ดับเบิลยูซีดับเบิลยู มันเดย์ ไนโตร
ดับเบิลยูซีดับเบิลยู มันเดย์ ไนโตร | |
---|---|
โลโก้ของ ดับเบิลยูซีดับเบิลยู มันเดย์ ไนโตร ใช้ตั้งแต่ 5 เมษายน ค.ศ. 1999 - 26 มีนาคม ค.ศ. 2001 | |
ประเภท | มวยปล้ำอาชีพ |
สร้างโดย | เท็ด เทอเนอร์ เอริก บิสชอฟฟ์ |
แสดงนำ | See World Championship Wrestling alumni |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | "Purity V.3" (4 กันยายน ค.ศ. 1995 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1999 "Adrenaline V.1" โดยพูริตี (5 เมษายน ค.ศ. 1999 - 26 มีนาคม ค.ศ. 2001) |
ประเทศแหล่งกำเนิด | สหรัฐ |
จำนวนตอน | 284 ตอน |
การผลิต | |
กล้อง | Multicamera setup |
ออกอากาศ | |
ออกอากาศ | 4 มีนาคม ค.ศ. 1995 – 26 มีนาคม ค.ศ. 2001 |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
ดับเบิลยูซีดับเบิลยู ทันเดอร์ |
ดับเบิลยูซีดับเบิลยู มันเดย์ ไนโตร (อังกฤษ: WCW Monday Nitro) เป็นรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับมวยปล้ำอาชีพ ของ เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง (ดับเบิลยูซีดับเบิลยู) โดยออกอากาศทุกวันจันทร์ ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1995-26 มีนาคม ค.ศ.2001 ทางช่องTNT
ตอนแรก
[แก้]ในตอนแรกของ ไนโตร นั้นได้ออกอากาศครั้งแรกจากศูนย์การค้ามอลล์ออฟอเมริกา ณ.เมืองมินนีแอโพลิส ,สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1995 โดยจุดเด่นของรายการตอนแรกอยู่ที่แมตช์การปล้ำระหว่าง ไบรอัน พิลล์แมน ปะทะ จูชิง "ทันเดอร์" ไลเกอร์ ,ริค แฟลร์ ปะทะ แชมป์ยูเอสเฮฟวี่เวทของ WCW สติง และแชมป์โลก WCW ฮัลค์ โฮแกน ปะทะ บิ๊ก บับบา โรเจอส์ นอกจากนี้รายการได้กลายเป็นไฮไลต์สำคัญโดยการกลับมาของเล็ค ลูเกอร์ ใน WCW หลังจากได้หายไปปล้ำใน WWF มาถึง 2 ปี ที่เขาเคยเป็นหนึ่งในผู้โปรโมดท็อปดารา
มันเดย์ไนท์ วอร์
[แก้]การถือกำเนิดของ ดับเบิลยูซีดับเบิลยู มันเดย์ ไนโตร โดยมาด้วยการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงระหว่างรายการของ WWF มันเดย์ไนท์ รอว์ การแข่งขันทางธุรกิจนี้ทำให้เป็นที่รู้จักกันดีของแฟน ๆ มวยปล้ำในชื่อ มันเดย์ไนท์ วอร์ ระหว่าง Eric Bischoff และ Vince McMahon โดยไนโตรได้รับการดึงดูดความนิยมไปจาก WWF ด้วยความชาญฉลาดของเขา ต่อมาไม่นานรายการ ไนโตร ได้เป็นรายการที่ดีกว่า รอว์ ในการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ โดย มันเดย์ ไนโตร เอาชนะ รอว์ ในการจัดดเรตติ้งเป็น 84 สัปดาห์ติดต่อกัน[1]
ความสำเร็จครั้งแรก
[แก้]ในขั้นต้น ไนโตร ได้กลายเป็นที่นิยมเป็นผลมาจากซุปเปอร์สตาร์ของ WCW โดยเฉพาะ ฮัลค์ โฮแกน กับแรนดี ซาเวจ เป็นซุเปอร์สตาร์บางส่วนที่สำคัญของนับตั้งแต่เซ็นสัญญากับ WCW และปรากฏตัวในไนโตร และเหล่านักมวยปล้ำรุ่นครูย์เซอเวทตัวเล็กและกระโดดลอยฟ้า ด้วยการเปิดตัวของ นิวเวิลด์ออร์เดอร์ รายการไนโตรได้เริ่มออกอากาศเรตติ้งครอบงำที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ด้วยอดีตนักมวยปล้ำของ WWF อย่าง เควิน แนช ,สก็อตต์ ฮอลล์ และโฮแกน (ซึ่งตอนนั้นเรียกตัวเองว่า ฮอลลีวู้ด โฮแกน) ได้เป็นทีมฝ่ายอธรรม บริษัทดูเหมือนจะมีการชนะในเนื้อเรื่อง และอนาคตที่ดี นับตั้งแต่ ไนโตร ถ่ายทอกสด และ รอว์ ได้รับการบันทึกเทปบ่อยครั้ง ไนโตร ถูกมองว่าการคาดการณ์ได้น้อยกว่า และทำให้ความบันเทิงมากกว่าคู่แข่ง WWF ซึ่งในตอนแรกได้ฉาย 60 นาทีต่อตอน และต่อมาก็ได้ขยายเวลาเป็น 2 ชั่วโมงต่อตอนตามรายการ 1996 NBA Playoffs ในขณะที่รอว์ ได้จนเกือบหนึ่งปีเต็ม หลังจากนั้นก็ได้ขยายเป็น 2 ชั่วโมง ไนโตรยังคงเป็นรายการ 2 ชั่วโมงจากเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1996 จนถึงมกราคม ค.ศ. 1998 เมื่อ WCW และตกลงกับ TNT ในการฉาย 3 ชั่วโมง เพื่อรักษาความเป็นรายการมวยปล้ำอับดับ 1 ของประเทศ
ตอนพิเศษ
[แก้]ชื่อตอน | วันที่ | การให้คะแนน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
WCW Monday Nitro | 4 กันยายน ค.ศ. 1995 | 2.5 | เป็นตอนแรกของ WCW Monday Nitro |
nWo Monday Nitro | 22 ธันวาคม ค.ศ. 1997 | 3.5 | The nWo organized a complete takeover of Nitro six days before Starrcade. |
The Fingerpoke of Doom | 4 มกราคม ค.ศ. 1999 | 5.0 | Goldberg was arrested before his title match for the World Heavyweight Title. This resulted in over 600,000 viewers switching to Raw to see Mankind win the WWF title.
See above for more information. |
WarGames 2000 | 4 กันยายน ค.ศ. 2000 | 3.6 | On the fifth anniversary of the premiere, a WarGames match took place in a three-tiered cage between two teams for the world championship. Kevin Nash retained the title. |
เดอะไนท์ออฟแชมเปี้ยนส์ | 26 มีนาคม ค.ศ. 2001 | 3.0 | เป็นตอนสุดท้ายของ WCW Monday Nitro หลังจากนั้น WCW ก็ถูกซื้อกิจการ โดย WWF |
เดอะไนท์ออฟแชมเปี้ยนส์ – ตอนสุดท้าย
[แก้]เป็นตอนสุดท้ายของ WCW Monday Nitro ก่อนที่ Vince K .Mcmahon จะซื้อกิจการมวยปล้ำของ WCW
แมทช์การปล้ำตอนสุดท้าย
[แก้]
ผู้บรรยาย
[แก้]ผู้ประกาศ
[แก้]- เดวิด เพนเซอร์ (1995–2001)
- ไมเคิล บัฟเฟอร์ (เฉพาะแมทช์การปล้ำคู่เอก, 1995–2001)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Powers, Kevin (March 5, 2012). "The History of WCW". WWE. สืบค้นเมื่อ March 28, 2012.