ซูเปอร์ชาร์จเจอร์
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/9d/Supercharger_Animation_by_Tyroola.gif/260px-Supercharger_Animation_by_Tyroola.gif)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/73/1968_AMX_blown_and_tubbed_e.jpg/250px-1968_AMX_blown_and_tubbed_e.jpg)
ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (อังกฤษ: Supercharger, Blower, Compressor) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ดูดอากาศเข้าจากนั้นทำการอัดอากาศและส่งเข้าสู่ห้องด้วยแรงดันสูงให้มวลไหลของออกซิเจนสูงกว่าอัตราการปกติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้มากกว่าเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบอัดอากาศ ซึ่งจะช่วยให้เชื้อเพลิงถูกเผาไหม้และทำงานมากขึ้นเพื่อจะทำการเพิ่มการหมุนต่อรอบและเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์[1]
ขณะที่พลังมาจากกังหันก๊าซไอเสียเป็นที่รู้จักกันคือ เทอร์โบชาร์จเจอร์[2]โดยทั่วไปคำว่า supercharger มักจะเกี่ยวกับหน่วยขับเคลื่อนทางกล
หลักการทำงาน
[แก้]การทำงานของซูเปอร์ชาร์จเจอร์ใช้หลักการหมุนเพื่อดูดอากาศและเพิ่มแรงดันของอากาศแล้วจึงส่งผ่านไปยังห้องเผาไหม้ ส่วนภายในจะเป็นเครื่องดูดและอัดอากาศโดยอาศัยแรงหมุนจากเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถแบ่งแยกได้ตามกลไกการทำงาน
- Roots lobe supercharger (Roots-type)
- ใช้กำลังจากเครื่องยนต์ในการหมุน ภายในจะมีแกน 2 แกนใช้ลูกตุ้มติดอยู่กับแกน 2 - 3 ลูกต่อแกน ในแต่ละแกนจะหมุนเข้าหากันคล้ายก้นหอยทำให้เกิดแรงดันของอากาศสูงขึ้น
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/7b/Roots_blower_-_2_lobes.svg/220px-Roots_blower_-_2_lobes.svg.png)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ec/2006_Saturn_Ion_Red_Line_engine.jpg/220px-2006_Saturn_Ion_Red_Line_engine.jpg)
- Lysolm screw supercharger
- ใช้หลักการเดียวกับแบบ Roots แต่จะมีลูกตุ้มต่อแกนประมาณ 4 - 6 ลูก ส่วนการหมุนของแกนจะหมุนไปในทิศทางตรงข้ามกันในการสร้างแรงอัดอากาศ
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/3a/Lysholm_screw_rotors.jpg/220px-Lysholm_screw_rotors.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/31/Two_moving_spirals_scroll_pump.gif)
- Centrifugal supercharger
- ใช้หลักการทำงานเหมือนเทอร์โบชาร์จเจอร์ เพียงแต่อาศัยแรงหมุนจากสายพานของเครื่องยนต์
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/74/ATI_ProCharger_Supercharger_Cutaway.jpg/220px-ATI_ProCharger_Supercharger_Cutaway.jpg)
- Electric supercharger
- ใช้กระแสไฟฟ้าในการหมุนซึ่งจะไม่ทำให้เครื่องสูญเสียพลังงาน
- Vane supercharger
- Wanlel rotary supercharger
- [1]
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/ca/Axial_compressor.gif/350px-Axial_compressor.gif)
ข้อดี ข้อเสีย
[แก้]หากเปรียบเทียบกับระบบอัดอากาศอย่างเทอร์โบชาร์จเจอร์ ซูเปอร์ชาร์จเจอร์สามารถใช้ส่งแรงอัดได้ทันทีและไม่ทำให้อากาศที่ถูกส่งเข้าสู่ห้องเผาไหม้มีความร้อน ในด้านข้อเสียหากอาศัยแรงขับจากเครื่องยนต์จะทำให้เสียกำลังไปกับการหมุน
ส่วนเทอร์โบชาร์จเจอร์ ต้องอาศัยแรงหมุนจากแรงดันของท่อไอเสีย และทำให้อากาศที่ส่งเข้าสู่ห้องเผามีอุณหภูมิสูง[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]- เทอร์โบชาร์จเจอร์
- Variable-geometry turbocharger
- เทอร์โบดีเซล
- Boost gauge
- History of the internal combustion engine
- Intercooler
- Jet engine
- Naturally aspirated engine
- Ram-air intake
- Turbofan
- Turbojet
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ อุปกรณ์เพิ่มความแรง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.
- ↑ "''"The Turbosupercharger and the Airplane Power Plant"''". Rwebs.net. 1943-12-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.