ข้ามไปเนื้อหา

หน่วยกองหนุนกองทัพเรือสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก United States Navy Reserve)
หน่วยกองหนุนกองทัพเรือสหรัฐ
สัญลักษณ์ของหน่วยกองหนุนกองทัพเรือสหรัฐ
ประจำการ3 มีนาคม ค.ศ. 1915 (1915-03-03) (ในฐานะกองกำลังหน่วยกองหนุนทางเรือ)
ค.ศ. 2005 (ในฐานะหน่วยกองหนุนกองทัพเรือสหรัฐ)
ประเทศ สหรัฐ
เหล่า กองทัพเรือสหรัฐ
รูปแบบส่วนเสริมทางทหารสำรอง
กำลังรบ108,718 นาย
ขึ้นกับกระทรวงทหารเรือสหรัฐ
กองบัญชาการกิจกรรมสนุบสนุนทหารเรือแฮมป์ตันโรดส์
นอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ
คำขวัญ"พร้อมแล้ว ทุกที่ ทุกเวลา"
สีสีน้ำเงิน และสีทอง   
เพลงหน่วย"มาร์ชหน่วยกองหนุนทางเรือ" เล่น
ปฏิบัติการสำคัญสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามเกาหลี
สงครามเวียดนาม
สงครามอ่าวเปอร์เซีย
สงครามต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก

สงครามอิรัก

ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลเรือโท ลูค เอ็ม. แม็คคอลลัม
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายแบบฟอนต์

หน่วยกองหนุนกองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy Reserve; อักษรย่อ: USNR) รู้จักกันในฐานะ หน่วยกองหนุนทางเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Naval Reserve) ตั้งแต่ ค.ศ. 1915 ถึง ค.ศ. 2005[1] เป็นหน่วยกองหนุน (RC) ของกองทัพเรือสหรัฐ สมาชิกของหน่วยกองหนุนกองทัพเรือเรียกว่าทหารกองหนุน ซึ่งรับสมัครในกองหนุนเผื่อเลือก (SELRES), หมวดสำรองพร้อมรายบุคคล (IRR), กำลังพลสนับสนุนเต็มเวลา (FTS) หรือโครงการหน่วยกองหนุนที่เกษียณอายุ

การจัดตั้ง

[แก้]

ภารกิจของหน่วยกองหนุนกองทัพเรือคือการให้ความสำคัญเชิงกลยุทธ์และส่งมอบความสามารถในการปฏิบัติงานให้แก่ทีมของกองทัพเรือ และเหล่านาวิกโยธิน ตลอดจนกองกำลังร่วม ในการปฏิบัติการทางทหารอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่การรักษาสันติภาพจนถึงสงคราม

กองหนุนประกอบด้วยกำลังพล 59,152 นาย และเกณฑ์ทหารที่ประจำการในทุกรัฐและดินแดนตลอดจนในต่างประเทศ ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2020

กองหนุนเผื่อเลือก (SELRES)

[แก้]

หมู่ทหารที่ใหญ่ที่สุดคือกองหนุนเผื่อเลือก ได้ทำการฝึกฝนแบบดั้งเดิมหนึ่งสัปดาห์ต่อเดือน และการฝึกประจำปีสองสัปดาห์ในระหว่างปี โดยได้รับค่าตอบแทนหลักและค่าตอบแทนพิเศษบางอย่าง (เช่น ค่าตอบแทนเที่ยวบิน, ค่าตอบแทนดำน้ำ ฯลฯ) เมื่อดำเนินการฝึกหน้าที่ระยะสงบ (IDT หรือที่รู้จักกันในชื่อ "การฝึกฝน") รววมถึงค่าตอบแทนเต็มจำนวนและเบี้ยเลี้ยงขณะปฏิบัติหน้าที่สำหรับการฝึกประจำปี (AT), การเข้าประจำการเต็มเวลาสำหรับการฝึก (ADT), การเข้าประจำการเต็มเวลาสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงาน (ADOS), การเข้าประจำการเต็มเวลาสำหรับงานพิเศษ (ADSW) หรือภายใต้คำสั่งการระดมพล (MOB) หรือเรียกคืนไปยังการเข้าประจำการเต็มเวลาทั้งหมด

ทุกรัฐ เช่นเดียวกับกวม และปวยร์โตรีโก[2] โกมีศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการกองทัพเรืออย่างน้อยหนึ่งแห่ง (NOSC ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นศูนย์หน่วยกองหนุนทางเรือ) โดยมีกำลังพลสนับสนุนเต็มเวลา (FTS) ที่ซึ่งลูกเรือของกองหนุนเผื่อเลือกมาฝึกซ้อมในช่วงสุดสัปดาห์ ขนาดของศูนย์เหล่านี้จะแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับจำนวนของกองหนุนที่ได้รับมอบหมาย พวกเขามีวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อจัดการหน้าที่การบริหารและการฝึกรูปแบบห้องเรียน อย่างไรก็ตาม ศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการกองทัพเรือบางแห่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกที่ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงผู้ฝึกสอนควบคุมความเสียหายและหน่วยเรือเล็ก ศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการกองทัพเรือ บางแห่งอยู่ในสถานที่ปฏิบัติงานทางทหารร่วมกัน แต่ส่วนใหญ่เป็น "นอกลวด" ที่ตั้งอยู่ตามลำพังซึ่งมักเป็นตัวแทนกองทัพเรือสหรัฐเพียงแห่งเดียวในชุมชนของพวกเขาหรือแม้แต่รัฐทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการกองทัพเรือที่อยู่นอกพื้นที่ความเอาใจใส่ของกองเรือจึงได้รับมอบหมายอย่างหนักเพื่อจัดหากำลังพล ทั้งกำลังพลสนับสนุนเต็มเวลา และกองหนุนเผื่อเลือกสำหรับการมีส่วนร่วมในยามพิธีศพเกียรติยศ บริการนี้ได้รับการเตรียมการต่อชุมชนท้องถิ่นเป็นหนึ่งในภารกิจลำดับความสำคัญสองอันดับแรกของศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการกองทัพเรือ (อีกภารกิจหนึ่งคือการฝึกและการระดมกำลังของกองหนุนเผื่อเลือก)[3]

กองหนุนเผื่อเลือกเหล่านั้นได้รับมอบหมายสู่หน่วยปฏิบัติการระดับแนวหน้า เช่น นักบินนาวี, นายทหารการบินนาวี, ศัลยแพทย์การบินนาวี และเกณฑ์ทหารที่ได้รับมอบหมายสู่หน่วยกองหนุนกองทัพเรือ หรือฝูงบินและกองบินการบินหน่วยกองหนุนประจำการรวม (ARI) หรือกำลังพลที่ได้รับมอบหมายสู่กองบัญชาการสู้รบสำคัญ, กองเรือ และตำแหน่งงานสำคัญอื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วจะได้รับเงินทุนสำหรับการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้นกว่าวันหยุดสุดสัปดาห์ต่อเดือน/สองสัปดาห์ต่อปี ซึ่งมักจะเกินค่าจ้างทำงานโดยคิดต่อ 100 วันต่อปี กองหนุนเผื่อเลือกได้ปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติมในยามสงครามหรือวิกฤติของชาติ ซึ่งมักถูกเรียกกลับสู่การปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาเป็นเวลาหนึ่ง, สอง หรือสามปี หรือมากกว่านั้น และกรีธาพลสู่สถานที่โพ้นทะเลหรือบนเรือรบ ดังที่ได้เห็นเมื่อไม่นานมานี้ระหว่างปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน และปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Memorandum for the Secretary of Defense". georgewbush.whitehouse.archives.gov. 29 April 2005. สืบค้นเมื่อ 3 May 2011.
  2. "NRH - NOSC Locator Map". www.public.navy.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-07-24.
  3. "The Navy Reserve Almanac 2011" (PDF). navyreserve.navy.mil. January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 3 May 2011.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]