การเปรียบเทียบระหว่างอิสราเอลกับนาซีเยอรมนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่ามกลางสงครามอิสราเอล–ฮะมาส ผู้ประท้วงที่โคลัมบัส รัฐโอไฮโอ ถือป้ายที่เขียนว่า "อิสเรียล [sic] เป็นนาซีใหม่"

การเปรียบเทียบระหว่างอิสราเอลกับนาซีเยอรมนีเกิดขึ้นบ่อยครั้งในด้านที่เกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิไซออนิสต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์[1][2] ความชอบธรรมในการเปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้และลักษณะการต่อต้านยิวที่เป็นไปได้ยังคงเป็นประเด็นถกเถียง ในอดีต บุคคลอย่างอาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี นักประวัติศาสตร์ ได้เปรียบเทียบระหว่างลัทธิไซออนิสต์และลัทธินาซี ซึ่งเป็นท่าทีที่เขายึดถือไว้แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ตาม ส่วนเดวิด เฟลด์แมน นักวิชาการ เสนอแนะว่า การเปรียบเทียบเหล่านี้มักเป็นเครื่องมือเชิงวาทศิลป์ โดยไม่มีเจตนาต่อต้านชาวยิวโดยเฉพาะ ทาง Anti-Defamation League (ADL) มองสิ่งนี้เป็นการลดความสำคัญของฮอโลคอสต์[3][4]

เอียน ลัสติก ศาสตราจารย์รัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รายงานว่า การเปรียบเทียบเช่นนี้ "เป็นผลที่ตามมาโดยไม่ได้ตั้งใจตามธรรมชาติจากการที่ชาวยิวอิสราเอลจมอยู่ในภาพลักษณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" (a natural if unintended consequence of the immersion of Israeli Jews in Holocaust imagery) [5] บุคคลทางการเมืองและรัฐบาลหลายกลุ่มได้ทำการเปรียบเทียบนี้ในอดีต ดังตัวอย่างการบริหารของสหภาพโซเวียตในเนื้อหาสงครามหกวัน ช่วงสงครามเย็นเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1960[6] นักการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ที่ใช้วิธีการนี้ได้แก่ ประธานาธิบดีตุรกี เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน[7] ประธานาธิบดีบราซิล ลูลา ดา ซิลวา[8] ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา อูโก ชาเบซ[9] และสมาชิกรัฐสภาอังกฤษ เดวิด วาร์ด[10] นักวิจารณ์การเปรียบเทียบนี้อย่าง Bernard-Henri Lévy ปัญญาชนสาธารณะ โต้แย้งว่าการเปรียบเทียบเช่นนี้ไม่เพียงแต่ขาดความเท่าเทียมกันทางประวัติศาสตร์และศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงต่อการปลุกปั่นให้รู้สึกต่อต้านชาวยิว เดโบราห์ ลิปสตัดต์ นักประวัติศาสตร์ เรียกการเปรียบเทียบนี้เป็นการปฏิเสธฮอโลคอสต์แบบ "บอกเป็นนัย" (soft-core)[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Klaff, Lesley. "Holocaust Inversion and contemporary antisemitism". Fathom. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
  2. Gerstenfeld, Manfred (2008-01-28). "Holocaust Inversion". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
  3. Rosenfeld 2019, p. 175-178, 186.
  4. A. J. Toynbee, A Study of History, OUP 1964 vol.12 p.627.
  5. Lustick 2019, p. 52.
  6. Druks, Herbert (2001). The Uncertain Alliance: The U.S. and Israel from Kennedy to the Peace Process. Greenwood Publishing Group. pp. 50–51. ISBN 9780313314247.
  7. "Turkish president calls Israel fascist and racist over nation state law". ITV.com. 24 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
  8. "Israel livid as Brazil's Lula says Israel like 'Hitler,' committing genocide in Gaza". The Times of Israel. 18 February 2024. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
  9. Dow Jones Newswires reported that, on August 10, while giving a speech in eastern Venezuela, Chávez said Venezuelans are "making a call to world leaders, for the love of God, let's halt this crazy fascist aggression against innocent people. Are we human or what are we?... I feel indignation for Israel's assault on the Palestinian people and the Lebanese people. They dropped bombs on shelters. ... It's a Holocaust that is occurring there." - Venezuela President Asks International Leaders To Halt Israeli Offensive.[ลิงก์เสีย] Dow Jones Newswire, Morning Star, August 10, 2006.
  10. Klaff, Lesley. "Holocaust Inversion and contemporary antisemitism". Fathom. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
  11. Klein, Amy (2009-04-19). "Denying the deniers: Q & A with Deborah Lipstadt". Jewish Telegraphic Agency (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-01-20.

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]