ข้ามไปเนื้อหา

เดอะบีเอ็มเจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก The BMJ)
The BMJ
สาขาวิชาแพทยศาสตร์
ภาษาภาษาอังกฤษ
บรรณาธิการพญ. ฟิโอนา ก็อดลี่
รายละเอียดการตีพิมพ์
ชื่อเดิมProvincial Medical and Surgical Journal, British Medical Journal, BMJ
ประวัติการตีพิมพ์2383-ปัจจุบัน
ผู้พิมพ์
ความถี่ในการตีพิมพ์รายสัปดาห์
การเข้าถึงแบบเปิดทันที บทความงานวิจัยเท่านั้น
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
ปัจจัยกระทบ17.445 (2557)
ชื่อย่อมาตรฐาน
ISO 4BMJ
การจัดทำดรรชนี
CODENDXRA5
ISSN0959-8138
1756-1833
LCCN97640199
JSTOR09598138
OCLC32595642
การเชื่อมโยง

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ. ฟิโอนา ก็อดลี่ ผู้ได้รับแต่งตั้งเมื่อปี 2548[1]

อิทธิพล

[แก้]

ในปี 2557 ปัจจัยกระทบ (impact factor) ของวารสารอยู่ที่ 17.445[2] ซึ่งเป็นลำดับที่ 5 ในบรรดาวารสารการแพทย์ทั่วไป[3]

ประวัติ

[แก้]

วารสารตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2383 ในชื่อ Provincial Medical and Surgical Journal และได้รับความสนใจจากแพทย์ทั่วโลกเนื่องจากการตีพิมพ์งานวิจัยดั้งเดิมที่ทรงอิทธิพลและรายงานเค้สคนไข้ที่ไม่เหมือนใคร[4]

สถิติการจัดการยาสลบในแผนกจักษุ โรงพยาบาลกายส์

ในบทความหลักฉบับแรก บรรณาธิการได้ให้ข้อสังเกตว่า วารสาร "ได้รับโฆษณาสำหรับฉบับแรก เท่ากับวารสารการแพทย์ยอดนิยม (คือ เดอะแลนซิต) ทีได้ตีพิมพ์มาแล้ว 17 ปี"[4] จุดมุ่งหมายหลักของวารสารก็คือ ความก้าวหน้าของอาชีพ โดยเฉพาะนอกนครลอนดอน และการเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์ บรรณาธิการรุ่นแรกยังสนใจในการโปรโมตความอยู่ดีมีสุขของสาธารณชน และการธำรงรักษา "ผู้ปฏิบัติทางการแพทย์ โดยเป็นชนชั้นทางสังคม เพราะเหตุของการเรียนรู้ทางสติปัญญา เหตุความมีศีลธรรม และเหตุความสำคัญของหน้าที่ที่ตนได้รับ"[4]

The BMJ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์งานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่จัดกลุ่มคนไข้โดยส่วนกลาง (centrally randomised controlled trial) งานแรก[5] วารสารยังตีพิมพ์บทความทรงอิทธิพลเกี่ยวกับผลของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพ[6][7] ต่อมะเร็งปอด และต่อเหตุความตายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการสูบบุหรี่[8] โดยเป็นระยะเวลายาวนาน คู่แข่งเดียวที่มีของวารสารก็คือ เดอะแลนซิต (วารสารอันดับ 2 ตามปัจจัยกระทบ) ซึ่งอยู่ในสหราชอาณาจักรเหมือนกัน แต่เพราะเหตุแห่งโลกาภิวัตน์ วารสารได้เผชิญการแข่งขันที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะจากวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (วารสารอันดับ 1) และ JAMA (วารสารอันดับ 3)[9]

เนื้อหา

[แก้]

วารสารสนับสนุนเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) พิมพ์ทั้งงานวิจัยและงานทบทวนทางคลินิก (clinical review) ความก้าวหน้าทางการแพทย์เร็ว ๆ นี้ มุมมองของบรรณาธิการ และอื่น ๆ

วารสารมีฉบับที่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องโดยเฉพาะ (theme issue) ทุก ๆ ปี ซึ่งวารสารจะพิมพ์งานวิจัยและงานทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นประเด็น ธีมที่นิยมในไม่กี่ปีที่ผ่านมารวมทั้ง สุขภาพในแอฟริกา การจัดการโรคเรื้อรัง[เมื่อไร?] และความจากทั่วโลกเรื่องความหายนะจากโรคเอดส์[ต้องการอ้างอิง]

มีฉบับคริสต์มาสพิเศษทุก ๆ ปี พิมพ์ในวันศุกร์ก่อนวันคริสต์มาส เป็นฉบับที่รู้จักกันในฐานที่มีบทความงานวิจัยที่ใช้วิธีการทางวิทยาการแบบเคร่งครัดเพื่อตรวจสอบปัญหาการแพทย์ที่ไม่ใช่เป็นเรื่องจริงจัง[10][11][12] ผลที่ได้บ่อยครั้งเป็นความขบขันที่รายงานอย่างกว้างขวางในสื่อมวลชน[11][13]

ฉบับต่าง ๆ

[แก้]

วารสารโดยหลักเป็นวารสารออนไลน์ และเป็นเว็บไซท์วารสารเดียวที่มีเนื้อหาสมบูรณ์สำหรับบทความทุกบทความ แต่ว่า ก็มีฉบับพิมพ์ด้วยที่มีเป้าหมายเป็นกลุ่มต่าง ๆ โดยมีเนื้อหาต่าง ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเป็นแบบย่อ และมีโฆษณาที่ต่าง ๆ กัน[14] ฉบับพิมพ์รวมทั้ง

  • General Practice (รายสัปดาห์) สำหรับหมอทั่วไป
  • Clinical Research (รายสัปดาห์) สำหรับหมอโรงพยาบาล
  • Academic (รายเดือน) สำหรับสถาบัน นักวิจัย และนักวิชาการทางการแพทย์

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีฉบับพื้นที่ที่เป็นฉบับแปล และก็ยังมี Student BMJ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลออนไลน์สำหรับนักศึกษาแพทย์ หมอใหม่ และผู้ที่กำลังสมัครเข้ามหาวิทยาลัยแพทย์ โดยพิมพ์ 3 ครั้งต่อปี มีชุมชนออนไลน์ที่มีสมาชิกทั่วโลก คือ Doc2Doc

การดำเนินการ

[แก้]

วารสารมีระบบการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันแบบเปิด (open peer review) ที่ผู้เขียนจะรู้ว่าใครเป็นคนทบทวนต้นฉบับของตน บทความดั้งเดิมประมาณครึ่งหนึ่งจะถูกปฏิเสธโดยการทบทวนภายใน[15] ผู้เชี่ยวชาญภายนอกจะเป็นผู้ทบทวนต้นฉบับที่ได้รับเลือกเพื่อทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันในส่วนเบื้องต้น ผู้จะแสดงความสำคัญและความเหมาะสมในการตีพิมพ์ของต้นฉบับ ก่อนที่คณะบรรณาธิการจะตัดสินใจว่าจะพิมพ์บทความไหน อัตราการพิมพ์ต้นฉบับน้อยกว่า 7 เปอร์เซ็นต์สำหรับงานวิจัยดั้งเดิม[16]

ดัชนีและการอ้างอิง

[แก้]

วารสารอยู่ในดัชนีสำคัญ ๆ รวมทั้ง PubMed, MEDLINE, EBSCO และ Science Citation Index วารสารไม่เห็นด้วยมานานเกี่ยวกับการใช้ปัจจัยกระทบ (impact factor) อย่าง ๆ ผิดในการตัดสินให้เงินทุนงานวิจัย และการค้นหาเลือกรับนักวิจัยของสถาบันวิชาการ[17]

วารสาร 5 วารสารที่อ้างอิง The BMJ มากที่สุดโดยปี 2551 คือ The BMJ, Cochrane Database of Systematic Reviews, The Lancet, BMC Public Health และ BMC Health Services Research[18] ส่วนวารสาร 5 วารสารที่บทความของ The BMJ อ้างอิงมากที่สุดก็คือ The BMJ, The Lancet, The New England Journal of Medicine, Journal of the American Medical Association และ Cochrane Database of Systematic Reviews[18]

บทความที่อ้างอิงมากที่สุด

[แก้]

ตาม Web of Science ซึ่งเป็นบริการดัชนี[18] บทความต่อไปนี้ของวารสารมีการอ้างอิงมากที่สุด โดยปี 2553 คือ

  1. Cole, TJ; Bellizzi, MC; Flegal, KM; Dietz, WH (2000). "Establishing a standard definition for child overweight and obesity worldwide: international survey" [การกำหนดนิยามของสภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของเด็กทั่วโลก - งานสำรวจนานาชาติ]. British Medical Journal. 320 (7244): 1240–1243. doi:10.1136/bmj.320.7244.1240. PMC 27365. PMID 10797032.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Baigent, C; Sudlow, C; Collins, R; Peto, R (2002). "Collaborative meta-analysis of randomised trials of antiplatelet therapy for prevention of death, myocardial infarction, and stroke in high risk patients". British Medical Journal. 324 (7329): 71–86. doi:10.1136/bmj.324.7329.71. PMC 64503. PMID 11786451.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Stratton, IM; Adler, AI; Neil, HAW; Matthews, DR; Manley, SE; Cull, CA; Hadden, D; Turner, RC; Holman, RR (2000). "Association of glycaemia with macrovascular and microvascular complications of type 2 diabetes (UKPDS 35) : prospective observational study". British Medical Journal. 321 (7258): 405–412. doi:10.1136/bmj.321.7258.405. PMC 27454. PMID 10938048.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

บทความที่ดูมากที่สุด

[แก้]

โดยปี 2557 บทความที่เปิดดูมากที่สุดบทเว็บไซท์ของวารสารคือ[19]

Schultz, Willibrord Weijmar; van Andel, Pek; Sabelis, Ida; Mooyaart, Eduard (18 December 1999). "Magnetic resonance imaging of male and female genitals during coitus and female sexual arousal" [ภาพ MRI ของอวัยวะเพศชายและหญิงระหว่างการร่วมเพศและการเกิดอารมณ์ทางเพศของหญิง]. BMJ. 319 (7225): 1596–600. doi:10.1136/bmj.319.7225.1596. PMC 28302. PMID 10600954.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

เว็บไซท์และนโยบายการเข้าถึง

[แก้]

วารสารเปิดออนไลน์อย่างสมบูรณ์ในปี 2538 และเก็บไฟล์อย่างถาวรบนเว็บ จุดสนใจหลักรวมทั้งเนื้อหาที่มีในฉบับพิมพ์ สิ่งสนับสนุนบทความงานวิจัยดั้งเดิม ข่าวเพิ่มเติม และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปหาบรรณาธิการ วารสารมีนโยบายที่จะพิมพ์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปหาวารสารโดยมาก เป็นนโยบายที่เรียกว่า Rapid Responses[20] ซึ่งทำเหมือนกับเว็บบอร์ดที่มีคนดูแล โดยเดือนมกราคม 2556 มีจดหมายกว่า 88,500 ฉบับที่โพสต์ในเว็บของวารสาร[21] ข้อความที่โพสต์มีการตรวจกลั่นกรองในเรื่องเนื้อหาที่หมิ่นประมาทหรือหยาบคาย แต่ว่า คนที่โพสต์ข้อความจะได้คำเตือนว่า หลังจากที่โพ้สต์ข้อความ จะไม่มีสิทธิลบหรือแก้ไขโพ้สต์[21] ตั้งแต่ปี 2542 เนื้อหาทั้งหมดของวารสารเข้าถึงได้ฟรีออน์ไลน์ แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 การเข้าถึงเนื้อหาที่เพิ่มคุณค่า รวมทั้งการทบทวนทางคลินิก (clinical reviews) และบทความบรรณาธิการ จะต้องสมัครเป็นสมาชิก แต่ว่า ผู้ที่เข้าดูเว็บจากประเทศที่ยากจนสามารถเข้าถึงเนื้อหาฟรีได้ทั้งหมด โดยเป็นส่วนของโครงการ HINARI แต่ไม่รวมประเทศไทยในปี 2559[2][22]

วันที่ 14 ตุลาคม 2551 วารสารประกาศว่าจะเปลี่ยนเป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี แต่นี่หมายถึงงานวิจัยเท่านั้น สำหรับบทความประเภทอื่น จะต้องเป็นสมาชิก[23]

บริการอื่น ๆ

[แก้]

วารสารมีบริการฟรีส่งข้อความแจ้ง คือ[24]

  • มีอะไรใหม่ออนไลน์ (what’s new online) (UK/US/India/International editions) - เนื้อหาสรุปข่าวการแพทย์ งานวิจัยล่าสุด วิดีโอ บล็อก และข้อคิดเห็นของบรรณาธิการ
  • สิ่งที่บรรณาธิการเลือก (editor’s choice): หัวหน้าบรรณาธิการคือ พญ.ก็อดลี่นำเสนองานวิจัยล่าสุด ข่าวการแพทย์ ความเห็น และการศึกษาที่เลือกสรรแต่ละอาทิตย์
  • สารบัญ (table of contents) (รายวันหรือรายสัปดาห์) ลิงก์ไปยังบทความล่าสุดของวารสาร
  • ข่าวแจก (press releases)

แอปพลิเคชันสำหรับไอแพด

[แก้]

ในเดือนมกราคม 2554 วารสารเริ่มให้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับไอแพดที่แสดงเนื้อหาของวารสาร โดยรวมงานวิจัย ข้อคิดเห็น การศึกษา ข่าว บล็อก พอดแคสต์ และวิดีโอ ที่เลือกสรรจากที่จะปรากฏบนเว็บไซท์

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "Godlee is made BMJ's first woman editor". Press Gazette. 11 February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009. สืบค้นเมื่อ 14 August 2009.
  2. 2.0 2.1 "About BMJ". bmj.com. 2015. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
  3. "Journals Ranked by Impact: Medicine, General & Internal". 2014 Journal Citation Reports. Web of Science (Science ed.). Thomson Reuters. 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 P.W.J, Batrip (1990). Mirror of Medicine: A History of the British Medical Journal. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-261844-X.
  5. Medical Research Council (1948). "Streptomycin treatment of pulmonary tuberculosis". BMJ. 2 (4582): 769–782. doi:10.1136/bmj.2.4582.769. PMC 2091872. PMID 18890300.
  6. Doll, R; Hill, AB (1950). "Smoking and carcinoma of the lung". BMJ. 2 (4682): 739–748. doi:10.1136/bmj.2.4682.739. PMC 2038856. PMID 14772469.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Doll, R; Hill, AB (1954). "The mortality of doctors in relation to their smoking habits". BMJ. 1 (4877): 1451–1455. doi:10.1136/bmj.1.4877.1451. PMC 2085438. PMID 13160495.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Doll, R; Hill, AB (1956). "Lung Cancer and Other Causes of Death in Relation to Smoking". BMJ. 2 (5001): 1071–1081. doi:10.1136/bmj.2.5001.1071. PMC 2035864. PMID 13364389.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Mayor, S. (2004). "BMJ and Lancet rank among the most clinically relevant medical journals". BMJ. 329: 592. doi:10.1136/bmj.329.7466.592-e.
  10. Eveleth, Rose (23 December 2013). "The Best of the British Medical Journal's Goofy Christmas Papers". The Smithsonian. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  11. 11.0 11.1 Liberman, Mark (21 December 2007). "'Tis the season". Language Log.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Delamothe, Tony (December 2007). "Orthopaedic gorillas no more". BMJ. 335 (7633). doi:10.1136/bmj.39430.559375.47. PMC 2151146.
  13. "Santa's a Health Menace? Media Everywhere Are Falling for It—But the Study Was Meant as a Joke". Newsweek blog. 15 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-06.
  14. "The BMJ and Student BMJ ISSNs". The BMJ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  15. "BMJ peer reviewers: resources — BMJ resources". bmj.com. สืบค้นเมื่อ 2011-01-07.
  16. "Is The BMJ the right journal for my research article?". BMJ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2015. สืบค้นเมื่อ 7 September 2015. Our rejection rate for research is currently around 93%.
  17. Seglen, PO (February 1997). "Why the impact factor of journals should not be used for evaluating research". BMJ. 314 (7079): 498–502. doi:10.1136/bmj.314.7079.497. PMC 2126010. PMID 9056804.
  18. 18.0 18.1 18.2 "Web of Science". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2010. สืบค้นเมื่อ 23 February 2010.
  19. "Three million looks at sex-in-an-MRI video". Improbable Research. 17 June 2014.
  20. "Recent Rapid Responses". bmj.com. The BMJ. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  21. 21.0 21.1 "Sharon Davies: Why we're reluctant to remove rapid responses from bmj.com". blogs.bmj.com. The BMJ. 2013-01-31. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
  22. "Eligibility for Access to Research4Life". Research4Life. 2016. สืบค้นเมื่อ 10 February 2016.
  23. Suber, Peter (20 October 2008). "BMJ converts to gratis OA". Open Access News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2012. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
  24. "Receiving email alerts". The BMJ. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]