เทมอิมพาลา
เทมอิมพาลา | |
---|---|
![]() เทมอิมพาลาขณะแสดงในเทศกาลโฟลว์ ปี 2019 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | เพิร์ท รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ออสเตรเลีย |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | 2007–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | |
สมาชิก |
|
เว็บไซต์ | official |
เทมอิมพาลา (อังกฤษ: Tame Impala) เป็นโปรเจกต์ดนตรีแนวไซเคเดลิกสัญชาติออสเตรเลียของเควิน ปาร์กเกอร์[6] ซึ่งเป็นผู้เขียน บันทึกเสียง ทำการแสดง ตลอดจนผลิตเพลงทั้งหมดของโปรเจกต์ สมาชิกร่วมทัวร์ประกอบด้วยปาร์กเกอร์ (ร้องนำ กีตาร์ เครื่องสังเคราะห์เสียง) โดมินิก ซิมเปอร์ (กีตาร์ เครื่องสังเคราะห์เสียง) เจย์ วอตสัน (เครื่องสังเคราะห์เสียง ร้องเบื้องหลัง กีตาร์) แคม เอเวอรี (กีตาร์เบส ร้องเบื้องหลัง เครื่องสังเคราะห์เสียง) และจูเลียน บาร์บากัลโล (กลอง ร้องเบื้องหลัง) เทมอิมพาลามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวงดนตรีแนวไซเคเดลิกร็อกอย่าง พอนด์ ซึ่งมักมีการหมุนเวียนสมาชิกและทำงานร่วมกัน ดังเช่นนิก ออลบรุก ก็เคยเป็นสมาชิกร่วมทัวร์ แรมเริ่มวงได้เซ็นสัญญากับโมดูลาร์เรเคิดดิงส์ แต่ปัจจุบันเซ็นสัญญากับอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ในสหรัฐ[7] และฟิกชันเรเคิดส์ในสหราชอาณาจักร
ปาร์กเกอร์ก่อตั้งโปรเจกต์นี้ในเมืองเพิร์ทเมื่อปี 2007 หลังจากออกซิงเกิลและอีพีมาแล้วหลายชุด เทมอิมพาลาออกสตูดิโออัลบั้มเปิดตัวชื่อ Innerspeaker ในปี 2010 อัลบั้มได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์และยังได้รับการยืนยันระดับแผ่นเสียงทองคำในออสเตรเลีย ผลงานที่ตามมาในปี 2012 อย่างอัลบั้มชุด Lonerism ก็ได้รับคำชมเช่นเดียวกันและทำให้วงได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มเพลงออลเทอร์นาทิฟยอดเยี่ยม เทมอิมพาลาออกอัลบั้มชุดที่สาม Currents วางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม 2015 อัลบั้มได้รับรางวัลอาเรียมิวสิกอะวอดส์ สาขาอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม และอัลบั้มแห่งปี ปาร์กเกอร์ได้รับรางวัลเอพราอะวอดส์ สาขาเพลงแห่งปี จากเพลง "เลตอิตแฮปเพน"[8] อัลบั้มชุดที่สี่ The Slow Rush ยังทำให้เทมอิมพาลาคว้าห้ารางวัลที่งานประกาศรางวัลอาเรียมิวสิกอะวอดส์ 2020
สมาชิก
[แก้]- สตูดิโอ
- เควิน ปาร์กเกอร์ – เสียงร้อง เครื่องดนตรี และการผลิตทั้งหมด (2007–ปัจจุบัน)
- สมาชิกร่วมทัวร์
- เควิน ปาร์กเกอร์ – ร้องนำ กีตาร์ (2007–ปัจจุบัน) เครื่องสังเคราะห์เสียงเป็นบางครั้ง (2019–ปัจจุบัน)
- เจย์ วอตสัน – เครื่องสังเคราะห์เสียง คีย์บอร์ด (2012–ปัจจุบัน) ร้องเบื้องหลัง (2007–ปัจจุบัน) กลอง (2007–2012) กีตาร์ (2013–2017)
- โดมินิก ซิมเปอร์ – กีตาร์ เครื่องสังเคราะห์เสียง คีย์บอร์ด (2010–ปัจจุบัน) กีตาร์เบส (2007–2013)
- จูเลียน บาร์บากัลโล – กลอง ร้องเบื้องหลัง (2012–ปัจจุบัน)
- แคม เอเวอรี – กีตาร์เบส ร้องเบื้องหลัง (2013–ปัจจุบัน) เครื่องสังเคราะห์เสียง (2019–ปัจจุบัน)
- ราฟาเอล ลาซซาโร-โกลอน – เครื่องประกอบจังหวะ (2019–ปัจจุบัน)
- อดีตสมาชิกร่วมทัวร์
- นิก ออลบรุก – กีตาร์เบส กีตาร์ เครื่องสังเคราะห์เสียง (2009–2013)
- ลอเรน ฮัมฟรีย์ – กลอง (2019; เข้ามาเล่นแทนจูเลียน บาร์บากัลโล)[9]
เส้นเวลา
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/timeline/n3psls9kosjngt8ywowmjfb0kfd5rf9.png)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gregory Heaney (8 October 2012). "Lonerism – Tame Impala | Songs, Reviews, Credits, Awards". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2014. สืบค้นเมื่อ 3 July 2014.
- ↑ "Tame Impala". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 3 July 2014.
- ↑ Hyden, Steven (7 March 2019). "Will This Be The Year That Tame Impala Becomes One Of The World's Biggest Bands?". Uproxx. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.
- ↑ Breihan, Tom (23 September 2020). "Watch Tame Impala Go Full Synthpop, Playing 'Borderline' on Fallon". Stereogum. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
- ↑ Andrew Hatt (18 December 2018). "A New Trip for a New Era: The Neo-Psychedelia Explosion of the 2010s". Backyard Collusions. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
- ↑ "Tame Impala | Biography, Albums, & Streaming Radio | AllMusic". AllMusic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2016. สืบค้นเมื่อ 21 July 2016.
- ↑ "Tame Impala Discuss New Album 'Currents', Release Album Artwork and New Track 'Cause I'm A Man' [LISTEN] : Genres". Music Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2015. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
- ↑ Brandle, Lars (6 April 2016). "Courtney Barnett, Tame Impala's Kevin Parker Win Big at APRA Awards". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2016. สืบค้นเมื่อ 6 December 2016.
- ↑ Weiner, Jonah (21 May 2019). "The Cosmic Healing of Tame Impala". Rolling Stone.