วิชยวาฑะ
วิชยวาฑะ เบซาวาดา | |
---|---|
ที่มาของชื่อ: ดินแดนแห่งชัยชนะ | |
พิกัด: 16°31′09″N 80°37′50″E / 16.5193°N 80.6305°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | อานธรประเทศ |
อำเภอ | NTR district, Krishna district |
การปกครอง[2] | |
• ประเภท | องค์การเทศบาล |
• องค์กร | วิชยวาฑะ, APCRDA |
• นายกเทศบาล | รายณะ ภัคยะ ลักษมี (YSRCP) |
พื้นที่[3] | |
• มหานคร | 61.88 ตร.กม. (23.89 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[5] | 181.04 ตร.กม. (69.90 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2011) | |
• มหานคร | 1,021,806[1] คน |
• อันดับ | ที่สองในรัฐ ที่ 25 ในประเทศ |
• ความหนาแน่น | 17,000 คน/ตร.กม. (40,000 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 1,476,931[4] คน |
เดมะนิม | Vijayawadian |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
PIN | 520xxx |
รหัสพื้นที่ | +91–866 |
ทะเบียนรถ | AP 16 |
เว็บไซต์ | vijayawada |
วิชยวาฑะ (อักษรโรมัน: Vijayawada, ชื่อเดิม เบซาวาดา; Bezawada)[6][7] เป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของรัฐอานธรประเทศ[8] เป็นศูนย์กลางการปกครองของอำเภอเอ็นทีอาร์และมีพื้นที่รวมถึงบางส่วนของอำเภอกฤษณะ วิชยวาฑะตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำกฤษณา และห้อมล้อมด้วยเทือกเขาฆาฏตะวันออก[9] ในทางภูมิศาสตร์ถือว่าตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางของรัฐอานธรประเทศ[10] วิชยวาฑะเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเมือง วัฒนธรรม และการศึกษาของรัฐอานธรประเทศ[10] และเป็นหนึ่งในเขตเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดของอินเดีย[11]
วิชยวาฑะยังถือเป็นหนึ่งในเมืองศักดิ์สิทธิ์ในคติฮินดู ด้วยเป็นที่ตั้งของกนกทุรคามนเทียรซึ่งบูชาพระแม่ทุรคา[12] รวมถึงยังเป็นเมืองที่จัดพิธีปุษกรมของแม่น้ำกฤษณา[13] มีตำนานเล่าขานว่าอรชุนในมหาภารตะเคยสวดบูชาบนยอดเขาในเมืองและได้รับพรจากพระศิวะเพื่อรับปศุปตาสตระที่นำไปรบชนะสงครามที่กุรุเกษตร[10] ชื่อวิชยวาฑะเป็นภาษาเตลูกูแปลว่าดินแดนแห่งชัยชนะ ซึ่งมาจากความเชื่อว่าพระแม่ทุรคาปราบอสูรมหิศาสูรได้ที่นี่ โดยคำว่า "วิชย" แปลว่าชัยชนะ และ "วฆิก" แปลว่าดินแดน[14] ในอดีต วิชยวาฑะเคยใช้ชื่อเมืองว่า ราเชนทรโจฬปุระ (Rajendra Chola Pura) ในสมัยจักรวรรดิโจฬะ และเปลี่ยนมาเป็น เบซาวาดา (Bezawada) ในสมัยของบริติชราช ก่อนจะเป็นวิชยวาฑะในที่สุด[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpopulation
- ↑ M. N., Samdani (12 May 2015). "Andhra Pradesh's move to supply Krishna water to Coca-Cola plant irks opposition". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). Mangalagiri. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
- ↑ "Vijayawada: A Profile" (PDF). Vijayawada Municipal Corporation. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
- ↑ "Solid Waste Generation in 46 Metrocities" (PDF). Central Pollution Control Board. Ministry of Environment, Forest and Climate Change, Government of India.
- ↑ "Population of Vijayawada". Census of India. Ministry of Home Affairs. 2011. สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
- ↑ "Tunnel road lives up to name Bezawada". Deccan Chronicle (ภาษาอังกฤษ). 11 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2021. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
- ↑ Rao, G. Venkataramana (3 November 2016). "Xuan Zang stayed in Vijayawada to study Buddhist scriptures". The Hindu (ภาษาIndian English). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
- ↑ reddy, u sudhakar (19 August 2016). "Vijayawada is the third most densely packed city; 31,200 people in every square km". Deccan Chronicle (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ "Geography of Vijayawada". www.mapsofindia.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2021. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "About Vijayawada – VijayawadaPolice" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.
- ↑ Pink, William T.; Noblit, George W. (2017). Second International Handbook of Urban Education (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 400. ISBN 978-3-319-40317-5. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
- ↑ "History". www.kanakadurgamma.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2020. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.
- ↑ "Krishna Pushkaralu", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 13 April 2019, สืบค้นเมื่อ 17 April 2020
- ↑ "About Vijayawada – VijayawadaPolice" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.
- ↑ "ABOUT VIJAYAWADA". www.vikasinstitutionsnunna.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.