หุบเขากษัตริย์
25°44′27″N 32°36′8″E / 25.74083°N 32.60222°E
หุบเขากษัตริย์ (อาหรับ: وادي الملوك, Wādī al-Mulūk; อังกฤษ: The Valley of the Kings) เป็นหุบเขาในประเทศอียิปต์ เป็นหลุมศพของกษัตริย์และราชวงศ์ในราชอาณาจักรใหม่ (ตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 18 ถึง 20 ของอียิปต์โบราณ).[1][2] หุบเขาตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ฝั่งตรงข้ามกับเมืองธีปส์ (หรือ ลักซอร์ในปัจจุบัน) ตั้งอยู่ใจกลางของธีบันเนโครโปลิส[3] บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ในทะเลทรายนั้นประกอบด้วย 2 หุบเขาคือ หุบเขาตะวันออก (ที่เป็นที่ตั้งของสุสานเป็นส่วนใหญ่) และหุบเขาตะวันตก
ในปี 2006 ได้มีการค้นพบห้อง (เควี 63) และในปี 2008 ได้ค้นพบทางเข้าสุสานอีก 2 แห่ง[4] หุบเขานี้มีหลุมศพอยู่ 63 แห่งและห้อง (ที่มีหลายขนาดทั้งห้องเล็ก ๆ ไปจนถึงสุสานที่มีห้องซับซ้อน ที่มีห้องมากกว่า 120 ห้อง)[5] และยังเป็นที่ฝังพระศพที่สำคัญของราชวงศ์ของอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์โบราณ รวมถึงยังมีสุสานของบุคคลสำคัญอีกหลายแห่ง สุสานตกแต่งด้วยภาพของเทพเจ้าอียิปต์และได้ให้ข้อมูลความเชื่อเกี่ยวกับพิธีศพในช่วงเวลานั้น สุสานทั้งหมดดูเหมือนจะถูกเปิดและโจรรกรรมวัตถุโบราณไปแล้ว แต่ก็ยังให้แนวคิดเกี่ยวกับความมั่งคั่งและอำนาจในการปกครองในยุคนั้น
พื้นที่นี้ถือเป็นการค้นพบด้านโบราณคดีและอียิปต์ศึกษา ตั้งแต่สิ้นสุดศตวรรษที่ 18 สุสานและที่ฝังศพก็ยังคงเป็นที่สนใจในการสำรวจข้อมูล ในยุคสมัยใหม่นี้หุบเขาเป็นที่มีชื่อเสียงขึ้นมาหลังจากการค้นพบสุสานของฟาโรห์ตุตันคามุน (ที่เป็นที่เลื่องลือด้านคำสาปฟาโรห์)[6]และยังถือเป็นหนึ่งในสถานที่โบราณคดีที่โด่งดังที่สุดในโลก ในปี ค.ศ. 1979 ถูกยกให้เป็นมรดกโลก ร่วมกับส่วนที่เหลือของธีบันเนโครโพลิส[7] การค้นพบ การขุดค้นหาวัตถุโบราณ และการอนุรักษ์ยังคงดำเนินการต่อไป และยังถือเป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ที่เปิดให้เข้าชม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Maspero (1913), p.182
- ↑ "Theban Mapping Project". Theban Mapping Project. สืบค้นเมื่อ 2006-12-04.
- ↑ Siliotti (1997), p.13
- ↑ Zahi Hawass. "Spotligh Interview: 2008". The Plateau: Official Website for Dr. Zahi Hawass. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
- ↑ "Valley of the Kings". Theban Mapping Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
- ↑ "Egypt's "King Tut Curse" Caused by Tomb Toxins?". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08.
- ↑ "Ancient Thebes and its necropolis". UNESCO Work Heritage Sites. สืบค้นเมื่อ 2006-12-04.