ปลาซิวข้างขวาน
ปลาซิวข้างขวาน | |
---|---|
ฝูงปลาซิวข้างขวานใหญ่ (T. heteromorpha) ในตู้เลี้ยง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Trigonostigma Kottelat & Witte, 1999 |
ชนิดต้นแบบ | |
Rasbora heteromorpha Duncker, 1904 | |
ชนิด | |
|
ปลาซิวข้างขวาน หรือ ปลาซิวขวาน เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่งจำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Trigonostigma
เดิมปลาในสกุลนี้เคยถูกจัดให้อยู่ในสกุล Rasbora แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูกแยกออกมาต่างหาก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 โดยมีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีดำใต้จุดเริ่มต้นของครีบหลังถึงกลางของฐานครีบหาง และมักจะเป็นแถบกว้างด้านหน้า โดยมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมหรือเป็นรูปขวาน ในขณะที่บางชนิดจะเป็นเพียงแถบบาง ๆ และมีพฤติกรรมการวางไข่ โดยวางติดกับใบของพืชน้ำ
เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก นิยมอยู่เป็นฝูง จึงมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในน้ำในแง่ของการเป็นห่วงโซ่อาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า และมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งมักจะเลี้ยงกันในตู้ไม้น้ำ โดยมีพฤติกรรมในที่เลี้ยง คือ มักจะรวมฝูงว่ายกันอยู่ในระดับกลางน้ำ[1]
พบกระจายพันธุ์ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย ไปจนถึงกัมพูชา, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว[2]
ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานไว้แล้วทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่[3]
- Trigonostigma espei (Meinken, 1967)
- Trigonostigma hengeli (Meinken, 1956)
- Trigonostigma heteromorpha (Duncker, 1904)
- Trigonostigma somphongsi (Meinken, 1958)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ปลาซิว, หน้า 97 ปลาสำหรับตู้พรรณไม้น้ำ คอลัมน์ Mini Fishes โดย อ๊อด Melanochromis / Apistoensis. นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 25 ปีที่ 2 กรกฎาคม 2012
- ↑ "การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาซิวข้างขวาน (Trigonostigma espei) ในจังหวัดจันทบุรี เอกสารดาวน์โหลด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-06.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ปลาซิวข้างขวาน ที่วิกิสปีชีส์