ข้ามไปเนื้อหา

ขิงญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Zingiber mioga)
ขิงญี่ปุ่น
Zingiber mioga
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae
สกุล: Zingiber
สปีชีส์: Z.  mioga
ชื่อทวินาม
Zingiber mioga
(Thunb.) Roscoe
ชื่อพ้อง[1]
  • Amomum mioga Thunb.
  • Zingiber mijooka Siebold, spelling variation
  • Zingiber sjooka Siebold
  • Zingiber mioga var. variegatum Makino
  • Zingiber echuanense Y.K.Yang

ขิงญี่ปุ่น หรือ เมียวงะ (ญี่ปุ่น: 茗荷) จัดอยู่ในสปีชีส์ Zingiber mioga ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) เป็นพืชอายุหลายปีที่เป็นไม้ล้มลุก ผลัดใบ เป็นพืชพื้นเมืองของญี่ปุ่น จีน และตอนใต้ของเกาหลี[1][2][3] ใช้เพียงดอกตูมและหน่อที่ดูน่ารับประทานเท่านั้น ในการนำมาทำอาหาร[4] ดอกตูมจะถูกหั่นอย่างสวยงาม และใช้ในครัวญี่ปุ่นเพื่อประดับอาหาร สำหรับซุปเต้าเจี้ยว (มิโซชิรุ) เครื่องดองแบบจีน (ซูโนโมโนะ) และอาหารเช่นมะเขือเผา ในครัวเกาหลี ดอกตูมถูกเสียบไม้สลับกับเนื้อสัตว์ จากนั้นจึงนำไปทอดในน้ำมันตื้น ๆ

แต่เดิมขิงชนิดนี้เป็นพืชที่เก็บเกี่ยวในญี่ปุ่น แต่ต่อมามีผู้นำไปปลูกในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพื่อส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น

เช่นเดียวกับพืชป่าทั่วไป ขิงญี่ปุ่นชอบที่ร่มแสงแดดรำไร ทนความหนาวเย็นได้ -18 องศาเซลเซียส หรือ 0 องศาฟาเรนไฮต์ และอาจทนความเย็นได้มากกว่านั้น

สรรพคุณทางยา[แก้]

องค์ประกอบบางอย่างของขิงญี่ปุ่นเป็นพิษต่อเซลล์ (Cytotoxic) องค์ประกอบอื่น ๆ แสดงคุณลักษณะที่ดี ในความเป็นไปได้ที่จะต่อต้านสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (Anti-carcinogenic)[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Kew World Checklist of Selected Plant Families". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-07. สืบค้นเมื่อ 2014-07-09.
  2. Flora of China v 24 p 332, 蘘荷 rang he, Zingiber mioga (Thunberg) Roscoe, Trans. Linn. Soc. London, Bot. 8: 348. 1807.
  3. Cole TCH, Nürnberger S "Zingiber mioga and its Cultivars," เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Plantsman. Royal Horticultural Society. December 2014, 4: 226-229.
  4. Matsuhisa, Nobu and Mark Edwards. (2007). Nobu West, p. 252.
  5. Ha Won Kim et al. "Suppressive Effects of Mioga Ginger and Ginger Constituents on Reactive Oxygen and Nitrogen Species Generation, and the Expression of Inducible Pro-Inflammatory Genes in Macrophages," Antioxidants & Redox Signaling. November/December 2005, 7(11-12): 1621-1629]; retrieved 2013-8-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • "Myoga" at 4seasonseeds.com.au
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Zingiber mioga