ทีพู สุลต่าน
ทีพู สุลต่าน | |||||
---|---|---|---|---|---|
บาดชะฮ์ นาซิบุดดาวละฮ์ มีร์ ฟาเตฮ์ อะลี บะฮาดูร์ ทีพู | |||||
ภาพบุคคลของทีพู สุลต่าน จากไมสูรุ (ป. 1790–1800) | |||||
สุลต่านแห่งไมสูรุ | |||||
ครองราชย์ | 10 ธันวาคม 1782 – 4 พฤษภาคม 1799 | ||||
ราชาภิเษก | 29 ธันวาคม 1782 | ||||
ก่อนหน้า | ไฮเดอร์ อะลี | ||||
ถัดไป | กฤษณราชที่สาม (ในฐานะมหาราชาแห่งไมสูรุ) | ||||
ประสูติ | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1751 เทวนาหัลลี รัฐสุลต่านไมสูรุ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย) สุลต่าน ฟาเตฮ์ อะลี ซาฮับ ทีพู | ||||
สวรรคต | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1799 ศรีรังคปัฏณะ รัฐสุลต่านไมสูรุ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย) | (47 ปี)||||
ฝังพระศพ | ศรีรังคปัฏณะ ปัจจุบันคือมัณฑยะ รัฐกรณาฏกะ 12°24′36″N 76°42′50″E / 12.41000°N 76.71389°E | ||||
คู่อภิเษก | Khadija Zaman Begum and 2 or 3 others | ||||
พระราชบุตร | เชซาดา ไฮเดอร์ อะลี, ฆุลัม มุฮัมมัด สุลต่าน ซาฮิบ ฯลฯ | ||||
| |||||
ราชสกุล | ไมสูรุ | ||||
พระราชบิดา | ไฮเดอร์ อะลี | ||||
พระราชมารดา | ฟาตีมา ฟากฮ์รุนนิซา | ||||
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี[1][2] | ||||
ลัญจกร |
ทีพู สุลต่าน (เปอร์เซีย: تیپو سلطان, อักษรโรมัน: Tipu Sultan) หรือ ฏิปปุ สุลตาน (กันนาดา: ಟಿಪ್ಪು ಸುಲ್ತಾನ್, อักษรโรมัน: Tippu Sultan) (สุลต่าน ฟาเตฮ์ อะลี ซาฮับ ทีพู; 1 ธันวาคม 1751 – 4 พฤษภาคม 1799) หรือเรียกอีกชื่อว่า เสือแห่งไมสูรุ (อังกฤษ: Tiger of Mysore[3] เป็นผู้นำชาวมุสลิมอินเดียแห่งราชอาณาจักรไมสูรุในอินเดียใต้[4] ผู้ริเริ่มการทำปืนใหญ่จรวด[5][6][7] ในสมัยปกครองไมสูรุ เขาเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมทางการปกครองมากมาย เช่น ระบบกษาปณ์และปฏิทินใหม่,[8] ระบบเงินได้จากที่ดินใหม่ ซึ่งช่วยจุดการเติบโตของอุตสาหกรรมผ้าไหมไมสูรุ[9] และยังเป็นคนแรก ๆ ที่ริเริ่มของเล่นจันนปัฏณะ[10] เขาเป็นผู้ขยายจรวดไมสูรุหุ้มเหล็ก และแต่งคู่มือการทหาร Fathul Mujahidin ขึ้น ในระหว่างบรรดาสงครามกับอังกฤษ เขาได้ยิงจรวดเพื่อต้านทานการรุกคืบของกองทัพอังกฤษ รวมถึงในระหว่างยุทธการที่พอลลีลัวร์ และ การล้อมนครศรีรังคปัฏณะ[11]
ทีพู สุลต่าน และบิดาของเขา ใช้กองทัพที่ฝึกมาแบบฝรั่งเศสภายใต้พันธมิตรกับฝรั่งเศสในการต้านทานกองทัพของอังกฤษ[12] และอำนาจในภูมิภาคโดยรอบ ทั้งมราฐา, สิระ, บรรดาผู้นำของมะละบาร์, โกฑคู, เพฑเนาร์, กรณาฏกะ และ ทราวันคอร์ บิดาของทีพู ไฮเดอร์ อะลี ขึ้นสู่อำนาจก่อนที่ทีพูจะสืบทอดตำแหน่งผู้นำแห่งไมสูรุหลังบิดาเสียชีวิตด้วยมะเร็งในปี 1782 ทีพูมีชัยเหนืออังกฤษในสงครามครั้งที่สองกับอังกฤษ และในปี 1784 ได้ต่อรองสนธิสัญญามังคาลูรุกับอังกฤษเพื่อสิ้นสุดสงครามในครั้งนั้น
ข้อขัดแย้งกับอำนาจท้องถิ่นโดยรอบของไมสูรุในสมัยของทีพู สุลต่าน รวมถึงสงครามกับมราฐา ซึ่งสิ้นสุดจากการลงนามสนธิสัญญาคเชนทรครห์[13] ซึ่งบังคับให้ทีพู สุลต่าน ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม 4.8 ล้านรูปี แก่มราฐาในงวดเดียว และอีก 1.2 ล้านรูปีต่อปี รวมถึงต้องส่งคืนดินแดนทั้งหมดที่ยึดได้มาในสมัยไฮเดอร์ อะลี แก่มราฐา[14][15]
ในสงครามอังกฤษ-ไมสูรุ ที่สี่ กองกำลังร่วมของบริษัทตะวันออกของอังกฤษภายใต้การสนับสนุนของพวกมราฐาและนีซัมแห่งไฮเดอราบาด เอาชนะเหนือทีพูได้ และทีพูถูกสังหารเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 1799 ขณะปกป้องที่มั่นในศรีรังคปัฏณะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Potter, L. (5 January 2009). The Persian Gulf in History. Springer. ISBN 9780230618459.
- ↑ Hardiman, David (March 2021). Noncooperation in India: Nonviolent Strategy and Protest, 1920–22. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-758056-1.
- ↑ Cavendish, Richard (4 May 1999). "Tipu Sultan killed at Seringapatam". History Today. 49 (5). สืบค้นเมื่อ 13 December 2013.
- ↑ Yazdani, Kaveh (2017). India, Modernity and the Great Divergence. Brill. p. 67. ISBN 9789004330795.
- ↑ Colley, Linda (2000). "Going Native, Telling Tales: Captivity, Collaborations and Empire". Past & Present (168): 190. ISSN 0031-2746. JSTOR 651308.
- ↑ Dalrymple, p. 243
- ↑ Jamil, Arish. "Why Mysore? The Idealistic and Materialistic Factors Behind Tipu Sultan's War Rocket Success" (PDF). Emory Endeavors in World History - Volume 5. Emory College of Arts and Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-16. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
- ↑ Hasan 2005, p. 399.
- ↑ Datta, R.K. (2007). Global Silk Industry: A Complete Source Book. APH Publishing. p. 17. ISBN 978-81-313-0087-9.
- ↑ "History Of Channapatna Toys". Craftdeals.in. January 2023. สืบค้นเมื่อ January 1, 2023.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNarasimha
- ↑ Roy 2011, p. 77.
- ↑ Hasan 2005, pp. 105–107.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtipu 2
- ↑ Sen, Sailendra Nath (1995). Anglo-Maratha Relations, 1785-96 (ภาษาอังกฤษ). Popular Prakashan. ISBN 9788171547890.
บรรณานุกรม
[แก้]- Brittlebank, Kate (1999). Tipu Sultan's Search for Legitimacy. Delhi: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-563977-3. OCLC 246448596.
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 26 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 1005.
- Dalrymple, William (2019). The Anarchy: The Relentless Rise of the East India Company (Hardcover). New York: Bloomsbury publishing. ISBN 978-1-63557-395-4.
- Habib, Irfan, บ.ก. (2002). Confronting Colonialism: Resistance and Modernization Under Haider Ali and Tipu Sultan (Anthem South Asian Studies). Anthem Press. ISBN 1-84331-024-4.
- Hasan, Mohibbul (2005), History of Tipu Sultan, Aakar Books, ISBN 978-81-87879-57-2
- Prabhu, Alan Machado (1999). Sarasvati's Children: A History of the Mangalorean Christians. I.J.A. Publications. ISBN 978-81-86778-25-8.
- Roy, Kaushik (2011). War, Culture and Society in Early Modern South Asia, 1740–1849. Taylor & Francis. ISBN 978-1-136-79087-4.