็นเรื่องยากที่จะประเมินและแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา โดยส่วนใหญ่ประมาณการว่า มุสลิมทั่วโลกเกือบร้อยละ 90 นับถือนิกายซุนนีและร้อยละ 10 นับถือนิกายชีอะฮ์ โดยชีอะฮ์ประมาณร้อยละ 85 อยู่ในสายสิบสองอิมาม และที่เหลืออยู่ในกลุ่มย่อย ๆ[2] ซุนนีเป็นประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนมุสลิมเกือบทั่วโลก ส่วนชีอะฮ์เป็นประชากรส่วนใหญ่ในอิหร่าน อิรัก และอาเซอร์ไบจาน และยังเป็นชนกลุ่มน้อยในปากีสถาน เลบานอน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย เยเมน ไนจีเรีย อัฟกานิสถาน ชาด ตุรกี บาห์เรน และคูเวต[13][14] ปัจจุบันมีความแตกต่างในด้านการปฏิบัติทางศาสนา ธรรมเนียม และประเพณี ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับนิติศาสตร์ แม้ว่ามุสลิมทั้งหมดถือว่าอัลกุรอานเป็นคัมภีร์จากพระผู้เป็นเจ้า ซุนนีและชีอะฮ์มีความเห็นเกี่ยวกับฮะดีษแตกต่างกัน

ในช่วงล่าสุด การแบ่งแยกซุนนี–ชีอะฮ์ กลายเป็นความขัดแย้งที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ[15] ผลที่ตามมาของการปฏิวัติอิหร่านใน ค.ศ. 1979 ที่ปรับเปลี่ยนอิหร่านให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามตามระบอบเทวาธิปไตยที่บริหารโดยครูสอนศาสนานิกายชีอะฮ์ระดับสูง ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วโลกมุสลิม สงครามอิรักมีอิทธิพลต่อพลวัตของอำนาจในระดับภูมิภาคมากขึ้น ทำให้ฝ่ายชีอะฮ์แข็งแกร่งขึ้นเป็นกำลังโดดเด่นในอิรัก การที่อิหร่านขึ้นเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคในตะวันออกกลาง ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและประชากรศาสตร์ในเลบานอน ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นต่อการใช้อำนาจครอบงำของชาวซุนนี–อาหรับในบรรดาประเทศซุนนี[16] ช่วงปีล่าสุดเผชิญกับความขัดแย้งตัวแทนอิหร่าน–ซาอุดีอาระเบีย เช่นเดียวกันกับความรุนแรงต่างนิกายจากปากีสถานถึงเยเมน ซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของความขัดแย้งทั่วตะวันออกกลางและเอเชียใต้[17][18] ความตึงเครียดระหว่างชุมชนต่าง ๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นในระหว่างการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ เช่น การก่อการกำเริบบาห์เรน สงครามกลางเมืองอิรัก สงครามกลางเมืองซีเรีย[19][20][21] เช่นเดียวกันกับสงครามในประเทศอิรัก (ค.ศ. 2013–2017) ที่รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์เริ่มต้นการกดขี่ข่มเหงมุสลิมชีอะฮ์

จำนวน[แก้]

มุสลิมนิกายซุนนีเป็นชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในชุมชนมุสลิมส่วนใหญ่ที่เอเชียกลาง (รวมจีน) ยุโรป (รวมรัสเซียและบอลข่าน) เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, แอฟริกา โลกอาหรับ ตุรกี และในบรรดามุสลิมในประเทศสหรัฐ

ส่วนมุสลิมนิกายชีอะฮ์คิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของประชากรมุสลิมทั้งหมด[22] โดยในชีอะฮ์ แบ่งเป็นชีอะฮ์สิบสองอิมามประมาณร้อยละ 85[23][24][25][26] และสำนักที่มีผู้นับถือในชีอะฮ์สิบสองอิมามส่วนใหญ่คือสำนักอุศูลี ในประเทศอิหร่าน (เปอร์เซีย) ประเทศที่เป็นชีอะฮ์อย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1501[27] มีผู้นับถือนิกายชีอะฮ์เป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 90)[28] และยังเป็นประชากรส่วนใหญ่ในอาเซอร์ไบจาน (ประมาณร้อยละ 65)[29] อิรัก (ประมาณร้อยละ 55) และบาห์เรน (พลเมืองประมาณร้อยละ 60 ไม่นับชาวต่างชาติ) ทาง UNHCR รายงานว่าชุมชนชีอะฮ์ในประเทศเยเมนเป็นชนกลุ่มน้อยจำนวนมากนับถือนิกายชีอะฮ์ (ส่วนใหญ่อยู่ในสายซัยดี)[30] ข้อมูลต่าง ๆ ระบุจำนวนชีอะฮ์ในเยเมนที่ร้อยละ 25–30[31][32] ประชากรตุรกีประมาณร้อยละ 10 นับถือนิกายชีอะฮ์สายอาเลวี พลเมืองคูเวตประมาณร้อยละ 30[33][34] ประชากรมุสลิมในเลบานอนร้อยละ 45 ซาอุดีอาระเบียร้อยละ 10[34][35] ร้อยละ 12 ในซีเรีย (ส่วนใหญ่นับถือสายอะละวี) และร้อยละ 10 ในปากีสถานนับถือนิกายชีอะฮ์ และประมาณร้อยละ 10 ในอัฟกานิสถาน มุสลิมน้อยกว่าร้อยละ 5 ในไนจีเรีย และประชากรประมาณร้อยละ 5 ในทาจิกิสถานนับถือนิกายชีอะฮ์[36] อินเดียมีผู้นับถือนิกายชีอะฮ์ ("เป็นไปได้") พอ ๆ กับในประเทศอิรัก[37][38][39]

แวลี แนสร์ นักวิชาการ ระบุว่า จำนวนและร้อยละของประชากรที่นับถือนิกายซุนนีและชีอะฮ์ไม่แน่นอนเนื่องจาก "ในตะวันออกกลางส่วนใหญ่ เป็นเรื่องไม่สะดวก" ที่จะมีตัวเลขที่แน่นอน "สำหรับระบอบการปกครองโดยเฉพาะ"[28]

การแบ่งผู้นับถือนิกายซุนนี ชีอะฮ์ และอิบาฎียะฮ์

ความแตกต่างในความเชื่อและการปฏิบัติ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sunnis and Shia: Islam's ancient schism". BBC News. 4 January 2016.
  2. Islamic Beliefs, Practices, and Cultures. Marshall Cavendish Reference. 2019. p. 130. ISBN 978-0-7614-7926-0. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019. Within the Muslim community, the percentage of Sunnis is generally thought to be between 85 and 93.5 percent, with the Shia accounting for 6.6 to 15 percent. A common compromise figure ranks Sunnis at 90 percent and Shias at 10 percent. See further citations in the article Islam by country.
  3. "Azerbaijan". CIA Factbook. 12 January 2022.
  4. "India – Iran relations: Converging Interests or Drifting Equations". Institute for Defence Studies and Analyses. สืบค้นเมื่อ 21 August 2010.
  5. "Obama's Overtures". The Tribune. สืบค้นเมื่อ 21 July 2010.
  6. "Imperialism and Divide & Rule Policy". Boloji. สืบค้นเมื่อ 21 July 2010.
  7. "Ahmadinejad on way, NSA says India to be impacted if Iran 'wronged by others'". Indian Express. 21 April 2008. สืบค้นเมื่อ 21 July 2010.
  8. Parashar, Sachin (10 November 2009). "India, Iraq to make common cause over terror from Pak". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2012. สืบค้นเมื่อ 17 July 2010.
  9. Jahanbegloo, Ramin (1 February 2009). "Aspiring powers and a new old friendship". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2012. สืบค้นเมื่อ 12 July 2010.
  10. Mehta, Vinod (2 September 2004). "India's Polite Refusal". BBC News. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
  11. "India Iran Culture". Tehran Times. 23 April 2008. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
  12. "Connecting India with its Diaspora". Overseas Indian. 22 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 1 July 2010.
  13. [3] ประเทศอินโดนีเซียมีผู้นับถือนิกายซุนนีมากที่สุด ในขณะที่อิหร่านมีผู้นับถือนิกายชีอะฮ์ (สิบสองอิมาม) มากที่สุด ปากีสถานเป็นประเทศที่ผู้นับถือนิกายซุนนีมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่วนอินเดียมีผู้นับถือนิกายชีอะฮ์ (สิบสองอิมาม) มากเป็นอันดับ 2[4][5][6][7][8][9][10][11][12]
  14. "Mapping the Global Muslim Population". Pew Research Center's Religion & Public Life Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2009-10-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2015. สืบค้นเมื่อ 2021-03-26.
  15. "The Sunni-Shia Divide". www.cfr.org.
  16. Bengio, Ofra; Litvak, Meir (2011), Bengio, Ofra; Litvak, Meir (บ.ก.), "Introduction", The Sunna and Shi’a in History: Division and Ecumenism in the Muslim Middle East (ภาษาอังกฤษ), New York: Palgrave Macmillan US, pp. 1–16, doi:10.1057/9781137495068_1, ISBN 978-1-137-49506-8, สืบค้นเมื่อ 2024-01-07
  17. "Ishtiaq Ahmed on Pakistan movement". lu.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2009.
  18. "Sunnis and Shiites". scribd.com.
  19. Nasr, Vali, The Shia Revival, Norton, 2006, p. 106
  20. "Iraq 101: Civil War". Mother Jones.
  21. Arango, Tim; Anne Barnard; Duraid Adnan (1 June 2013). "As Syrians Fight, Sectarian Strife Infects Mideast". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 June 2013.
  22. "Mapping the Global Muslim Population". 7 October 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2015. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014. The Pew Forum's estimate of the Shia population (10–13%) is in keeping with previous estimates, which generally have been in the range of 10%.
  23. Guidère, Mathieu (2012). Historical Dictionary of Islamic Fundamentalism. Scarecrow Press. p. 319. ISBN 978-0-8108-7965-2.
  24. Tabataba'i (1979), p. 76
  25. God's rule: the politics of world religions, p. 146, Jacob Neusner, 2003
  26. Esposito, John. What Everyone Needs to Know about Islam, Oxford University Press, 2002. ISBN 978-0-19-515713-0. p. 40
  27. Smyth, Gareth (29 September 2016). "Removal of the heart: How Islam became a matter of state in Iran". The Guardian.
  28. 28.0 28.1 "The Origins of the Sunni/Shia split in Islam". IslamForToday.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2007. สืบค้นเมื่อ 29 January 2007.
  29. "Administrative Department of the President of the Republic of Azerbaijan – Presidential Library – Religion" (PDF).
  30. "Yemen: The conflict in Saada Governorate – analysis". UN High Commissioner for Refugees. 24 July 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
  31. Merrick, Jane; Sengupta, Kim (20 September 2009). "Yemen: The land with more guns than people". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 21 March 2010.
  32. Country profile: Yemen. Library of Congress Federal Research Division (August 2008). บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  33. "International Religious Freedom Report for 2012". US State Department. 2012.
  34. 34.0 34.1 "The New Middle East, Turkey, and the Search for Regional Stability" (PDF). Strategic Studies Institute. April 2008. p. 87.
  35. Religious Composition of the Persian Gulf States (summary) (Image). สืบค้นเมื่อ 20 October 2023.
  36. "Background Note: Tajikistan". State.gov. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
  37. "Shia Muslims Population". World Shia Muslims Population.
  38. "The Shia Revival: How Conflicts within Islam Will Shape the Future". Vali Nasr, Joanne J. Myers. 18 October 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2012. สืบค้นเมื่อ 24 August 2010.
  39. "The Revival of Shia Islam (Archived)". Vali Nasr. Washington, D.C.: The Pew Forum on religion & public life. 24 July 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2008. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010. The Shiites – just as an introduction – are about 5 to 10 percent of the Muslim population worldwide, which makes them about 230 million to 390 million people.

ข้อมูล[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]