เทลส์รันเนอร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เทลส์รันเนอร์ | |
---|---|
ผู้พัฒนา | ราอน |
ผู้จัดจำหน่าย | สมายล์เกต ฟันทาวน์ ซานดา (2007~2016) ฉีชฺวีเกมส์ (2016~2017) ทีโอที (2007~2016) เอเชียซอฟต์ (2016~2023) วินเนอร์ฮับ (2013~2015) จีโปเตโต (2008~2011) โอจีแพลนเน็ต (2014~2017) เจมส์คูล (2014~2016) ราอน (2010~2011) นีตส์ (2006–2007) ราอนเจแปน (2010–2011) เอสเกม (2013~2015) นูริกเกมส์ (2014~2015) เท็กยอนเกมส์ (2014~2016) |
เครื่องเล่น | ไมโครซอฟท์ |
แนว | แข่งขัน, แพลตฟอร์ม, แคชวล, จินตนิมิต |
รูปแบบ | ผู้เล่นคนเดียว, หลายผู้เล่น |
'เทลส์รันเนอร์' (เกาหลี: 테일즈런너, อังกฤษ: TalesRunner) เป็นเกมออนไลน์หลายผู้เล่นที่พัฒนาโดยบริษัทเกาหลีใต้ ราอน และเผยแพร่โดยบริษัทสมายล์เกต[1] เกมดังกล่าวเป็นการผสมผสานแนวเกมสังคม แฟนตาซี และการแข่งขัน ซึ่งผู้เล่นจะต้องทำการแข่งขันโดยการวิ่ง กระโดด พุ่งชน สกี และปีนข้ามสิ่งกีดขวาง ท่ามกลางฉากหลังเทพนิยายต่าง ๆ โดยเกมดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของเทพนิยายตะวันออกและตะวันตกผสมผสานกัน
เทลส์รันเนอร์ เปิดให้บริการในหลายประเทศ เช่น เกาหลี สหรัฐ ไทย จีนแผ่นดินใหญ่ และญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2011 จีโปเตโตได้ประกาศยุติการให้บริการในอเมริกาเหนืออย่างถาวรในวันที่ 21 ธันวาคม 2011
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2012 นิวคอม บริษัทหลักที่เปิดให้บริการ เทลส์รันเนอร์ ได้เปิดให้บริการระดับนานาชาติอีกครั้ง ทีโอทีได้ประกาศโอนสิทธิ์การเผยแพร่ในประเทศไทยให้กับเอเชียซอฟต์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2016[2] โอจีแพลนเน็ต บริษัทหลักที่เปิดให้บริการ เทลส์รันเนอร์ ภาษาอังกฤษเพียงแห่งเดียว ได้ประกาศยุติการให้บริการอย่างถาวรในวันที่ 20 เมษายน 2017[3]
เนื้อเรื่อง
[แก้]พระเจ้าเฮนรี เป็นพระมหากษัตริย์ในดินแดนอันสวยงาม เพื่อทำให้ผู้คนมีความสุขอีกครั้ง เขาจึงเริ่มจัด "การแข่งขันวิ่งชมเมืองแห่งแดนสวรรค์" ด้วยธีมเทพนิยาย โดยผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับหินที่สามารถเติมเต็มความปรารถนาใด ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะถูกเรียกว่า "เทลส์รันเนอร์"[4]
ระบบการเล่น
[แก้]การวิ่งแข่งเป็นหัวใจหลักของเกมเทลส์รันเนอร์ โดยผู้เล่นจะต้องวิ่งแข่งกันและเมื่อจบการแข่งขัน จะได้รับเงิน ค่าประสบการณ์ การ์ด และไอเทมอื่น ๆ อีก ตัวเกมมีความหลากหลายรูปแบบของแผนที่ที่ใช้วิ่งแข่งกันหลาย ๆ แบบ เช่น ระบบวิ่งฝีกหัด ที่ให้อารมณ์เหมือนผู้เล่นได้ลงไปสัมผัสกับสนามกีฬาจริง ๆ ระบบสนามนิทาน ที่ให้ผู้เล่นลงไปพบกับนิทานที่สนุกสนานที่เคยได้ยินกันมาอย่างยาวนาน (แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์, อลิซกับดินแดนมหัศจรรย์ เจ้าหญิงหิมะ เป็นต้น) ระบบสนามบอส และระบบอื่น ๆ อีก เช่น ระบบคำถาม เป็นต้น
ตัวเกมมีระบบห้องเล่นที่ผู้เล่นสามารถเล่นได้คนเดียวไปจนถึง 30 คน สามารถเล่นโหมดวิ่งเดี่ยวหรือวิ่งเป็นทีมก็ได้ และยังมีโหมดพิเศษที่ให้ผู้เล่น 8 คนร่วมมือกันพิชิตบอสอีกด้วย โดยผู้ที่ชนะก็จะได้รับเงิน ค่าประสบการณ์ การ์ด และไอเทมอื่น ๆ
ไอเทม
[แก้]สิ่งของเหล่านี้จะโผล่ขึ้นแบบสุ่มในฉากระหว่างที่วิ่ง และถ้าตัวละครที่เล่นอยู่ได้รับสิ่งของโดยการชนกับสิ่งนั้น ๆ และสิ่งนั้นจะช่วยตัวละครนั้นในการโจมตีหรือวางกับดักเพื่อขัดขวางผู้เล่นคนอื่น ๆ ซึ่งจะมีอยู่สองรูปแบบหรือที่เรียกว่า ไอเทม 1 และ ไอเทม 2
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Rhaon Entertainment official website". สืบค้นเมื่อ 23 December 2007.
- ↑ TOT Public Company Limited. "ประกาศเรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการ Talesrunner", TOT Public Company Limited, Bangkok, 21 March 2016. Retrieved on 27 March 2016.
- ↑ "OGPlanet | Play the Best Free Online Games on your PC or Browser". www.ogplanet.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2017. สืบค้นเมื่อ 30 April 2017.
- ↑ Official Introduction of Tales Runner
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]