วัดเจิงเจว๋
วัดเจิงเจว๋ | |
---|---|
เจดีย์วัชราสน์ | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ประเทศจีน |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 39°56′42″N 116°19′49″E / 39.944916°N 116.33035°E |
วัดอู่ถ่า (จีน: 五塔寺; พินอิน: Wǔ Tǎ Sì; วัดห้าเจดีย์) หรือ วัดเจิงเจว๋ (จีน: 真觉寺; จีน: 真覺寺; พินอิน: Zhēnjué Sì) เป็นวัดพุทธสมัยราชวงศ์หมิงที่ตั้งอยู่ในปักกิ่ง ประเทศจีน
ภายในวัดเป็นที่ตั้งของเจดีย์วัชราสน์ (Diamond Throne Pagoda) ที่มีฐานสี่เหลี่ยมความสูง 7.7 เมตร (25 ฟุต)[1] บนฐานนั้นมีเจดีย์สี่เหลี่ยมอีกห้าองค์และมีศาลากระเบื้องเคลือบตั้งอยู่ด้านบน[1][2] จัดเรียงกันในลักษณะที่มีเจดีย์ตามมุมทั้งสี่ และเจดีย์หลักตรงกลาง[2] ลักษณะการสร้างห้าเจดีย์นี้สัมพันธ์กับคติพระพุทธธญานีทั้งหห้า เจดีย์รายมีความสูงอบ่งเป็น 11 ชั้น ส่วนองค์กลางมีความสูงแบ่งเป็ย 13 ชั้น[2] ความสูงขากฐานถึงยอดเจดีย์องค์กลางอยู่ที่ 17 เมตร (56 ฟุต)[1] องค์เจดีย์ทั้งหมดสร้างขึ้นจากอิฐ[1] กับหินอ่อนขาว ก่อนจะมีสีออกน้ำตาลเช่นในปัจจุบันเนื่องจากการอ็อกซิเดชั่นของเหล็กจำนวนน้อยในเนื้อหิน[2] บนผนังทั้งสี่ของฐานสี่เหลี่ยมประดับด้วยประติมากรรมสลักรูปพุทธะพันรูปเป็นแถว[2] พระสูตร และสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น ช้าง ม้า ดอกบัว และต้นโพธิ์ เป็นต้น[3])[4]
รูปแบบทางสถาปัตยกรรมขององค์เจดีย์วัชราสน์มีที่มาจากเจดีย์มหาโพธิ์ในพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย[2] ซึ่งสร้างขึ้นตรงจุดที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ กระนั้นมีการปรับสัดส่วน[5] ให้ฐานสูงกว่าและเจดีย์รายขนาดใกล้เคียงกับเจดีย์องค์กลาง นอกจากนี้ยังมีการใช้กระเบื้องเคลือบแบบจีนมาประดับองค์เจดีย์[5] กระนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าแนวคิดคติการสร้างเลียนแบบเจดีย์มหาโพธิ์เข้ามาสู่จีนได้อย่างไร[6] ในธรรมเนียมมุขปาฐะหนึ่งเล่าว่ามีที่มาจากพระสารีบุตรผู้เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาพุทธในสมัยจักรพรรดิย่งเล่อ[3][6] ในต้นศตวรรษที่ 15[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 online article at www.chinaculture.org เก็บถาวร พฤศจิกายน 22, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Five-Pagoda Temple (Wutasi)". www.china.org.cn. สืบค้นเมื่อ February 17, 2024.
- ↑ 3.0 3.1 "Five Pagoda Temple, Wuta Temple, Zhenjue Temple, Beijing". www.travelchinaguide.com. สืบค้นเมื่อ February 17, 2024.
- ↑ "Wu Ta Si (Five Pagoda Temple) in Beijing - Attraction | Frommer's". www.frommers.com. สืบค้นเมื่อ February 17, 2024.
- ↑ 5.0 5.1 "introduction to diamond throne pagodas at china.org.cn". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2008-11-20.
- ↑ 6.0 6.1 Gaubatz, Piper Rae (February 17, 1996). "Beyond the Great Wall: Urban Form and Transformation on the Chinese Frontiers". Stanford University Press. สืบค้นเมื่อ February 17, 2024 – โดยทาง Google Books.