วากยสัมพันธ์
ส่วนหนึ่งของรายการเรื่อง |
ภาษาศาสตร์ |
---|
สถานีย่อย |
ในทางภาษาศาสตร์ วากยสัมพันธ์ (อังกฤษ : syntax) หมายถึง การศึกษาหมวดคำ การประกอบคำขึ้นเป็นโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้น ตามหลักไวยากรณ์ของภาษา ในภาษาไทย "วากยสัมพันธ์" เป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ไทยที่กำหนดขึ้นเป็นหนึ่งในแบบแผนหรือไวยกรณ์ของภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วย 4 แบบแผนหลัก ได้แก่ อักขรวิธี ซึ่งศึกษาว่าด้วยอักษร, วจีวิภาค ศึกษาว่าด้วยคำ, วากยสัมพันธ์ ศึกษาว่าด้วยความสัมพันธ์ของคำในประโยค, และ ฉันทลักษณ์ คือ กฎเกณฑ์ของการเขียนภาษาในรูปแบบต่างๆ
วากยสัมพันธ์ ยังเป็นชื่อตำราไวยากรณ์ไทยว่าด้วยประโยค และความเกี่ยวข้องของส่วนต่างๆ ในประโยค การศึกษากฎหรือความสัมพันธ์ของภาษาอย่างเป็นแบบแผน ที่ควบคุมการเรียงคำเป็นวลี และวลีเป็นประโยค
การเรียงลำดับคำในประโยค
[แก้]ในภาษาต่างๆมีการเรียงลำดับคำในประโยคดังนี้[1] (แสดงประธานด้วยคำว่าฉัน แสดงกรรมด้วยคำว่าข้าวและแสดงกริยาด้วยคำว่ากิน)
- ประธาน-กริยา-กรรม เรียงคำเป็น ฉัน-กิน-ข้าว เช่น ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามลายู ภาษาอินโดนีเซีย
- ประธาน-กรรม-กริยา เรียงคำเป็น ฉัน-ข้าว-กิน เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฮินดี ภาษาพม่า ภาษาตุรกี ภาษาบาลี
- กริยา-ประธาน-กรรม เรียงคำเป็น กิน-ฉัน-ข้าว เช่น ภาษาเวลส์
- กริยา-กรรม-ประธาน เรียงคำเป็น กิน-ข้าว-ฉัน เช่น ภาษาปาซะห์ ภาษามาลากาซี
- กรรม-กริยา-ประธาน เรียงคำเป็น ข้าว-กิน-ฉัน เช่น ภาษาอปาลัย
- กรรม-ประธาน-กริยา เรียงคำเป็น ข้าว-ฉัน-กิน เช่น ภาษาฟาซุ
ภาษาส่วนใหญ่ในโลกเรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม และ ประธาน-กรรม-กริยา ส่วนแบบกรรม-ประธาน-กริยา พบน้อยมาก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จรัลวิไล จรูญโรจน์. ภาษาศาสตร์เบื้องต้น.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2548