ข้ามไปเนื้อหา

อันเชนเมโลดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Unchained Melody)
"อันเชนเมโลดี"
เพลงโดยเดอะไรเชียสบราเธอส์
จากอัลบั้มจัสต์วันซ์อินมายไลฟ์
ด้านเอ"ฮังออนยู"
วางจำหน่าย17 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
แนวเพลงบลู-อายด์โซล
ความยาว3:15
ค่ายเพลงฟิลเลส
ผู้ประพันธ์เพลงคำร้อง: อเล็กซ์ นอร์ธ
ทำนอง: ไฮ ซาเร็ธ
โปรดิวเซอร์ฟิล สเปกเตอร์

"อันเชนเมโลดี" (อังกฤษ: Unchained Melody) เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง อันเชน (Unchained) ใน พ.ศ. 2498 แต่งคำร้องโดยอเล็กซ์ นอร์ธ และทำนองโดยไฮ ซาเร็ธ ร้องครั้งแรกโดยท็อดด์ ดันแคน ซึ่งต่อมาได้รับการบันทึกเสียงใหม่ใน พ.ศ. 2508 และกลายเป็นหนึ่งในเพลงที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 โดยบางแห่งมีการนับไว้ว่า มีการบันทึกมากกว่า 500 ฉบับในกว่า 100 ภาษาทั่วโลก[1]

ในปี พ.ศ. 2498 อเล็กซ์ นอร์ธ แต่งเพลงนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเรือนจำที่ชื่อ "อันเชน" อันเป็นที่มาของชื่อเพลง โดยท็อดด์ ดันแคนร้องเพลงนี้ประกอบภาพยนตร์[2] ต่อมาเลส แบ็กเตอร์ได้นำเพลงนี้มาทำเป็นฉบับดนตรี ซึ่งขึ้นชาร์ตอันดับสอง นอกจากนี้ยังมีฉบับของอัล ฮิบเบลอร์ ขึ้นถึงอันดับสามบนชาร์ต ฉบับของจิมมี ยัง ที่ติดชาร์ดอันดับหนึ่งในชาร์ตเพลงอังกฤษ รวมถึงฉบับของรอย แฮมิลตันที่ขึ้นถึงอันดับหนึ่งในชาร์ตอาร์แอนด์บีและอันดับหกในชาร์ตเพลงป็อป[3] ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีฉบับอื่น ๆ ของเพลงนี้ตามมาอีกมากมาย อย่างไรก็ดีฉบับที่เป็นมาตรฐานของตู้เพลงในปลายศตวรรษที่ 20 เป็นฉบับของเดอะไรเชียสบราเธอส์ ซึ่งบันทึกเสียงในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2508 เมื่อฉบับดังกล่าวถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์เรื่อง วิญญาณ ความรัก ความรู้สึก (Ghost) ใน พ.ศ. 2533 ซึ่งทำให้เพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงนั้น

ที่มาของเพลง

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2498 อเล็กซ์ นอร์ธและไฮ ซาเร็ธ ได้รับการติดต่อให้เขียนเพลงประกอบภาพยนตร์เกี่ยวกับเรือนจำอันหมองมัวที่ชื่อ "อันเชน" (Unchained)[4] ต่อมา เพลงในภาพยนตร์นี้เป็นที่รู้จักในชื่อ "อันเชนเมโลดี" โดยตัวเพลงไม่มีคำว่าอันเชนอยู่ในเนื้อเพลง และไฮ ซาเร็ธเลือกที่จะมุ่งประเด็นของเพลงไปที่คนที่คิดถึงคนรักที่มิได้เห็น "เป็นเวลานาน" ("long, lonely time")[4] ภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2498 นั้นให้ความสนใจในชายผู้หนึ่งที่กำลังพิจารณาว่าจะหลบหนีออกจากคุกไปใช่ชีวิตอย่างเร่งรีบ หรือจะอยู่ในเรือนจำให้พ้นโทษแล้วกลับไปอยู่กับภรรยาและครอบครัว [4] โดยเนื้อเพลงเขียนว่า "นทีเดียวดายโหยหา ว่าให้คอยฉันด้วย เพราะฉันจะกลับบ้านแล้ว โปรดคอยฉันด้วย" ("lonely rivers sigh, ' Wait for me... I'll be coming home; wait for me'...".) และด้วยความที่ไม่ได้พบครอบครัวเป็นเวลาหลายปี เขาจึงขอพระเจ้าให้เมตตาว่า "ฉันประสงค์ความรักของเธอนัก ขอพระเจ้าเร่งให้เธอรักฉันด้วยเถิด" (I need your love, God speed your love to me".)

ท็อดด์ ดันแคน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้แสดงภาพยนตร์เรื่องอันเชน เป็นผู้ขับร้องเพลงนี้ในภาพยนตร์ [2] ซึ่งทำให้เพลงนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาเพลงเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ใน พ.ศ. 2498 แต่พ่ายแพ้เพลงคู่แข่ง "เลิฟอิสอะเมนีสเปลนเดอร์ทิง" (Love Is a Many-Splendored Thing) ซึ่งมีการเล่นซ้ำและร้องในภาพยนตร์เดียวกันนั้นหลายต่อหลายครั้ง และได้รับความนิยมสูงเช่นกัน

ฉบับอื่น ๆ ในยุคแรก

[แก้]

ท็อดด์ ดันแคน เป็นผู้ขับร้องเพลงนี้เป็นฉบับแรกสุดในภาพยนตร์ "อันเชน" นั้นเอง [2] ต่อมาเลส แบ็กเตอร์ ออกเพลงนี้ฉบับที่ไม่มีเสียงร้อง (ในสังกัดแคปิตัลเรเคิดส์ หมายเลขสินค้า 3055) และทำอันดับสูงสุดบนชาร์ตได้ที่อันดับ 2 ฉบับที่นอกเหนือจากนี้ได้แก่ฉบับของอัล ฮิบเบลอร์ (ในสังกัดเดคคาเรเคิดส์ หมายเลขสินค้า 29441) ฉบับที่มีเสียงร้องซึ่งออกไล่ ๆ กับฉบับของเลส แบ็กเตอร์นี้ขึ้นถึงอันดับ 3 บนชาร์ตบิลบอร์ด ฉบับของจิมมี ยัง (ขึ้นถึงอันดับ 1 ในชาร์ตแห่งสหราชอาณาจักร) ฉบับของรอย แฮมิลตัน (ในสังกัดอีพิกเรเคิดส์ หมายเลขสินค้า 9102 โดยฉบับนี้ขึ้นถึงอันดับ 1 ในชาร์ตอาร์แอนด์บี และอันดับ 6 ในชาร์ตเพลงป็อป [5] และฉบับของจูน วัลลี ซึ่งออกภายในสังกัด อาร์ซีเอวิคเตอร์เรเคิดส์ หมายเลขสินค้า 20-6078 (บันทึกเสียงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2498 โดยมีเพลง "ทูมอร์โรว์" (Tomorrow) เป็นเพลงหน้าบี) [6]) ซึ่งขึ้นถึงอันดับ 29[7] ฉบับต่อ ๆ มาได้แก่ ฉบับของเจ็น วินเซนต์กับวงบลูแคปส์ ซึ่งปรากฏในอัลบั้มที่สองของเขาใน พ.ศ. 2499 โดยฉบับนี้เป็นฉบับที่เล่นด้วยความเร็วปานกลาง มีการดีดตัวโน้ตรัว ๆ ในบางท่อน และตัดท่อนบริดจ์ออก ฉบับที่ร้องโดยแฮรี เบลาฟอนเตในปี พ.ศ. 2499 ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 28 (สำหรับภาพยนตร์ใน [[พ.ศ. 2498) (ซึ่งต่อมาแฮรีได้บันทึกเสียงเพลงนี้กับค่ายอาร์ซีเอวิกเตอร์ เลขรหัส 20-6784 โดยมี "เอ-โรฟวิง" เป็นหน้าบี[8]) ฉบับดูวอปจังหวะเร็วโดยวิโตกับเดอะซาลูเทชันใน พ.ศ. 2506 ซึ่งติดชาร์ตท้องถิ่นฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา และต่อมาได้นำไปใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "คนดีเหยียบฟ้า" (Goodfellas) ของมาร์ติน สกอร์เซซีใน พ.ศ. 2533 ฉบับของเพอร์รี โคโม ใน พ.ศ. 2498 และฉบับของคริส ทาวนส์เฮนด์ นักดนตรีแจ๊สชาวอังกฤษแห่งวงเดอะสควอดรอนแนร์ส ในปี พ.ศ. 2499

เพลงนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งเมื่อมีอีกฉบับหนึ่งซึ่งโปรดิวซ์โดยฟิล สเปคเตอร์ใน พ.ศ. 2508 ซึ่งให้เครดิตกับเดอะไรเชียสบราเธอส์ แต่ร้องโดยบ็อบบี แฮทฟิลด์คนเดียว ซึ่งต่อมาได้บันทึกเสียงอีกฉบับที่เครดิตชื่อเขาคนเดียวด้วย ฉบับที่โปรดิวซ์โดยฟิล สเปคเตอร์นี้ขึ้นถึงลำดับ 4 ในชาร์ต

ลำดับในชาร์ต

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. BBC NEWS | Entertainment | Music | Brothers in good company with hits.
  2. 2.0 2.1 2.2 Robert Rodriguez, The 1950s' Most Wanted: The Top 10 Book of Rock & Roll Rebels, Brassey's, p.90.
  3. Whitburn, Joel (2004). Top R&B/Hip-Hop Singles: 1942-2004. Record Research. p. 243..
  4. 4.0 4.1 4.2 "Lyricist behind Unchained Melody dies", CBC Arts, July 3, 2007, webpage: Unchained-obit.
  5. Whitburn, Joel (2004). Top R&B/Hip-Hop Singles: 1942-2004. Record Research. p. 243.)
  6. RCA Victor Records in the 20-6000 to 20-6499 series
  7. Whitburn, Joel (1973). Top Pop Records 1940-1955. Menomonee Falls, Wisconsin: Record Research.
  8. Whitburn, Joel (2004). Top R&B/Hip-Hop Singles: 1942-2004. Record Research. p. 243.
  9. "Artist Chart History Details: Les Baxter". The Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  10. "January – June 1955". Record Mirror. สืบค้นเมื่อ 15 May 2010.[ลิงก์เสีย]
  11. "allmusic ((( Les Baxter > Charts & Awards > Billboard Singles )))". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  12. 12.0 12.1 "allmusic ((( Roy Hamilton > Charts & Awards > Billboard Singles )))". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  13. "Artist Chart History Details: Al Hibbler". The Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  14. Smith, Alan. "Every No.1 in the 1960s is listed from all the nine different magazine charts!". Dave McAleer's website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-10. สืบค้นเมื่อ 4 November 2010.
  15. 15.0 15.1 "allmusic ((( Al Hibbler > Charts & Awards > Billboard Singles )))". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |HIBBLER&sql= ถูกละเว้น (help)
  16. "Artist Chart History Details: Jimmy Young". The Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ 4 August 2010.
  17. "July – November 1955". Record Mirror. สืบค้นเมื่อ 15 May 2010.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]