ข้ามไปเนื้อหา

ทัวทารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Tuatara)

ทัวทารา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนตอนต้น – ปัจจุบัน, 19–0Ma [1]
ทัวทาราตอนเหนือ (Sphenodon punctatus punctatus)
สถานะการอนุรักษ์
Invalid status (NZ TCS)[4]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: อันดับทัวทารา
วงศ์: วงศ์ทัวทารา

Gray, 1831 (conserved name)
สกุล: Sphenodon

(Gray, 1842) (conserved name)
สปีชีส์: Sphenodon punctatus
ชื่อทวินาม
Sphenodon punctatus
(Gray, 1842) (conserved name)
ขอบเขต (นิวซีแลนด์)
ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันของทัวทารา (สีดำ):[5][6][7]
ชื่อพ้อง
  • Sphaenodon
    (Gray, 1831) (rejected name)
  • Hatteria
    (Gray, 1842) (rejected name)
  • Rhynchocephalus
    (Owen, 1845) (rejected name)

ทัวทารา (อังกฤษ: tuatara) เป็นสัตว์เลื้อยคลานเฉพาะถิ่นในประเทศนิวซีแลนด์ แม้ว่ามีรูปร่างคล้ายกับกิ้งก่า ทัวทาราอยู่ในอันดับต่างหากที่มีชื่อว่า Rhynchocephalia[8] ชื่อ tuatara มาจากภาษามาวรีที่แปลว่า "รอยหยักตรงแนวสันหลัง"[9]

ทัวทาราชนิดเดียวยังหลงเหลืออยู่ เป็นสิ่งมีชีวิตเดียวในอันดับ Rhynchocephalia ที่ยังคงเหลือรอด[10] Rhynchocephalia มีต้นกำเนิดในช่วงไทรแอสซิก (~250 ล้านปีก่อน) กระจายพันธุ์ทั่วโลกและมีความหลากหลายสูงสุดในช่วงจูแรสซิก และสูญพันธ์เมื่อ 60 ล้านปีก่อน (ยกเว้นทัวทารา)[11][12][13] ญาติใกล้ชิดที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่คือ squamates (กิ้งก่าและงู)[14]

เชื่อว่า บรรพบุรุษของทัวทาราเดินทางมาสู่นิวซีแลนด์จากออสเตรเลียด้วยการเกาะกับของขยะลอยน้ำมากลางทะเลพร้อม ๆ กับการกำเนิดขึ้นมาของผืนดินนิวซีแลนด์เมื่อกว่า 60 ล้านปีก่อน[15]

ทัวทารา มีความแตกต่างจากกิ้งก่า ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานส่วนใหญ่ในปัจจุบัน พอสมควร โดยลักษณะที่สำคัญ คือ ไม่มีช่องเปิดของหูชั้นนอก และไม่มีอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศผู้ ใช้การผสมพันธุ์โดยให้ช่องเปิดใต้ท้องติดกัน และปล่อยน้ำเชื้อผ่านเข้าไป[16] บนกลางหัวของทัวทารามีแผ่นหนังที่คล้ายกับดวงตา ที่ทำหน้าที่เหมือนกับดวงที่สาม เรียกว่า "ตาผนังหุ้ม" สามารถตรวจจับแสงและแรงสั่นสะเทือน รวมทั้งทำหน้าที่เหมือนกับตาของสัตว์ประเภทอื่น ๆ ได้ [15]

ทัวทารา ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ซุ่มโจมตีได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า จึงกินแมลงต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดิน ด้วยการซุ่มนิ่ง ๆ รวมทั้งลูกไม้บางชนิดที่อยู่บนต้น และยังกินแม้แต่ลูกทัวทาราที่เพิ่งฟักจากไข่ใหม่ ๆ ด้วย[15]

ทัวทารา เติบโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 70 ปี และเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 20 ปี ซึ่งในปี ค.ศ. 2009 ที่สวนสัตว์ในประเทศอังกฤษ ทัวทาราเพศผู้ตัวหนึ่งอายุ 111 ปี ที่ถูกเลี้ยงในนั้นได้ผสมพันธุ์กับทัวทาราเพศเมีย และได้ไข่และฟักออกเป็นตัวทั้งหมด 11 ตัวด้วยกัน[17] ทัวทาราเมื่อวางไข่เสร็จแล้ว จะไม่กลับมาดูแลหรือฟักไข่ แต่จะปล่อยให้ฟักเองโดยธรรมชาติ ไข่ของทัวทารามีลักษณะเปลือกหยุ่นคล้ายแผ่นหนัง และเมื่อฟักออกมาเป็นตัวแล้ว ทัวทาราขนาดเล็กซึ่งมีความยาวเพียง 3 นิ้ว จะรีบออกมาจากโพรงทันที มิเช่นนั้นจะตกเป็นเหยื่อของทัวทาราตัวโตกว่าได้[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sphenodon". Paleobiology Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2020.
  2. https://www.doc.govt.nz/nature/conservation-status/#at-risk
  3. Daugherty, C. H.; Cree, A.; Hay, J. M.; Thompson, M. B. (1990-09). "Neglected taxonomy and continuing extinctions of tuatara (Sphenodon)". Nature. 347 (6289): 177–179. doi:10.1038/347177a0. ISSN 1476-4687.
  4. "Sphenodon punctatus. NZTCS". nztcs.org.nz. สืบค้นเมื่อ 3 April 2023.
  5. Cree, A.; Daugherty, C.H.; Hay, J.M. (1990-09-01). "Neglected taxonomy and continuing extinctions of tuatara (Sphenodon)". Nature. 347 (6289): 177–179. Bibcode:1990Natur.347..177D. doi:10.1038/347177a0. S2CID 4342765.
  6. Gaze, P. (2001). Tuatara recovery plan 2001–2011 (PDF). Biodiversity Recovery Unit, Department of Conservation (Report). Threatened Species Recovery Plan. Vol. 47. Government of New Zealand. ISBN 978-0-478-22131-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 November 2011. สืบค้นเมื่อ 2 June 2007.
  7. Beston, A. (25 October 2003). "Tuatara release" (PDF). New Zealand Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 October 2007. สืบค้นเมื่อ 11 September 2007.
  8. "Tuatara". New Zealand Ecology. Living Fossils. TerraNature Trust. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2017. สืบค้นเมื่อ 10 November 2006.
  9. "The Tuatara". Kiwi Conservation Club. Fact Sheets. Royal Forest and Bird Protection Society of New Zealand. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 13 September 2017.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. Günther, A. (1867). "Contribution to the anatomy of Hatteria (Rhynchocephalus, Owen)". Philosophical Transactions of the Royal Society. 157: 595–629. Bibcode:1867RSPT..157..595G. doi:10.1098/rstl.1867.0019. JSTOR 108983.
  11. Jones ME, Anderson CL, Hipsley CA, Müller J, Evans SE, Schoch RR (September 2013). "Integration of molecules and new fossils supports a Triassic origin for Lepidosauria (lizards, snakes, and tuatara)". BMC Evolutionary Biology. 13 (208): 208. doi:10.1186/1471-2148-13-208. PMC 4016551. PMID 24063680.
  12. Gemmell NJ, Rutherford K, Prost S, Tollis M, Winter D, Macey JR, และคณะ (August 2020). "The tuatara genome reveals ancient features of amniote evolution". Nature. 584 (7821): 403–409. doi:10.1038/s41586-020-2561-9. PMC 7116210. PMID 32760000.
  13. "Tuatara". Conservation. Native Species. Threatened Species Unit, Department of Conservation, Government of New Zealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2011. สืบค้นเมื่อ 3 February 2013.
  14. Rest JS, Ast JC, Austin CC, Waddell PJ, Tibbetts EA, Hay JM, Mindell DP (November 2003). "Molecular systematics of primary reptilian lineages and the tuatara mitochondrial genome". Molecular Phylogenetics and Evolution. 29 (2): 289–97. doi:10.1016/s1055-7903(03)00108-8. PMID 13678684.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 New Zealand ดินแดนแห่งนก, "Mutant Planet" ทางแอนิมอลแพลนเน็ต. สารคดีทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555
  16. Mark Carwardine, The Guinness Book of Animal Records (1995) ISBN 0-85112-658-8
  17. เฮนรี่"เฒ่า111ปีเพิ่งได้ลูก!

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Sphenodon
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Sphenodon ที่วิกิสปีชีส์
  • "Specimens of Tuatara". Te Papa Tongarewa: The collection of the Museum of New Zealand.