ข้ามไปเนื้อหา

อาสนวิหารออร์ทอดอกซ์ตีมีชออารา

พิกัด: 45°45′2″N 21°13′27″E / 45.75056°N 21.22417°E / 45.75056; 21.22417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Timișoara Orthodox Cathedral)
อาสนวิหารออร์ทอดอกซ์
Catedrala Ortodoxă
อาสนวิหารมหานครมองจากสะพานทรายัน
ศาสนา
ศาสนาออร์ทอดอกซ์โรมาเนีย
สถานะองค์กรมหาสังฆมณฑลบานาต
ผู้อุปถัมภ์ตรีอัครสงฆ์
ปีที่อุทิศ1946
สถานะเปิดบริการ
Eugen Goanță[1]
ที่ตั้ง
ที่ตั้งKing Ferdinand I Boulevard ตีมีชออารา
พิกัดภูมิศาสตร์45°45′2″N 21°13′27″E / 45.75056°N 21.22417°E / 45.75056; 21.22417
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกอิโยน ทรายันเนสกู [ro]
รูปแบบมอลดอวาใหม่
ผู้รับเหมาตีเบรีว เอเมเรีย (Tiberiu Eremia)
ลงเสาเข็ม1936
เสร็จสมบูรณ์1940
ค่าก่อสร้าง30 ล้าน เล[2]
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ5,000
ความยาว63 m
ความกว้าง32 m
ความสูงสูงสุด90.5 m
โดม11

อาสนวิหารออร์ทอดอกซ์ (โรมาเนีย: Catedrala Ortodoxă) หรือ อาสนวิหารมหานคร (โรมาเนีย: Catedrala Mitropolitană) เป็นโบสถ์นิกายออร์ทอดอกซ์โรมาเนียในตีมีชออารา เป็นอาสนวิหารแห่งอาร์คิบิชอปริซแห่งตีมีชออารา (Archbishopric of Timișoara) และมหาสังฆมณฑลบานาต อาสนวิหารนี้อุทิศแด่ตรีอัครสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยเบซิลมหาราช, เกรเกอรีนักเทววิทยา และ ยอห์น ครีซอสตอม

อาสนวิหารสร้างบนพื้นที่ขนาด 1,542 ม2 ประกอบด้วย 11 หอคอย โดยความสูงของหอกลางอยู่ที่ 90.5 เมตร ถือเป็นโบสถ์ที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศโรเมเนีย รองจากอาสนวิหารการพลีกายของประชาชนในบูคาเรสต์[3] อาสนวิหารได้รับการบันทึกเป็นอนุสรณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ[4]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ประวัติศาสตร์ของอาสนวิหารใกล้เคียงอย่างมากกับปี 1919 โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม บานาตได้รวมเข้ากับโรเมเนีย โดยรัฐบาลใหม่ของโรเมเนียนี้มีมาตรการที่จะสนับสนุนการนับถือลัทธิออร์ทดอกซ์ ซึ่งก่อนหน้าถูกละเลยโดยรัฐของออสโตรฮังการี ซึ่งอุปถัมภ์นิกายคาทอลิก ในการนี้ได้จัดตั้งบิชอพริซแห่งตีมีชอออารา (Bishopric of Timișoara) ขึ้นมา และต่อมาได้เติบโตขึ้นเป็นอาร์คบิชอพริซ (archbishopric) ในปี 1939 และต่อมาในปี 1947 ได้ก่อตั้งมหามณฑลบานาตขึ้น[5]

ชุมชนออร์ทอดอกซ์ในตีมีชออาราและบานาตของโรเมเนียได้มีความต้องการสร้างโบสถ์ใหญ่ขึ้น ด้วยการริเริ่มของพาริชแห่งซีเตต (ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของตีมีชออารา) ได้มีการจัดตั้งการรวบรวมทุนและมีการส่งอุทธรณ์ไปยังเขตนักบวชต่าง ๆ เพื่อรับเงินบริจาค ในปี 1936 ปัจจัยต่าง ๆ สำหรับการเริ่มก่อสร้างได้มีพร้อม และเงินทุนได้รวบรวมเป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้ว่าจะเป็นเงินบริมาณที่สูงมาก ศาลาว่าการเมืองได้บริจาคที่ดินตรงจุดที่ถนนสายสำคัญตัดกันในเมืองเพื่อสร้างโบสถ์ โครงการจึงส่งต่อในปี 1934 ให้แก่สถาปนิก Ion Trajanescu [ro][6] ภายใต้ข้อกำหนดที่ต้องการให้โบสถ์สามารถรองรับ 5,000 คน อิฐที่ใช้ก่อสร้างโบสถ์นั้นศาลาว่าการเป็นผู้มอบให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และบริษัทเหล็ก Reșița Steel Works ยังมอบส่วนลด 30% ให้กับการซื้อเหล็ก 330 ตัน[2]

การก่อสร้างเริ่มต้นจริงในวันที่ 16 มีนาคม 1936 และในวันที่ 20 ธันวาคมปีเดียวกัน ได้มีการจัดมิสซา (solemn service) เพื่อประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เสกโดยบิชอป Andrei Magieru แห่งอาราด[7] การก่อสร้างควบคุมโดยบริษัทของ Tiberiu Eremia จากบูคาเรสต์[2] ระฆังและกางเขนโบสถ์ได้รับการเสกในวันที่ 23 สิงหาคม 1938 การรับ (reception) งานก่อสร้างมีขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 1940 และสภาสงฆ์อนุมัติในวันที่ 24 กรกฎาคม[2] พิธีเปิดอาสนวิหารมีขึ้นในวันทร่ 6 ตุลาคม 1946 โดยมีพยานในพิธีได้แก่กษัตริย์มิคาเอลที่หนึ่ง, นายกรัฐมนตรี Petru Groza, สังฆราช Nicodim Munteanu, บิชอปแห่งตีมีชออารา Vasile Lăzărescu [ro], เทโตรโปลิตันแห่งทรานซิลเวเนีย (Metropolitan of Transylvania) Nicolae Bălan และผู้แทนของคริสต์ชนลัทธิอื่น นำโดยบิชอปโรมันคาทอลิก Augustin Pacha และบิชอปกรีกคาทอลิก Ioan Bălan ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองหลังโรเมเนียหันไปรบกับเยอรมนี เครื่องบินระเบิดของเยอรมนีทิ้งระเบิดในตีมีชออารา (30–31 ตุลาคม 1944) มีระเบิดรวมหกลูกที่ลงใส่โบสถ์ ระเบิดเพียงหนึ่งลูก เป็นอันตรายใหญ่แต่ขนาดไม่มาก[8] งานจิตรกรรมทั้งนอกและในโบสถ์เสร็จสิ้นในปี 1956 ล่าช้าเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง

สถาปัตยกรรม

[แก้]

อาสนวิหารสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมมอลโดวาใหม่ ประกอบองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมโรเมเนียออร์ทอดอกซ์, เรนเนสซองส์ตอนปลาย, ออตโตมัน และ บีแซนทีน เช่น นีชใต้อีฟ, วอล์ทรูปดาว และงานแผ่นกลมแล็กเกอร์หลากสี องค์ประกอบบางประการพบได้ในอารามกอเซีย และอาราม Prislop ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของงานจากศตวรรษที่ 14 โบสถ์ยังเป็น "จุดรวมสายตา" ("head of perspective") ของจัตุรัสชัยชนะที่ตั้งอยู่ด้านหน้า[8]

อาสนวิหารมีความยาว 63 เมตรและกว้าง 32 เมตร[9] ความยิ่งใหญ่ของอาสนวิหารมาจากขนาดของโดมกลาง โดมแพนโตเครเตอร์ สูง 52 เมตรภายใน และ 83 เมตรด้านนอก ล้อมรอบด้วยกางเขนสูง 7 เมตร ยึดโยงด้วยโซ่ประดับและทองรัด 10 เส้น[9] ณ จุดหนึ่ง อาสนวิหารเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ รอบจาก Casa Scânteii (104 m) และ People's House (84 m) ทั้งคู่อยู่ในบูคาเรสต์ เนื่องด้วยพื้นดินที่สร้างมีความยวบ โบสถ์จึงวร้างบนพื้นคอนกรีตที่มีเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 1,186 เสา ปักลึก 20 เมตร[10] ขนาดพื้นที่ของโบสถ์อยู่ที่ 1,542 ม2 ปริมาตรอาคารอยู่ที่ 50,000 ม3 ระฆังของโบสถ์ทั้งเจ็ดใบหล่อที่โรงหล่อของ Anton Novotny มีน้ำหนักรวม 7,000 กก ทำมาจากโลหะผสมที่นำเข้ามาจากเกาะสุมาตราและบอร์เนียวของประเทศอินโดนีเซีย การสร้างสุนทรียภาพ (harmonization) ภายในเป็นผลงานของนักประพันธ์ Sabin Drăgoi[8] งานจิตรกรรมประดับทั้งนอกและในอาคารเป็นผลงานของคณะศิลปิน นำโดย Anastase Demian [ro] ส่วนไอคอนโนสเตสิสแกะสลักและประดับเคลือบด้วยทอง 22 กะรัด โดยปรมาจารย์ Ștefan Gajo[9] ผู้สร้างโคมระย้าสามโคม เชิงเทียนสองเชิง และ "สุสานท่าน" (Lord's Tomb)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Prezentare". Mitropolia Banatului.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Both, Ștefan (5 March 2015). "20 de lucruri inedite despre Catedrala Mitropolitană din Timișoara". Adevărul.
  3. Silaghi, Vali (25 April 2013). "Cum s-a construit unul dintre simbolurile Timișoarei, Catedrala Mitropolitană". Adevărul.
  4. "Lista monumentelor istorice" (PDF). Institutul Național al Patrimoniului. 2015. p. 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-09-09.
  5. Suciu, I.D. (1977). Monografia Mitropoliei Banatului. Timișoara: Editura Mitropoliei Banatului. p. 236. OCLC 5410558.
  6. Ionescu, Grigore (1982). Arhitectura pe teritoriul României de-a lungul veacurilor. Bucharest: Editura Academiei Republicii Socialiste România. p. 580.
  7. Ilieșiu, Nicolae; Ilieșu, Petru (2003). Timișoara: monografie istorică (2nd ed.). Timișoara: Planetarium. p. 153. ISBN 9789739732727. OCLC 64400612.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Catedrala Mitropolitană". Timisoara-Info.ro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-16. สืบค้นเมื่อ 2022-09-09.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Să cunoaștem Timișoara". 2011. pp. 25–29.
  10. "Catedrala Mitropolitană, Timișoara". Welcome to Romania.