ข้ามไปเนื้อหา

การรักษาแบบมุ่งเป้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Targeted therapy)

การรักษาแบบมุ่งเป้า (อังกฤษ: Targeted therapy) [1][2] เป็นวิธีการรักษาด้วยยาอย่างหนึ่งโดยใช้ยาที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วยวิธีการไปทำปฏิกิริยากับโมเลกุลเป้าหมาย (targeted molecule) ที่จำเป็นต่อการเจริญของเซลล์มะเร็ง[3] แทนที่จะไปยับยั้งการเจริญของเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วอย่างเคมีบำบัดทั่วไป ทางทฤษฎีแล้วการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า น่าจะได้ประสิทธิภาพดีกว่าและเป็นอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่าการรักษาในปัจจุบัน

แม้ในภาษาอังกฤษการใช้คำนี้ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ โดยบางครั้งมีการกล่าวว่าการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้นั้นยังมีความจำเพาะไม่มากพอ[4] คำ targeted therapy นี้หลายครั้งก็ยังถูกใส่เครื่องหมายคำพูดเอาไว้ (เช่น ใช้เป็น "targeted therapy" หรือ 'targeted therapy')[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วิธีพิชิตมะเร็ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-26. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
  2. การแปลงยีนในไวรัสเพื่อใช้พิชิตโรคมะเร็ง
  3. "Definition of targeted therapy - NCI Dictionary of Cancer Terms". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-15. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  4. Zhukov NV, Tjulandin SA (May 2008). "Targeted therapy in the treatment of solid tumors: practice contradicts theory". Biochemistry. Biokhimiia. 73 (5): 605–618. doi:10.1134/S000629790805012X. PMID 18605984. S2CID 1223977.
  5. Markman M (2008). "The promise and perils of 'targeted therapy' of advanced ovarian cancer". Oncology. 74 (1–2): 1–6. doi:10.1159/000138349. PMID 18536523. S2CID 44821306.