ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดสุรินทร์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(12 ปี 335 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 เมษายน พ.ศ. 2504
จังหวัดพัทลุง ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2544-2550)
เพื่อไทย (2554-ปัจจุบัน)

ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม[1] หรือชื่อเดิม มานิตย์ สังข์พุ่ม (เกิด 26 เมษายน พ.ศ. 2504) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล[2] (วิปฝ่ายรัฐบาลคณะรัฐมนตรีเศรษฐา) สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม[3]ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26

ประวัติ[แก้]

ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม[4] เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2504 เป็นชาวจังหวัดพัทลุงโดยกำเนิด[5] ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2529 เพื่อเรียนในระดับมหาวิทยาลัย

ครูมานิตย์ จบการศึกษาจากวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดชุมพร และระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา จากวิทยาลัยครูสุรินทร์

การทำงาน[แก้]

ครูมานิตย์[6] เคยรับข้าราชการครูตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 6 โรงเรียนบ้านกะลัน หมู่ที่ 15 ถนนกะลัน - ตรึม บ้านกะลัน ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อมาทำงานการเมือง

งานการเมือง[แก้]

ครูมานิตย์เข้าสู่วงการการเมืองด้วยตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2542 และที่ปรึกษาประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2543

ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทย ตามลำดับ ปี พ.ศ. 2556 เป็นรองโฆษกพรรคเพื่อไทยปี พ.ศ. 2566 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปฝ่ายรัฐบาลคณะรัฐมนตรีเศรษฐา) สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม[7] ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม[8] ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย[9]
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. tpchannal. "สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา". www.tpchannel.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. https://www.khaosod.co.th/politics/news_8113895
  3. "รายนามกรรมาธิการ". web.parliament.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-17.
  5. "'ครูมานิตย์' คนใต้ หัวใจ 'สุรินทร์' องครักษ์-กตัญญู 'ชินวัตร'". bangkokbiznews. 2024-03-25.
  6. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/74169
  7. "นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ประธานคณะ กมธ.การคมนาคม รับยื่นหนังสือจาก นายณรงค์ ขุ้มทอง ประธานศูนย์อำนวยการประสานงานสมาคมคลองไทยเพื่อการศึกษาและพัฒนา สาขา 5 จังหวัด ภาคใต้ เรื่อง ขอให้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุ กมธ.ศึกษาโครงการขุดคลองไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำ". www.parliament.go.th.
  8. "สนทช.รับนโยบาย รองนายกฯ ลงพื้นที่สุรินทร์ แก้ปัญหาพื้นที่น้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำซาก". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
  9. isranews (2024-04-04). "INFO: ทรัพย์สิน 5.7 ล. 'ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม' สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย". สำนักข่าวอิศรา.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔