ข้ามไปเนื้อหา

นาวาอากาศโท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Wing Commander (rank))
นาวาอากาศโท
Wing Commander
ธงสามเหลียมบัญชาการนาวาอากาศโท
กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
เครื่องหมายแขนเสื้อ / ไหล่
นาวาอากาศโทสหราชอาณาจักร
สังกัตกองทัพอากาศ
อักษรย่อWg Cdr / WGCDR / W/C / น.ท.
เทียบยศเนโทOF-4
เทียบยศนอกเนโทO-5
ยศที่สูงกว่านาวาอากาศเอก
ยศที่ต่ำกว่านาวาอากาศตรี
ยศที่คล้ายคลึงพันโท, นาวาโท

นาวาอากาศโท (อังกฤษ: wing commander ย่อว่า:Wg Cdr ในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร, อินเดีย, และปากีสถาน, WGCDR ในกองทัพอากาศนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย, เดิมทีใช้ W/C ในทุกกองทัพอากาศที่ใช้งานคำนี้) เป็นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรอาวุโสในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรและกองทัพอากาศของหลายประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากสหราชอาณาจักร รวมถึงหลายประเทศในเครือจักรภพ แต่ไม่รวมแคนาดา (นับตั้งแต่การรวมเหล่า) และแอฟริกาใต้ บางครั้งใช้เป็นคำแปลภาษาอังกฤษของยศที่เทียบเท่าในประเทศที่มีโครงสร้างยศเฉพาะตัวของกองทัพอากาศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นยศที่สูงกว่านาวาอากาศตรี และต่ำกว่านาวาอากาศเอก[1]

ยศนี้เทียบกับระบบรหัสยศของเนโทคือ OF-4 เทียบเท่ากับยศนาวาโทในราชนาวีและกองทัพเรือสหรัฐ และยศพันโทในกองทัพบกสหราชอาณาจักร ราชนาวิกโยธิน กองทัพบกสหรัฐ กองทัพอากาศสหรัฐ และนาวิกโยธินสหรัฐ เทียบเท่ายศเจ้าหน้าที่บิน (wing officer) ในกองทัพอากาศหญิงช่วยรบ และกองทัพอากาศหญิงสหราชอาณาจัก (จนถึงปี พ.ศ. 2511) หน่วยพยาบาลกองทัพอากาศเจ้าหญิงแมรี (จนถึงปี พ.ศ. 2523) เทียบเท่ายศนาวาโทตรวจการณ์ (observer commander) ในเหล่าตรวจการณ์สหราชอาณาจักร ซึ่งใช้เครื่องหมายยศเดียวกัน

ต้นกำเนิด

[แก้]
เครื่องหมายยศของหน่วยบริการการบินกองทัพเรือ

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2461 กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ได้ปรับใช้ระบบยศจากกองทัพบกสหราชอาณาจักร โดยมีนาวาเอกจากหน่วยบริการการบินกองทัพเรือ (Royal Naval Air Service) และพันเอกจากกองบินหลวง (Royal Flying Corps) ปรับยศเป็นพันโทอย่างเป็นทางการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร โดยในทางปฏิบัติ เกิดความไม่สอดคล้องกันหลายข้อ มีอดีตทหารเรือบางนายยังคงใช้ยศเดิมก่อนการรวมหน่วย[2] เพื่อสนับสนุนข้อเสนอที่มีการเสนอไปว่ากองทัพอากาศควรใช้ระบบยศของกองทัพเรือ ซึ่งกองทัพอากาศอาจจะใช้ยศของทหารเรือโดยมีคำว่า "อากาศ" (air) แทรกอยู่หน้ายศทหารเรือ เช่น ตำแหน่งที่ต่อมากลายเป็นนาวาอากาศโท (wing commander) จะใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า air commander

แม้ว่ากระทรวงกองทัพเรือจะคัดค้านการเปลี่ยนยศของตน แต่ก็ยอมตกลงกับกองทัพอากาศว่าอาจจะใช้บางยศจากยศเดิมของกองทัพเรือโดยมีเงื่อนไขของการปรับใช้ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอว่าพันโทของกองทัพอากาศ อาจได้รับเลือกให้เป็นรีฟส์หรือผู้บังคับกองบิน อย่างไรก็ตาม ชื่อยศว่า wing commander ได้รับเลือกมาใช้งานเป็นยศพันโทของกองทัพอากาศ เนื่องจากคำว่า wing commander เคยได้รับการใช้งานในหน่วยบริการการบินกองทัพเรือ โดยตำแหน่งนาวาอากาศโทเริ่มใช้งานเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462 และใช้งานนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2461 กองทัพอากาศที่จัดตั้งขึ้นใหม่ได้รับตำแหน่งนายทหารจากกองทัพอังกฤษ โดยมีกัปตันหน่วยบริการทางอากาศของกองทัพเรือและพันเอกกองบินหลวงกลายเป็นพันเอกในกองทัพอากาศอย่างเป็นทางการ ในทางปฏิบัติ มีความไม่สอดคล้องกันบางประการ โดยอดีตนายทหารเรือบางคนใช้ยศเดิมอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอที่ว่า กองทัพอากาศควรใช้ยศของตนเอง กองทัพอากาศอาจใช้ยศนายทหารเรือ โดยมีคำว่า "อากาศ" แทรกอยู่หน้ายศนาวิกโยธิน ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งที่ต่อมาได้เป็นผู้บัญชาการกองบินจะเป็น "ผู้บัญชาการทหารอากาศ" แม้ว่ากองทัพเรือจะคัดค้านการปรับเปลี่ยนตำแหน่งยศของตนอย่างง่ายๆ นี้ แต่ก็ตกลงกันว่ากองทัพอากาศอาจยึดยศนายทหารหลายตำแหน่งจากยศนายทหารเรือโดยมีเงื่อนไขก่อนการแก้ไขที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังเสนอแนะด้วยว่าพันโท RAF อาจมีสิทธิ์ได้รับเลือกให้เป็นรีฟส์หรือผู้นำปีก อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับบัญชาปีกตำแหน่งได้รับเลือก เนื่องจากปีกมักได้รับคำสั่งจากนาวาอากาศโทของกองทัพอากาศ และคำว่า ผู้บังคับบัญชาปีก ได้รับการใช้ใน Royal Naval Air Service ตำแหน่งผู้บัญชาการกองบินเริ่มใช้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462[3] และมีการใช้อย่างต่อเนื่องนับแต่นั้นมา

การใช้งาน

[แก้]

ในช่วงปีแรก นาวาอากาศโทได้บัญชาการกองบิน โดยปกติจะเป็นกลุ่มเครื่องบินสามถึงสี่ฝูงบิน ในปัจจุบัน นาวาอากาศโทได้บัญชาการกองบินที่เป็นหน่วยย่อยของสถานีกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ซึ่งปกติฝูงบินบินจะบัญชาการโดยนาวาโท แต่บางครั้งก็ได้รับการบัญชาการจากผู้บังคับฝูงบินในกรณีที่เป็นหน่วยขนาดเล็ก

เครื่องหมายและธงบัญชาการ

[แก้]

เครื่องหมายยศมีพื้นฐานมาจากแถบสีทองสามแถบของนาวาโทในกองทัพเรือ และประกอบไปด้วยแถบสีฟ้าอ่อนแคบสามแถบ เหนือแถบสีดำที่กว้างกว่าเล็กน้อย สวมบริเวณท่อนล่างของเสื้อคลุมหรือบริเวณไล่ของชุดนักบินหรือเครื่องแบบลำลอง

ธงสามเหลี่ยมบัญชาการคือรูปสามเหลี่ยมสองชิ้นที่ใช้งานในกองทัพอากาศ เส้นสีแดงบาง ๆ กลางธงทำให้ธงนี้แตกต่างจากธงอื่น

ระหว่างปี พ.ศ. 2484-45 ผู้บังคับกองบินของหน่วยบัญชาการบินกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (ระดับนาวาโท) สามารถใช้อักษรย่อของตนเองเป็นอักษรประจำเครื่องบิน เช่น เครื่องบินประจำตัวของ นาวาอากาศโท โรแลนด์ บีมอนต์ (Roland Beamont) มีรหัสว่า "R-B"

กองทัพอากาศอื่น

[แก้]
นายทหารยศนาวาอากาศโท (ซ้าย) กองทัพอากาศไทย ระหว่างการฝึก Global Sentinel 19 ณ ศูนย์นวัตกรรรมล็อกฮีด มาร์ติน เมืองซัฟฟอล์ก, รัฐเวอร์จิเนีย, สหรัฐ

ยศนาวาอากาศโทยังใช้งานในกองทัพอากาศหลายกองทัพในเครือจักรภพ เช่น กองทัพอากาศบังกลาเทศ[4] กองทัพอากาศกานา กองทัพอากาศไนจีเรีย กองทัพอากาศอินเดีย[5] กองทัพอากาศนามิเบีย กองทัพอากาศปากีสถาน กองทัพอากาศออสเตรเลีย กองทัพอากาศนิวซีแลนด์ และกองทัพอากาศศรีลังกา นอกจากนี้ยังใช้งานใน กองทัพอากาศอียิปต์ กองทัพอากาศกรีซ กองทัพอากาศโอมาน กองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศซิมบับเว[6] ส่วนในกองทัพอากาศมาเลเซียเคยมีการใช้งาน ก่อนจะเปลี่ยนเป็นชื่อยศว่าพันโทในปี พ.ศ. 2516

กองทัพอากาศแคนาดา

[แก้]

แคนาดาเป็นข้อยกเว้นของประเทศในเครือจักรภพ เนื่องจากการรวมเหล่าทัพของกองทัพแคนาดาในปี พ.ศ. 2511 ชื่อตำแหน่งในกองทัพอากาศจึงเหมือนกับกองทัพบก อย่างไรก็ตาม แถบเครื่องหมายยศของแคนาดานั้นเหมือนกับชาติอื่น ๆ ในเครือจักรภพคือแถบอันดับจะเป็นสีเทาไข่มุกและเพิ่มจำนวนจาก OF-1 ถึง OF-5 ทีละครึ่งแถบ โดยการตัดสินใจรวมระบบยศของแคนาดานั้นมาจากสาเหตุว่าระบบเดิมทำให้เกิดความสับสนเกินไป

ในคริสต์ทศวรรษ 1990 กองบัญชาการกองทัพอากาศแคนาดา (หลังปี พ.ศ. 2511) ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบฐานทัพภายในการควบคุม โดยกำหนดใหม่ให้เป็นกองบิน ผู้บังคับการฐานทัพดังกล่าวได้รับการกำหนดใหม่ให้เป็น "ผู้บังคับการกองบิน" (wing commander) อีกครั้ง แบบเดียวกับกองทัพอากาศสหรัฐ คำว่า "wing commander (ที่ใช้งานในกองกำลังแคนาดาอีกครั้ง) เป็นชื่อของตำแหน่ง ไม่ใช่ยศ โดยนาวาโทจะมียศเป็นพันเอก

ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2544 รัฐบาลแคนาดาได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ "กองบัญชาการทางอากาศ" (Air Command) กลับมาเป็นชื่อเดิมตามประวัติศาสตร์ของกองทัพอากาศ คือ กองทัพอากาศแคนาดา (Royal Canadian Air Force)[7] ซึ่งแม้ว่าเครื่องหมายดั้งเดิมจะได้รับการนำมาใช้งานในปี พ.ศ. 2558 แต่ระบบยศดั้งเดิมที่เหมือนกันกับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรยังไม่ได้รับการนำกลับมาใช้งาน[8]

สหรัฐ

[แก้]

การใช้งานคำว่า wing commander จะเป็นชื่อของตำแหน่ง ผู้บังคับกองบิน ไม่ใช่ชื่อของยศ ทั้งในส่วนของกองทัพอากาศสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ และหน่วยลาดตระเวนทางอากาศฝ่ายพลเรือน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Military ranks". BBC Academy (ภาษาอังกฤษ). 1 November 2012. สืบค้นเมื่อ 27 February 2019.
  2. "Fleet Air Arm, Naval Aviation, Royal Navy Air Service History- 1918 - 1 April: RNAS and RFC amalgamated to create RAF". www.fleetairarmoa.org. Fleet Air Arm Officers Association. สืบค้นเมื่อ 27 February 2019.
  3. Hobart, Malcolm C (2000). Badges and Uniforms of the Royal Air Force. Leo Cooper. p. 26. ISBN 0-85052-739-2.
  4. "BAF Ranks". Bangladesh Air Force Website. BAF Communication Unit. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 13 December 2020.
  5. "Officer ranks in Indian Army, Air Force and Navy". India Today. New Delhi. 25 February 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
  6. "Ranks and Badges in the AFZ". Air Force of Zimbabwe Website. Air Force of Zimbabwe. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-09. สืบค้นเมื่อ 13 December 2020.
  7. Galloway, Gloria. "Conservatives to restore 'royal' monikers for navy, air force." เก็บถาวร 2017-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Globe and Mail, 15 August 2011. Retrieved: 26 September 2011.
  8. Fitzpatrick, Meagan. "Peter MacKay hails 'royal' renaming of military." เก็บถาวร 2011-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน CBC News, 16 August 2011. Retrieved: 26 September 2011.