ข้ามไปเนื้อหา

เทนเซ็นต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Tencent Holdings Limited)
เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จำกัด (มหาชน)
ชื่อท้องถิ่น
腾讯控股有限公司
ประเภทบริษัทมหาชน SEHK700
ISINKYG875721634 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมบริษัทที่มีการลงทุนในกิจการ (Conglomerate Holding Company)
ก่อตั้ง11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 (26 ปี)
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่เชินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน
รายได้เพิ่มขึ้น CN¥560.118 พันล้าน (US$86.84 พันล้าน) (2564) [1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น CN¥271.62 พันล้าน (US$42.11 พันล้าน) (2564) [1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น CN¥227.81 พันล้าน (US$35.32 พันล้าน) (2564) [1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น CN¥1.612 ล้านล้าน (US$249.98 พันล้าน) (2564) [1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น CN¥876.693 พันล้าน (US$135.92 พันล้าน) (2564) [1]
เจ้าของNaspers (30.86%; ตั้งแต่ 2562 ผ่านบริษัท Prosus) [2]
หม่า ฮั่วเถิง (8.42%)
จาง จื้อตง (3.5%) [3]
พนักงาน
112,771 (2564) [1]
เว็บไซต์https://www.tencent.com/

เทนเซ็นต์ (อังกฤษ: Tencent Holdings Limited; จีน: 腾讯控股有限公司, พินอิน: Téngxùn kònggǔ yǒuxiàn gōngsī) ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นเมื่อปี 2541 ขึ้นด้วยเงินทุน 500,000 หยวน ในช่วงแรกบริษัท เทนเซ็นต์ (อังกฤษ: Tencent) ให้บริการด้าน System Integration หรือบริการวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรเป็นหลัก[4] และเปิดตัวโปรแกรมคิวคิว ครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2542 พร้อมกับการเปิดตัวเว็บไซต์ คิวคิว (www.qq.com) หลังการเปิดให้บริการ คิวคิว ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในตลาดจีนและกลายเป็นโปรแกรมระบบส่งข้อความทันที ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจีน ด้วยตัวเลขสมาชิกสูงถึง 448 ล้านคน (สถิติถึงครึ่งปีแรกของปี 2552) ส่งผลให้นายหม่า ฮั่วเถิง (马化腾) หรือที่รู้จักกันในนาม โพนี่ หม่า (Pony Ma) ผู้ก่อตั้งบริษัท Tencent กลายเป็นคนดังในสังคมจีนอย่างรวดเร็ว เขาได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารไทม์ ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อโลกเมื่อปี 2551 ซึ่งใน 100 บุคคลนี้มีชาวจีนแผ่นดินใหญ่ติดอันดับเพียง 5 คนเท่านั้น วันที่ 16 มิถุนายน 2004 เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จำกัด (มหาชน) (SEHK 700) [5] ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง [6]

ประวัติการดำเนินกิจการ

[แก้]
  • ปี 1998 สองผู้ก่อตั้ง หม่า ฮั่วเถิง และ จาง จื้อตง โดย หม่า เคยติดอันดับที่ 16 ของคนรวยที่สุดในแผ่นดินใหญ่และรวยที่สุดในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของจีน โดยก่อนหน้านี้ทั้งสองทำงานอยู่ในบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตั้งแต่สมัยยังใช้วิทยุติดตามตัวกันอยู่ ปัจจุบันผู้บริหารส่วนใหญ่ของที่นี่ล้วนเป็นชาวจีนทั้งสิ้น และอายุเฉลี่ยของพนักงานคือ 26 ปี ตลอดช่วงปีแรก ๆ ที่สร้าง QQ ผู้บริหารพยายามขาย QQ ให้กับบริษัทใหญ่ ๆ แต่ไม่มีใครยอมซื้อ
  • ปี 2000 ได้เงินทุน 77 ล้านบาทจากบริษัทเงินทุนในอเมริกาและฮ่องกง แลกกับหุ้น 40% ผู้ใช้ QQ พุ่งถึง 100 ล้านคน แต่บริษัทก็ยังหาเงินด้วยตนเองไม่ได้ เลยร่วมมือกับไชน่า โมบายล์ เชื่อมบริการหลายอย่างจาก QQ ไปมือถือ เช่น ส่งข้อความ เล่นเกม หาคู่ผ่านมือถือ
  • ปี 2001 เริ่มมีกำไร 51 ล้านบาท
  • ปี 2002 ยอดผู้ใช้ 160 ล้านคน กำไรพุ่งไป 14 เท่าจากปีที่แล้ว
  • ปี 2004 เริ่มบุกฮ่องกง และเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
  • ปี 2006 ลงทุน 500 ล้านบาทสร้างสำนักวิจัยของตัวเอง เป็นสถาบันวิจัยด้านอินเทอร์เน็ตที่แรกของจีน มีสาขาที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเชินเจิ้น
  • ปี 2008 ขยายบริการอื่น ๆ เช่น ออนไลน์เกม (มีเกมออนไลน์ใหม่ ออกทุก ๆ เดือน) อีเมล เว็บค้นหาข้อมูล soso.com (ที่วันนี้เป็นอันดับ 3 รองจากไป๋ตู้ (baidu.com) และ กูเกิล)
  • ปี 2009 ย้ายออฟฟิศใหม่ไปที่ Tencent Building ตึกสูง 39 ชั้นตั้งอยู่ใจกลางย่านไอทีของเชินเจิ้น
  • ปี 2010 จ่ายเงินหมื่นกว่าล้านบาทให้กับบริษัท Digital Sky Technologies Ltd. ในรัสเซียเพื่อแฝงการลงทุนในหุ้นของเฟซบุ๊ก[7]
  • ปี 2012 ได้เปิดตัวโปรแกรมแชท ชื่อดัง วีแชต ในประเทศไทย เมื่อ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดยความร่วมมือจากเว็บไซต์ชื่อดังของไทย สนุก ดอตคอม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้โปรแกรมแชทนี้ถึง 200 ล้านคนทั่วโลก

ความสำเร็จ

[แก้]
Tencent สำนักงานใหญ่

เทนเซ็นต์ Tencent เป็นบริษัทไอทีอันดับ 1 ของจีน ก่อตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2541 ให้บริการเว็บไซต์, แอปพลิเคชัน เกมออนไลน์ โดยวางตำแหน่งทางการตลาดของบริษัท เป็น One-Stop Online Lifestyle

โดย Tencent ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นบริษัทไอทีอันดับ 4 รองจาก Google, Amazon และ Facebook ในแง่ Market Capitalization มีทรัพย์สินอยู่ประมาณ 3,700 ล้านเหรียญ ส่วน Pony Ma ซีอีโอของ Tencent ได้รับการจัดอันดับจากฟอบส์ว่าเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 4 ของจีน

ธุรกิจในเครือ

[แก้]

ธุรกิจในเครือสามารถแบ่งออกได้เป็นใหญ่ ๆ คือธุรกิจสื่อสารและธุรกิจร้านค้า โดยแบ่งดังนี้

ธุรกิจทางด้านสื่อสาร

[แก้]

ธุรกิจในกลุ่มนี้ สามารถแบ่งออกได้หลากหลาย ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้หลักอย่างมหาศาล มีดังนี้

บริการเว็บไซต์
  • QQ.com[8]
  • paipai.com
  • games.qq.com
  • Tenpay.com
  • QZone.qq.com
  • soso.com
  • gongyi.qq.com
  • sanook.com (เฉพาะประเทศไทย)
  • Tencent Weibo
แอปพลิเคชัน
เกมออนไลน์

ธุรกิจทางด้านร้านค้า

[แก้]
  • คิว-เจน : จัดจำหน่ายสินค้าประเภทของที่ระลึกโดยใช้ตราสินค้า คิวคิว เช่น กระเป๋า ตุ๊กตา นาฬิกา เสื้อผ้า

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "2021 Annual Report" (PDF). Tencent.com. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2022.
  2. "prosus2021-annual-report2" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2021.
  3. "Tencent Mid year report 2020" (PDF). www.tencent.com. Tencent. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2018.
  4. "ท่องอาณาจักร QQ บทเรียนแห่งความสำเร็จของโปรแกรมแชทสัญชาติจีน". ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2012.
  5. "TENCENT HOLDINGS LTD. (700)". Hong Kong Exchanges and Clearing Limited.
  6. "About Us". Tencent 腾讯公司.
  7. วรมน ดำรงศิลป์สกุล (ตุลาคม 2010). "เจาะ Tencent เจ้าของอาณาจักรดิจิตอลหมื่นล้าน!". Positioning Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2013.
  8. "QQ.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]