การสังหารหมู่ที่วัดพรหมคุณาราม รัฐแอริโซนา
เหตุกราดยิงวัดพุทธที่รัฐแอริโซนา | |
---|---|
หน้าหนังสือพิมพ์ชุมชนชาวไทยในรัฐแอริโซนา รำลึก 26 ปีเหตุการณ์สังหารหมู่ | |
สถานที่ | แวดเดลล์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา |
วันที่ | 9–10 สิงหาคม 1991 |
ประเภท | กราดยิงหมู่, ฆาตกรรมหมู่, โจรกรรม |
อาวุธ | |
ตาย | 9 |
ผู้ก่อเหตุ | ยังไม่ทราบ |
เหตุจูงใจ | โจรกรรม |
เหตุกราดยิงวัดพุทธที่แวดเดลล์ รัฐแอริโซนา หรือ เหตุสังหารหมู่วัดไทยในแวดเดลล์ เป็นเหตุกราดยิงหมู่ที่เกิดขึ้นที่วัดพรหมคุณาราม วัดไทยในเมืองแวดเดลล์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นในปี 1991 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นชาวไทยและผู้มีเชื้อสายไทยรวม 9 ราย ในจำนวนนี้ 6 รายเป็นพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เป็นเหตุกราดยิงที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์รัฐแอริโซนา[1]
ภาพรวม
[แก้]เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 10 สิงหาคม 1991[2] ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์มีทั้งชาวไทยและผู้มีเชื้อสายไทย คือ
- พระไพรัช พรหมวโร เจ้าอาวาสวัดพรหมคุณาราม
- พระมหาเสียง มหาปญฺโญ จากวัดปทุมคงคา
- พระมหาเฉลิม กิตฺติภทฺโร จากวัดใหม่ช่องลม
- พระสุรชัย อนุตฺตโร จากวัดประดู่ฉิมพลี
- พระบุญช่วย ชยธมฺโม
- พระอธิการสมศักดิ์ สิริปญฺโญ
- สามเณรแมทธิว มิลเลอร์
- แม่ชีฝอย ศรีพันธ์ประเสริฐ ผู้เป็นยายของสามเณรแมทธิว และ
- บอย จีระศักดิ์ จีระพงศ์ เด็กวัด[3]
มีผู้พบร่างผู้เสียชีวิตในวันที่ 10 สิงหาคม 1991[4][5] โดยผู้พบศพคือ ฉวี บอร์เดอร์ คนครัวรับจ้างของวัด และ เปรมจิตร แฮทช์ ชาวไทยในแอริโซนา[6]
เหยื่อทั้งเก้าถูกยิงเข้าด้านหลังของศีรษะ และศพถูกนำเรียงกันเป็นรูปวงกลม[7]
การสืบสวน
[แก้]การจับกุมในขั้นต้น
[แก้]หลังเกิดเหตุ ชายสี่คนจากทูซอน ได้แก่ ลีโอ บรูซ (Leo Bruce), มาร์ก นูเนซ (Mark Nunez), ดันเท พาร์เคอร์ (Dante Parker) และวิกเตอร์ เซเรท (Victor Zerate) ถูกจับกุม ต่อมาจึงพบว่าทั้งหมดถูกจับกุมเนื่องจากไมค์ แมคกรอว (Mike McGraw) ผู้ป่วยโรงพยาบาลจิตเวชในทูซอนโทรหาผู้สืบสวนในมณฑลแมริโคปาแจ้งอ้างว่าเขารู้ว่าใครเป็นผู้ก่อการ[8] ทั้งสี่ถูกหน่วงเหนี่ยวไว้เกือบ 13 ชั่วโมงจนทั้งหมดยอมรับสารภาพในจดหมาย[6] ยกเว้นหนึ่งคน คือเซเรท (Zerate) ยืนยันความบริสุทธิ์จนถูกปล่อยตัวในเวลาถัดมาภายหลังเจ้าหน้าที่ได้รับวิดีโอยืนยันว่าเขาทำงานอยู่ในการแข่งขันวิ่งแข่งสุนัขห่างไปหลายร้อยไมล์จากที่เกิดเหตุในเวลาเมื่อเกิดเหตุ[9]
ท้ายที่สุดจึงพบว่าอาวุธที่ใช้ไม่เป็นของใครทั้งสิ้น[8] ทั้งสี่ต่อมาถูกเรียกขานโดยสื่อว่า "Tucson Four" (สี่สหายทูซอน)[10] และถูกปล่อยตัว การจับกุมรอบนี้นำไปสู่ข้อถกเถียงในสังคมในเวลาต่อมา[2]
การจับกุมครั้งหลัง
[แก้]ตำรวจพบอาวุธปืนไรเฟิล .22-คาลิเบอร์ เป็นของบุคคลวัย 16 ปี ในรถของเพื่อนวัย 17 ปี โจนาธาน ดูดี (Johnathan Doody) หรือ วีรพล คำแก้ว ชาวไทยโดยกำเนิดจากจังหวัดนครนายก ประเทศไทย[11] การค้นพบนี้นำไปสู่การสอบสวนดูดีและแอลเลสซานโดร การ์เซีย (Allessandro Garcia) วัย 16 ปี[12] การ์เซียอ้างว่าตนและดูดีเดินทางไปวัดพร้อมปืนไรเฟิล .22-คาลิเบอร์ และปืนพก 20-เกจของเขา ก่อนปล้นเงินราว 2,600 ดอลลาร์สหรัฐ และอุปกรณ์ A/V บางส่วน การ์เซียอ้างว่าดูดีเกิดตกใจกลัวเพราะคิดว่าหนึ่งในพระสงฆ์ในวัดขณะถูกปล้นจำเขาได้ว่าเป็นพี่/น้องชายของผู้ไปวัด จากนั้นจึงยิงเหยื่อทั้ง 9 รายเข้าในศีรษะด้วยปืนไรเฟิล ส่วนการ์เซียยิง 4 ร่างอีกครั้งเข้าในช่วงอก[3][13] การ์เซียยังระบุว่าทั้งหมดเป็นไปตามแผน และได้คิดมาแล้วว่าจะไม่ให้เหลือผู้เห็นเหตุการณ์[13]
การดำเนินการทางกฎหมาย
[แก้]ทั้งคู่ถูกตัดสินด้วยความผิดโจรกรรมด้วยอาวุธ และ ฆาตกรรม การ์เซียสารภาพผิดในปี 1993 เพื่อให้รอดจากโทษประหารชีวิต[14]
ส่วนดูดีผ่านการอุทธรณ์จนสิ้นสุดในการตัดสินคดีครั้งที่สามในเดือนมกราคม 2014 ว่ามีความผิดจริงทุกสถาน รวมถึงฆาตกรรม 9 กระทง โดยคณะตุลาการอ้างคำสารภาพของการ์เซียและหลักฐานตามสภาพแวดล้อม ดูดีถูกตัดสินจำคุก 281 ปี[15] ปัจจุบันเขาถูกจำคุกอยู่ที่คุกรัฐแอริโซนาที่ฟลอเรนซ์[16] และไม่สามารต้องโทษประหารชีวิตเนื่องจากอายุเมื่อก่อเหตุคือ 17 ปี[6] ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญว่าด้วยการห้ามโทษประหารชีวิตแก่ผู้อายุต่ำกว่า 18 ปีตามในคำตัดสินของศาลสูงในคดีความโรเปอร์และไซเมินส์
งานเขียน
[แก้]- Stuart, Gary L. (2010). Innocent Until Interrogated: The True Story of the Buddhist Temple Massacre and the Tucson Four. Tucson, Arizona: The University of Arizona Press. ISBN 978-0-8165-2924-7. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vandell, Perry (August 20, 2018). "27 years later, Waddell Buddhist temple commemorates victims of 1991 temple massacre". The Arizona Republic. สืบค้นเมื่อ August 15, 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Martin, Philip (December 11, 1991). "The Sheriff's Suspects". Phoenix New Times. สืบค้นเมื่อ August 15, 2020.
- ↑ 3.0 3.1 Michael Kiefer (January 23, 2014). "Jurors find Johnathan Doody guilty in Buddhist temple massacre". azcentral/ The Arizona Republic. สืบค้นเมื่อ June 19, 2015.
- ↑ Laurie Merrill, Miguel Otarola (October 24, 2013). "Judge declares mistrial in temple killings retrial of Johnathan Doody". azcentral/ The Arizona Republic. สืบค้นเมื่อ June 19, 2015.
- ↑ Teen-ager convicted in Buddhist temple massacre, The Day (July 13, 1993).
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Enea, Joe (August 8, 2016). "Old Time Crime: Two teenagers held responsible for a mass murder that caused international outrage". KNXV-TV. สืบค้นเมื่อ August 15, 2020.
- ↑ "Johnathan Doody who killed nine people, including six monks and a nun at a Phoenix temple gets 249 years in prison". News.com.au. Associated Press. March 15, 2014. สืบค้นเมื่อ August 15, 2020.
- ↑ 8.0 8.1 Hermann, William (August 14, 2011). "Valley Buddhist temple massacre has had lasting impact". The Arizona Republic. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
- ↑ Stuart 2010, p. 121.
- ↑ "Innocent Until Interrogated". The University of Arizona Press. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
- ↑ Stuart 2010, p. 258.
- ↑ Profile - Allessandro Garcia, MUGSHOTS.COM. Retrieved January 11, 2017.
- ↑ 13.0 13.1 Laughlin Laura (January 7, 1993). "Youth Pleads Guilty to Buddhist Massacre : Murder: He agrees to testify against accomplice in deal that spares him the death penalty. Slayings in Phoenix temple had been well-planned". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ June 19, 2015.
- ↑ Egeland, Alexis (August 6, 2016). "On the 25th anniversary of infamous Buddhist temple murders, community honors victims". The Arizona Republic. สืบค้นเมื่อ August 16, 2020.
- ↑ David Schwartz (March 14, 2014). "Arizona man gets nine life terms for Buddhist temple murders". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-28. สืบค้นเมื่อ June 19, 2015.
- ↑ "Inmate Datasearch". 2014-04-12.