การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ
การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ (อังกฤษ: Stereopsis recovery, recovery from stereoblindness) เป็นปรากฏการณ์ที่ผู้บอดไม่เห็นเป็น 3 มิติจะได้คืนสมรรถภาพการเห็นเป็น 3 มิติอย่างเต็มตัวหรือโดยส่วนหนึ่ง การรักษาคนไข้ที่มองไม่เห็นเป็น 3 มิติมีเป้าหมายให้ได้คืนสมรรถภาพนี้ให้มากที่สุด เป็นเป้าหมายที่มีในการแพทย์มานานแล้ว การรักษาจะมุ่งให้เห็นเป็น 3 มิติในทั้งเด็กเล็ก ๆ และคนไข้ที่เคยเห็นเป็น 3 มิติผู้ต่อมาเสียสมรรถภาพไปเนื่องจากภาวะโรค โดยเปรียบเทียบกันแล้ว การรักษาโดยจุดมุ่งหมายนี้ จะไม่ใช้กับคนไข้ที่พลาดระยะการเรียนรู้การเห็นเป็น 3 มิติในช่วงต้น ๆ ของชีวิตไป เพราะการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการเห็นเป็น 3 มิติ ดั้งเดิมเชื่อว่า เป็นไปไม่ได้ยกเว้นจะได้สมรรถภาพนี้ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ (critical period) คือในช่วงวัยทารกและวัยเด็กต้น ๆ[1] แต่สมมติฐานนี้ก็ไม่ได้สอบสวนและได้กลายเป็นรากฐานของวิธีการรรักษาโรคการเห็นด้วยสองตาเป็นทศวรรษ ๆ จนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ที่เกิดข้อสงสัย เพราะงานศึกษาเรื่องการฟื้นเห็นเป็น 3 มิติที่ได้ปรากฏในวารสารวิทยาศาสตร์และได้ปรากฏต่อสาธารณชนต่อมาว่า นักประสาทวิทยาศาสตร์ ดร. ซูซาน อาร์ บาร์รีย์ ได้เกิดการเห็นเป็น 3 มิติในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น เมื่อมองย้อนหลัง ข้อสมมุติที่ว่านั้น จึงดูเหมือนเป็นเพียงความเชื่อทางวิทยาศาสตร์[2][A][B][3]
เร็ว ๆ นี้ จึงได้มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นเห็นเป็น 3 มิติในผู้ใหญ่และเยาวชนที่ไม่เคยมีสมรรถภาพนี้มาก่อน แม้จะได้แสดงแล้วว่า ผู้ใหญ่ก็อาจจะได้สมรรถภาพนี้เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่สามารถพยากรณ์โอกาสที่ผู้บอดไม่เห็น 3 มิติจะฟื้นกลับเห็น และก็ยังไม่มีความเห็นพ้องว่าวิธีการรักษาไหนดีที่สุด นอกจากนั้น ความเกี่ยวข้องกับการรักษาเด็กที่มีตาเหล่แบบ infantile esotropia ก็ยังศึกษาอยู่
แนวทางการรักษาตาเหล่และตาบอด 3 มิติ
[แก้]ในคนไข้ตาเหล่แบบเกิดภายหลังและเห็นภาพซ้อน เป้าหมายเลิศสุดทางการแพทย์ก็คือเพื่อแก้การเห็นภาพซ้อน และในขณะเดียวกัน ทำการเพื่อให้เห็นภาพเป็น 3 มิติดังที่เคยได้มาก่อน ยกตัวอย่างเช่น คนไข้อาจเคยเห็นเป็น 3 มิติอย่างสมบูรณ์มาก่อน แต่ภายหลังกลายมาเห็นภาพซ้อนเนื่องจากภาวะโรคซึ่งทำให้เสียการเห็นเป็น 3 มิติ ในกรณีนี้ วิธีการรักษาทางแพทย์ต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดการมองเห็น (vision therapy) และการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา อาจจะแก้การมองเห็นภาพซ้อน และฟื้นคืนสภาพการเห็นเป็น 3 มิติที่หายไปชั่วคราวในคนไข้นี้
นอกจากนั้น เมื่อคนไข้ที่ตาเหล่มาแต่กำเนิด (เช่น infantile esotropia) ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาภายใน 2-3 ปีแรกในชีวิต แพทย์ก็จะหวังด้วยว่า เด็กจะสามารถพัฒนาการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตารวมทั้งการเห็นเป็น 3 มิติได้
โดยเปรียบเทียบกัน ในกรณีที่ผ่าตัดรักษาตาเหล่ของเด็กให้ตรงหลังจากอายุประมาณ 5-6 ขวบ โดยที่เด็กไม่มีโอกาสพัฒนาการเห็นเป็น 3 มิติในวัยเด็กต้น ๆ ปกติความคาดหวังก็คือการรักษาจะทำให้ดูสวยงามขึ้น แต่จะไม่ได้การเห็นเป็น 3 มิติ ดังนั้น โดยดั้งเดิม แพทย์ก็จะไม่พยายามรักษาให้ได้การเห็นเป็น 3 มิติต่อ ๆ ไป
ยกตัวอย่างเช่น ผู้เขียนหนึ่งได้สรุปมุมมองทางวิทยาศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับในเวลานั้นดังนี้ "การเห็นเป็น 3 มิติไม่มีทางเป็นไปได้ยกเว้นจะรักษาอาการตามัว ทำตาให้ตรง และได้การมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วย 2 ตา ก่อนจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่การพัฒนาเห็นเป็น 3 มิติจะหยุดลง ข้อมูลทางคลินิกแสดงนัยว่า นี่เกิดก่อนอายุ 24 เดือน […] แต่เราก็ไม่รู้แน่ว่ามันเกิดเมื่อไร เพราะข้อมูลสำคัญทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานยังขาดอยู่"[4]
อีกตัวอย่างก็คือ เอกสารพิมพ์ในปี พ.ศ. 2545 ที่แพทย์แจกให้กับคนไข้ และสรุปข้อจำกัดอันเป็นที่ยอมรับของการรักษาที่ดีที่สุดในเวลานั้น คือ "ถ้าผู้ใหญ่มีตาเหล่ตั้งแต่เด็กซึ่งไม่เคยรักษา มันสายเกินไปที่จะทำอาการตามัวหรือการรับรู้ความใกล้ไกลให้ดีขึ้น ดังนั้น เป้าหมายอาจจะเป็นเพียงแค่ความสวยงาม คือทำให้ตาดูว่ามองตรง แม้บางครั้งการรักษาก็อาจจะเพิ่มขอบเขตของการเห็นด้านข้าง ๆ"[5] ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยอมรับกันแค่เร็ว ๆ นี้ว่า การรักษาเช่นนี้มีหลักอยู่ในความคิดที่ไม่ได้ตรวจสอบ และตั้งแต่นั้น จึงเหลือเป็นแค่ "ตำนาน" หรือ "ความเชื่อ"[3]
เร็ว ๆ นี้ ปรากฏว่าการได้การเห็นเป็น 3 มิติได้เกิดขึ้นแก่ผู้ใหญ่จำนวนหนึ่ง แม้บางกรณีจะเกิดหลังการฝึกตา/การออกกำลังกายกล้ามเนื้อตา หรือเกิดขึ้นเอง
แต่แพทย์ก็เริ่มมองการผ่าตัดรักษาตาเหล่อย่างมีความหวังเพิ่มขึ้น ในเรื่องผลที่อาจได้เกี่ยวกับการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการเห็นเป็น 3 มิติ[6] ดังที่ผู้เขียนคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
ผู้ใหญ่โดยมากจะเห็นด้วยสองตาดีขึ้นหลังจากการผ่าตัดรักษาตาเหล่ แม้อาการตาเหล่อาจจะมีมานาน โดยสามัญที่สุด นี่จะอยู่ในรูปแบบของการขยายลานสายตาเมื่อมองด้วยสองตา แต่คนไข้บางคนอาจจะฟื้นเห็นเป็น 3 มิติได้ด้วย
— The efficacy of strabismus surgery in adults: a review for primary care physicians[7]
งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์เรื่องสภาพพลาสติกในระบบประสาทที่เหลืออยู่ในวัยผู้ใหญ่ ปัจจุบันจะศึกษาการได้คืนการเห็นเป็น 3 มิติด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังตรวจดูเงื่อนไขและระดับที่สามารถเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและเห็นเป็นภาพ 3 มิติ ที่เกิดได้ในวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะถ้าบุคคลนั้นชัดเจนว่าไม่ได้เห็นเป็น 3 มิติมาก่อน และศึกษาว่าผลที่ได้มีปัจจัยมาจากประวัติการรักษาอย่างไรด้วย
ตัวอย่างและกรณีศึกษา
[แก้]การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้รายงานว่าเกิดในผู้ใหญ่บางคนโดยเป็นผลของการรักษารวมทั้งการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาและการบำบัดการเห็น หรือแม้กระทั่งเกิดเองหลังจากการดูภาพยนตร์ 3 มิติ
รายงานบุคคลในหนังสือ Fixing my Gaze
[แก้]กรณีดังที่สุดซึ่งคนไข้ได้คืนการเห็นเป็น 3 มิติ ก็คือของนักประสาทวิทยาศาสตร์ ดร. ซูซาน อาร์ บาร์รีย์ ผู้มีอาการตาเหล่วัยทารก (infantile esotropia) สลับกับการเห็นภาพซ้อน แต่ไม่มีอาการตามัว ได้รับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาในวัยเด็กแต่ก็ไม่สามารถเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาในเวลานั้น ต่อมาจึงฟื้นสภาพจากการไม่เห็นเป็น 3 มิติในวัยผู้ใหญ่หลังจากรักษาด้วยการบำบัดการเห็น (vision therapy) ซึ่งนักตรวจปรับสายตา (optometrist) เป็นผู้อำนวย และต่อมาเป็นกรณีที่รายงานในบทความในวารสารรายสัปดาห์ The New Yorker ปี 2549 ของประสาทแพทย์นักเขียน นพ. โอลิเวอร์ แซ็กส์[8] นอกจากนั้น นักประสาทสรีรวิทยา ศ. เดวิด เฮ็ช ฮูเบล ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี 2524 เนื่องจากการค้นพบเกี่ยวกับการประมวลผลของระบบการเห็น ก็ได้ให้ความคิดเห็นที่ดีในกรณีนี้[9] ในปี 2552 ดร. บาร์รีย์เองได้พิมพ์หนังสือ Fixing My Gaze: A Scientist's Journey into Seeing in Three Dimensions และรายงานการได้คืนการเห็นเป็นสามมิติของตนเองและของคนไข้อื่น ๆ[10] ซึ่งเธอได้เขียนรายละเอียดถึงความแปลกใจ ความดีใจ และประสบการณ์ต่อ ๆ มาเมื่อได้เห็นเป็น 3 มิติอย่างปัจจุบันทันด่วน
ศ. ฮูเบลได้เขียนเกี่ยวกับหนังสือไว้ว่า
มันเชื่อกันอย่างกว้าขวางว่า ผู้ใหญ่ที่ตาเหล่ตั้งแต่วัยทารก จะไม่สามารถได้การเห็นเป็น 3 มิติ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกใจสำหรับทุกคน เพราะบาร์รีย์ได้ ในหนังสือ Fixing my Gaze เธอได้พรรณนาว่ามันเยี่ยมขนาดไหน ที่โลกใหม่ 3 มิตินี้ได้เปิดเผยให้เธอเห็นอย่างเป็นขั้น ๆ ในฐานะเป็นนักชีววิทยาประสาทคนหนึ่ง เธอจึงสามารถกล่าวถึงวิทยาศาสตร์ในฐานะผู้ชำนาญการ ด้วยภาษาธรรมดา ๆ
David H. Hubel ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ John Franklin Enders สาขาชีววิทยาประสาทศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์วาร์ด[11]
หนังสือยังมีรายงานของผู้อื่น ๆ ที่มีประสบการณ์คล้ายกันในการได้การเห็นเป็น 3 มิติ คือ ดร. บาร์รีย์ได้อ้างอิงประสบการณ์ส่วนตัวของบุคคลหลายคน รวมทั้ง
- ศิลปินชายผู้กล่าวถึงประสบการณ์การเห็นเป็น 3 มิติว่า "เขาสามารถมองเห็นพื้นที่รอบ ๆ และระหว่างวัตถุต่าง ๆ ได้ดีกว่าเป็นร้อยเท่า"[12]
- หญิงที่ตามัวก่อนจะเห็นเป็น 3 มิติผู้กล่าวว่า พื้นที่โล่ง ๆ "ดูเหมือนและรู้สึกเหมือนจะจับได้ เป็นของจริง มีชีวิตชีวา!"[13]
- หญิงตาเหล่ตั้งแต่อายุ 2 ขวบแล้วต่อมาเห็นภาพเป็น 3 มิติหลังจากการบำบัดการเห็น ผู้กล่าวว่า "ที่เลิศที่สุดก็คือ ความรู้สึกว่าตนได้อยู่“ภายในมิติ”"[14]
- หญิงผู้รู้สึกตกใจเพราะประสบการณ์ที่อยู่ดี ๆ ก็เห็นต้นไม้และป้ายตามข้างถนนวิ่งทะมึนเข้ามา[15]
- หญิงสองคนผู้ได้การเห็นเป็น 3 มิติอย่างฉับพลันโดยสามารถเห็นโลกเป็นมุมกว้าง โดยคนแรกกล่าวว่า "ฉันสามารถมองเห็นโลกได้มากกว่าที่เคยเห็น" และคนที่สองกล่าวว่า "มันน่าทึ่งมากเมื่อการมองเห็นรอบ ๆ ของฉัน อยู่ดี ๆ ก็เต็มทั้งสองข้าง".[16]
สิ่งที่สามัญสำหรับ ดร. บาร์รีย์ และอย่างน้อยบุคคลอีกคนที่เธอรายงานก็คือ ความรู้สึกในใจเกี่ยวกับปริภูมิรอบ ๆ ตัวได้เปลี่ยนไปหลังจากเห็นเป็น 3 มิติ และแม้ตาหนึ่งจะปิด ก็ยังรู้สึกเหมือนเห็น "มากกว่า" เทียบกับการเห็นด้วยตาเดียวก่อนจะเห็นเป็น 3 มิติ[16]
กรณีอื่นในสื่อ
[แก้]นอกจาก ดร. บาร์รีย์ แล้ว ยังมีนักประสาทวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งที่ก่อนหน้าเป็นผู้มองไม่เห็นเป็น 3 มิติ แต่ภายหลังเกิดการเห็นเป็น 3 มิติ ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อ คือ ศ. (จิตวิทยา) บรูซ บริดจ์แมน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ เขาเติบโตขึ้นเกือบจะมองไม่เห็นเป็น 3 มิติ แต่ก็ได้สมรรถภาพนี้เองในปี 2555 เมื่ออายุ 67 ปี ในขณะที่ดูภาพยนตร์ 3 มิติ ปริศนามนุษย์กลของอูโก้ ด้วยแว่นโพราไลซ์ คือฉากการแสดงปรากฏแก่เขาเป็น 3 มิติ และการเห็นโลกเป็น 3 มิติก็ดำรงต่อไปแม้หลังออกจากโรงภาพยนตร์ไปแล้ว[17][18][19]
งานวิทยาศาสตร์เร็ว ๆ นี้
[แก้]มีวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์เร็ว ๆ นี้ที่ตรวจสอบการฟื้นสภาพของการเห็นเป็น 3 มิติในผู้ใหญ่ ซึ่งพิมพ์ก่อนบทความโดย นพ. โอลิเวอร์ แซ็กส์ ที่สร้างความสนใจต่อกรณีของ ดร. บาร์รีย์[8] วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งได้ประเมินอย่างเป็นระบบเรื่องการเห็นเป็น 3 มิติของคนไข้หลังผ่าตัด[20][21][22] ในขณะที่งานศึกษาอื่น ๆ ได้ตรวจสอบผลของการฝึกตาต่าง ๆ[23][24][25]
การเห็นเป็น 3 มิติหลังผ่าตัด
[แก้]มีปัจจัยบางอย่างที่รู้ว่าจำเป็นเพื่อการเห็นเป็น 3 มิติ เช่น การเหล่ของตาในแนวนอน ถ้ามี ก็จะต้องมีน้อย[26] งานศึกษาหลายงานได้สำนึกว่า การผ่าตัดแก้ตาเหล่อาจมีผลทำให้เห็นด้วยสองตาได้ดีขึ้น[27][28]
งานหนึ่งที่พิมพ์ในปี 2546 สรุปอย่างชัดแจ้งว่า "พวกเราพบว่า การเห็นด้วยสองตาที่ดีขึ้น รวมทั้งการเห็นเป็น 3 มิติ สามารถมีได้ในผู้ใหญ่โดยส่วนสัดพอสมควร"[28] งานนี้ได้พิมพ์พร้อมกับงานศึกษาอื่น ๆ เกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมและทางวิทยาศาสตร์เนื่องด้วยการรักษา ยกตัวอย่างเช่น ความสำคัญของการมองเห็นเป็น 3 มิติในระยะยาว ความสำคัญในการไม่เห็นภาพซ้อน ความสำคัญของการได้ผลที่พยากรณ์ได้ และความสำคัญทางสังคม-จิตใจและทางเศรษฐกิจ-สังคมต่อคนไข้[28]
ในบรรดางานศึกษาเกี่ยวกับการเห็นเป็น 3 มิติหลังการผ่าตัด งานปี 2548 ได้รายงานคนไข้ 43 คนผู้อายุเกิน 18 ปี ที่ได้ผ่าตัดหลังจากมีชีวิตอยู่กับตาเหล่ตามแนวนอนที่สม่ำเสมอมามากกว่า 10 ปีโดยไม่เคยผ่าตัดหรือเห็นเป็น 3 มิติมาก่อน และตาที่เหล่จะเห็นชัดในะระดับ 20/40 หรือมากกว่านั้น ในกลุ่มนี้ การเห็นเป็น 3 มิติเกิดในคนไข้ 80% ที่ตาเหล่ออก และ 31% ที่ตาเหล่เข้า โดยการได้การเห็นเป็น 3 มิติและการเห็นชัดเป็น 3 มิติจะไม่สัมพันธ์กับจำนวนปีที่มีตาเหล่[20]
ส่วนงานศึกษาปี 2549 ได้ทบทวนงานต่าง ๆ ที่ตรวจสอบการฟื้นสภาพการเห็นเป็น 3 มิติภายในทศวรรษที่ผ่าน ๆ มาอย่างละเอียด และได้ประเมินใหม่คนไข้ทั้งหมดที่มีตาเหล่ตั้งแต่กำเนิดหรือตั้งแต่วัยต้น ๆ โดยเป็นตาเหล่ตามแนวนอน สม่ำเสมอ และมาก และเป็นคนไข้ผู้ได้รับการผ่าตัดรักษาตาเหล่ระหว่างปี 2540-2542 โดยยกเว้นผู้ที่มีประวัติโรคทางประสาทหรือโรคทั้งร่างกาย หรือโรคจอตาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเอง (organic retinal diseases) ในบรรดาคนไข้ 36 คนที่ผ่านเกณฑ์ที่ว่านี้และมีอายุระหว่าง 6-30 ปี[21]
- หลายคนมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ (56% ตามการประเมินด้วย Bagolini Striated Glasses Test, 39% ถ้าประเมินด้วย Titmus test, 33% ถ้าประเมินด้วย Worth 4 dot test, และ 22% ถ้าประเมินด้วย Random dot E test)
- 57% เห็นเป็น 3 มิติได้ชัด (stereoacuity) ที่ 200 พิลิปดาหรือดีกว่านั้น
ผลที่พบทำให้นักวิจัยได้สรุปว่า การเห็นเป็น 3 มิติในบางระดับสามารถได้แม้ในกรณีที่ตาเหล่ตั้งแต่วัยทารกหรือวัยเด็กต้น ๆ
ส่วนงานปี 2552 พบว่า ผู้ใหญ่ที่ตาเหล่อย่างสม่ำเสมอแต่มองเห็นได้ดีบางท่าน สามารถฟื้นการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาและการเห็นเป็น 3 มิติได้ด้วยการผ่าตัด[22] เทียบกับงานศึกษาปี 2550 ที่ทำกับกลุ่มผู้ใหญ่และเด็กอายุอย่างน้อย 8 ขวบกลุ่มหนึ่ง ทั้งหมดได้รับการผ่าตัดและการประเมินผลหลังจากนั้นเพราะมีตาเหล่เข้าตั้งแต่วัยทารก (infantile esotropia) ซึ่งไม่ได้รักษา ส่วนมากสามารถมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วย 2 ตา เมื่อตรวจด้วย Bagolini lenses และมีลานสายตาที่ใหญ่ขึ้น แต่ทั้งหมดก็ไม่เห็นเป็น 3 มิติ[29]
การเห็นเป็น 3 มิติได้ชัด (Stereoacuity) จะจำกัดโดยการเห็นได้ชัด (visual acuity) ของตาทั้งสอง และโดยเฉพาะของตาที่แย่กว่า ซึ่งหมายความว่า ตาข้างใดข้างหนึ่งยิ่งมองเห็นชัดน้อยกว่า 20/20 เท่าไร โอกาสการได้การเห็นเป็น 3 มิติก็น้อยลงเท่านั้น ยกเว้นถ้าสามารถทำตาให้ชัดขึ้นโดยวิธีอื่น และการผ่าตัดแก้ตาเหล่เองก็ไม่ได้ช่วยทำให้เห็นได้ชัดขึ้น
การเห็นเป็น 3 มิติหลังการฝึกตา
[แก้]การฝึกตา (Orthoptic exercise) มีหลักฐานแล้วว่ามีประสิทธิผลลดอาการในคนไข้ที่ตาเบนเข้าไม่พอ (convergence insufficiency) และคนไข้ตาเหล่แฝงออกนอก (exophoria) โดยช่วยปรับปรุงการเบนตาเข้าเพื่อดูวัตถุใกล้ ๆ ที่จำเป็นในการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา[30]
งานทดลองกับลิงปี 2550 แสดงการเห็นเป็น 3 มิติที่ชัดขึ้นในลิง หลังจากที่โตขึ้นเป็นเวลา 2 ปีที่ไม่ให้เห็นด้วยสองตาโดยใช้ปริซึม แล้วได้รับการฝึกทางจิต-ภายภาพอย่างเข้มข้น แม้การเห็นภาพ 3 มิติจะได้คืนเป็นบางส่วน แต่ก็ยังน้อยกว่าลิงที่โตขึ้นเป็นปกติมาก[31]
นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ได้อ้างว่า การเรียนรู้ทักษะการรับรู้ (perceptual learning)[C] ดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญ[32]
งานศึกษาปี 2554 งานหนึ่ง รายงานการฟื้นเห็นเป็น 3 มิติในมนุษย์โดยเรียนรู้ทักษะการรับรู้ เป็นงานที่ได้แรงดลใจจากงานของ ดร. บาร์รีย์ ในงานนี้ ผู้ร่วมการทดลองจำนวนน้อยที่ตอนแรกไม่เห็นเป็น 3 มิติ หรือเห็นเป็น 3 มิติอย่างผิดปกติ ได้ฝึกทักษะการรับรู้
นอกจากจะแสดงผลประเมินทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ นักวิจัยยังได้รายงานความรู้สึกอันเป็นอัตวิสัยของผู้ร่วมการทดลอง เช่น "หลังจากที่เห็นเป็น 3 มิติ ผู้ร่วมการทดลองรายงานว่า ความรู้สึกใกล้ไกล “กระเด้งออกมา” ซึ่งพวกเขาพบว่ามีประโยชน์และก่อความสุขในชีวิตประจำวัน" คนไข้ที่มีอาการตาหักเหแสงไม่เท่ากัน (anisometropia) ผู้เรียกว่า GD สังเกตว่า เกิดความรับรู้ใกล้ไกลเหมือนกับน้ำท่วมเมื่อกำลังซื้อของอยู่ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต เมื่อเล่นปิงปอง เธอรู้สึกว่าสามารถตามลูกปิงปองได้แม่นยำกว่าและจึงเล่นได้ดีกว่า ส่วนคนไข้ตาเหล่ AB รู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อเดินลงบันได เพราะสามารถบอกความสูงต่ำของขั้นบันไดได้ดีกว่า คนไข้ตาเหล่ AB, DP, และ LR สามารถสนุกกับภาพยนตร์ 3 มิติเป็นครั้งแรกในชีวิต และคนไข้ตาเหล่ GJ รู้สึกจับลูกบอลที่ตีขึ้นสูงในอากาศได้ง่ายขึ้นเมื่อเล่นเบสบอล[23]
ในงานศึกษาติดตามต่อมา ผู้ทำงานศึกษาได้ชี้ว่า การเห็นเป็น 3 มิติที่ได้คืนมาหลังจากการเรียนรู้ทักษะการรับรู้จะมีรายละเอียดและความแม่นยำจำกัดกว่าการเห็นเป็น 3 มิติของคนปกติ[24] มีความพยายามหลายครั้งเพื่อใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับฝึกการเห็นด้วยสองตาให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเพื่อรักษาตามัว และรักษาการระงับการเห็นระหว่างตา (interocular suppression)[D] ในบางกรณี เทคนิคสมัยใหม่เหล่านี้ก็ได้ปรับปรุงการเห็นเป็น 3 มิติของคนไข้ให้ชัดขึ้น เทคโนโลยีรุ่นต้น ๆ เพื่อการบำบัดการเห็น (vision therapy) รวมทั้ง cheiroscope ซึ่งเป็น haploscope ที่สามารถแสดงภาพที่ไม่เหมือนกันต่อตาซ้ายขวา โดยอาจให้คนไข้ลอกภาพลายเส้นที่เห็นด้วยตาข้างหนึ่ง แต่ในประวัติแล้ว วิธีการเหล่านี้ไม่ได้พัฒนาเพิ่มขึ้นและก็ไม่ได้นำมาใช้อย่างกว้างขวาง ระบบที่พัฒนาเร็ว ๆ นี้เป็นแบบการนำเสนอที่ต้องเห็นด้วยสองตา (dichoptic presentation)[E] เพื่อให้ตาแต่ละข้างรับภาพของโลกเสมือนที่ไม่เหมือนกัน และเพื่อให้สมองต้องรวมภาพเหล่านั้นเพื่อทำการได้สำเร็จ
กลุ่มนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมได้สร้างระบบเช่นนี้รุ่นแรก ๆ เพื่อรักษาตามัวโดยใช้หน้ากากความจริงเสมือน[33][34][35] หรือแว่นตา 3 มิติที่มีขาย (Active shutter 3D system)[36] กลุ่มนักวิจัยยังได้พัฒนาเกณฑ์วิธีฝึกการเรียนรู้ทักษะการรับรู้ ที่มุ่งเจาะจงความไม่ชัดเจนในการเห็นเป็น 3 มิติ เพื่อให้สามารถฟื้นการเห็นเป็น 3 มิติอย่างเป็นปกติแม้ในวัยผู้ใหญ่[37]
ระบบการนำเสนอที่ต้องเห็นด้วยสองตา[E] อีกแบบเพื่อการบำบัดการเห็นด้วยสองตา ได้เสนอโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแมคกิลล์[38] โดยใช้เกมเตตริสแบบปรับปรุง[39] และได้ใชัรักษาคนไข้อาการ interocular suppression[D] ที่มีตามัวอย่างสำเร็จผล โดยอาศัยการเปลี่ยนพารามิเตอร์ของเกมอย่างเป็นระบบในช่วงการฝึกตาเป็นระยะ 4 สัปดาห์ และแพทย์จำเป็นต้องควบคุมดูแลเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่เห็นเป็นภาพซ้อน คนไข้โดยมากที่ผ่านการรักษานี้ จะเห็นได้ชัดขึ้นในตาที่แย่กว่า และบางคนก็เห็นเป็น 3 มิติได้ดีขึ้นด้วย[40]
งานศึกษาอีกงานหนึ่งที่สถาบันเดียวกันแสดงว่า การฝึกเห็นด้วยสองตาอาจมีประสิทธิผลในผู้ใหญ่ดีกว่าการรักษาอาการตามัวธรรมดา ๆ โดยใช้ผ้าปิดตา ในงานนี้ ผู้ใหญ่ 18 คนเล่นเกมเตตริสชั่วโมงหนึ่งต่อวัน ครึ่งหนึ่งใส่ผ้าปิดตาและอีกครึ่งเหนึ่งเล่นเกมที่ปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับการฝึกเห็นด้วนสองตา หลังจาก 2 สัปดาห์ กลุ่มที่เล่นเกมฉบับปรับปรุงมีสายตาดีขึ้นในตาข้างที่ไม่ดีและเห็นเป็น 3 มิติได้ชัดขึ้นอย่างสำคัญ ส่วนกลุ่มที่ปิดตาก็ดีขึ้นพอสมควร แต่ดีขึ้นมากหลังจากได้การฝึกเห็นด้วยสองตาต่อมาด้วย[41][42]
การบำบัดด้วยการเรียนรู้ทักษะการรับรู้ที่อาศัยการฝึกเห็นด้วยสองตา ซึ่งแสดงภาพด้วยหน่วยแสดงผลสวมศีรษะ สามารถปรับใช้กับเด็กตามัวเช่นกัน ซึ่งช่วยปรับปรุงทั้งความชัดของตาที่มัวและการเห็นเป็น 3 มิติ[43] นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยได้แสดงว่า การเล่นเกมเพื่อการฝึกเห็นด้วยสองตาเป็นระยะ 1-3 อาทิตย์ วันละ 1-2 ชม. โดยใช้อุปกรณ์มือถือ "สามารถเพิ่มความชัดและฟื้นสภาพการทำงานของสองตา รวมทั้งการเห็นเป็น 3 มิติในผู้ใหญ่"[44] นอกจากนั้น ยังเสนอด้วยว่า ผลเหล่านี้สามารถเพิ่มด้วยการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะแบบ anodal transcranial direct current stimulation (tDCS)[45][46]
งานวิจัยปี 2012 ที่ทำร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ ได้พัฒนาวิดีโอเกมคอมพิวเตอร์แบบความเป็นจริงเสมือนอื่น ๆ[25][47] ซึ่งดูจะมีอนาคตเพื่อปรับปรุงทั้งการเห็นด้วยตาข้างเดียวและการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาในมนุษย์
นักพัฒนาเกม เจมส์ บลาฮา ผู้ได้พัฒนาฉบับปรับปรุงของ Oculus Rift ซึ่งเป็นเกมความเป็นจริงเสมือนใน 3 มิติ และก็ยังทดลองพัฒนาปรับปรุงเกมอยู่ ได้เกิดเห็นภาพเป็น 3 มิติเป็นครั้งแรกเมื่อเล่นเกมของตนเองด้วย[48][49] ในปี 2554 มีรายงานว่าคนไข้ตามัวเพราะการหักเหแสงในตาที่ไม่เท่ากัน (anisometropic amblyopia) 2 คน มองเห็นชัดขึ้น (visual acuity) และเห็นเป็น 3 มิติได้ชัดขึ้น (stereoacuity) เนื่องจากการบัดบัดอาศัยการเรียนรู้[50]
มีตัวบ่งชี้บ้างว่า การระงับการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาในคนไข้ตามัว มาจากกลไกการระงับ (suppression)[D] ที่ขัดขวางสมองไม่ให้เรียนรู้เพื่อเห็น[41] จึงมีการเสนอว่า การหยุดการระงับและสภาพพลาสติกทางประสาท อาจมีโอกาสเพิ่มถ้ามีปัจจัยโดยเฉพาะ ๆ ที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ทักษะการรับรู้และการเล่นวิดีโอเกม ปัจจัยรวมทั้ง การใส่ใจมากขึ้น มีแรงดลใจ/รางวัล ความรู้สึกสนุก และการมีสมาธิ (flow)[51][52][53]
ประกันสุขภาพ
[แก้]อาศัยวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ องค์กรประกันสุขภาพจะพิจารณาการบำบัดต่าง ๆ ตามประสิทธิผลในการรักษา ประโยชน์ที่ได้ ความเสี่ยง และค่าใช้จ่าย แม้จะมีกรณีเป็นรายบุคคลที่ฟื้นสภาพ การรักษาหนึ่ง ๆ จะพิจารณาว่ามีประสิทธิผล ก็ต่อเมื่อมันมีโอกาสปรับปรุงอาการคนไข้อย่างเชื่อถือได้
ในบริบทเช่นนี้ การคุ้มครองการรักษาขององค์กรประกันสุขภาพระดับโลก คือ ซิกน่า "ไม่รวมการบำบัดการเห็น (vision therapy), การฝึกปรับสายตา (optometric training), การออกกำลังกล้ามเนื้อตา (eye exercises), หรือ orthoptics เพราะพวกมันพิจารณาว่า ยังอยู่ระหว่างการทดลอง อยู่ใต้การตรวจสอบ หรือยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ ไม่ว่าสำหรับข้อบ่งชี้ใด ๆ รวมทั้งการรักษาความผิดปกติทางการเห็นและความพิการในการเรียนรู้" โดยมีฐานจากการทบทวนบรรณานุกรมที่ตีพิมพ์โดยองค์กร ซึ่งได้สรุปไว้ว่า "(มี) หลักฐานไม่พอในวรรณกรรมที่ตีพิมพ์และทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันเพื่อสรุปว่า การบำบัดการเห็นมีประสิทธิผลเพื่อรักษาโรคตาเหล่อย่างใดอย่างหนึ่ง ยกเว้นเพื่อปรับตัวให้เข้ากับปริซึมก่อนผ่าตัดสำหรับตาเหล่เข้าที่เกิดภายหลัง"[54] เช่นเดียวกัน บริษัทบริหารสุขภาพ Aetna จะคุ้มครองการบำบัดการเห็นก็ต่อเมื่อมีประกันเสริมเท่านั้น และจำกัดการให้บริการสำหรับโรคที่ระบุอย่างชัดเจนในรายการโรคทางตา[55]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ "[…] The book's main contribution, however, is exposing the wrong-headed dogma that acuity and binocular vision can be restored only during a critical developmental period." —New England Journal of Medicine.
- อ้างอิงโดย Barry 2009, introductory pages
- ↑ "[…] Part memoir and part science, Fixing My Gaze is a fitting tribute to the determination of a patient and her optometrist in challenging conventional wisdom and dogma." —Journal of Behavioral Optometry.
- อ้างอิงโดย Barry 2009, introductory pages
- ↑ การเรียนรู้ทักษะการรับรู้ (perceptual learning) เป็นการเรียนรู้ทักษะการรับรู้โลกที่ดีกว่า เช่น การแยกแยะเสียงโน้ตดนตรี 2 เสียง หรือการจัดหมวดรูปแบบต่าง ๆ ทางพื้นที่หรือทางกาลเวลาที่เหมาะสมกับความชำนาญที่ใช้ได้ในโลกจริง ๆ เช่น การอ่านหนังสือ การเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวหมากรุก หรือว่าการรู้ว่า ภาพเอ็กซ์เรย์ที่เห็นมีเนื้องอกอยู่หรือไม่
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Suppression (การระงับ) ของตามนุษย์หมายถึงการปรับตัวใต้จิตสำนึกของสมองที่พยายามระงับความผิดปกติของการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา เช่น ตาเหล่, convergence insufficiency, และอาการตาเห็นรูปต่างกัน (aniseikonia) คือ สมองสามารถระงับการเห็นภาพซ้อนโดยไม่สนใจภาพจากตาหนึ่งทั้งหมดหรือเป็นบางส่วน ส่วนลานสายตาที่ถูกระงับเรียกว่า suppression scotoma (ดวงมืดที่ถูกระงับ) Suppression สามารถทำให้เกิดอาการตามัว
- ↑ 5.0 5.1 คำว่า Dichoptic หมายการมองภาพที่ไม่เหมือนกันที่ตาแต่ละข้าง ในการนำเสนอที่ต้องเห็นด้วยสองตา ภาพหนึ่งจะแสดงให้ตาซ้าย และภาพที่ต่างกันก็จะแสดงให้ตาขวา เพื่อแสดงองค์ประกอบต่าง ๆ จากวิดีโอเกมหรือความเป็นจริงเสมือน โดยการแสดงที่ตาซึ่งแย่กว่าอาจจะมีกำลังกว่า เช่น มีความเปรียบต่างสูงกว่า และภาพ/เหตุการณ์จะต้องดูด้วยตาทั้งสองข้างจึงจะเห็นได้ทั้งหมด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ See for example: Uri Polat (2008). "Restoration of underdeveloped cortical functions: Evidence from treatment of adult amblyopia". Restorative Neurology and Neuroscience. 26 (4–5): 413–424. PMID 18997316.
- ↑ Barry, Susan R. (2009). Fixing My Gaze: A Scientist's Journey into Seeing in Three Dimensions. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-02073-7.
- ↑ 3.0 3.1 Andrew T. Astle; Paul V. McGraw; Ben S. Webb (2011). "Myth exploded: Recovery of stereo acuity in adults with amblyopia". BMJ Case Reports. 2011 (feb21 2): bcr0720103143. doi:10.1136/bcr.07.2010.3143. PMC 3062842. PMID 22707543.
- ↑ Nigel W. Daw (April 1998). "Critical Periods and Amblyopia". Archives of Ophthalmology. 116 (4): 502–505. doi:10.1001/archopht.116.4.502. PMID 9565050.
- ↑ Rubin, Melvin L; Winograd, Lawrence A (September 2002). Taking Care of Your Eyes: A Collection of the Patient Information Handouts Used by America's Leading Eye Doctors. Triad Records.
If an adult has a childhood strabismus that was never treated, it is too late to improve any amblyopia or depth perception, so the goal may be simply cosmetic - to make the eyes appear to be properly aligned - though sometimes treatment does enlarge the extent of side vision."
- ↑ A. Dickmann; S. Aliberti; M.T. Rebecchi; I. Aprile; A. Salerni; S. Petroni; R. Parrilla; V. Perrotta; E. Di Nardo; E. Balestrazzi (February 2013). "Improved sensory status and quality-of-life measures in adult patients after strabismus surgery". Journal of AAPOS. 17 (1): 25–28. doi:10.1016/j.jaapos.2012.09.017. PMID 23352383.
- ↑ Kushner, B. J. (April 2011). "The efficacy of strabismus surgery in adults: a review for primary care physicians". Postgraduate Medical Journal. 87 (1026): 269–273. doi:10.1136/pgmj.2010.108670. PMID 21273365. S2CID 34402996.
- ↑ 8.0 8.1 Sacks, Oliver (2006-06-19). "Stereo Sue: Why two eyes are better than one". The New Yorker.
- ↑ Barry 2009, pp. 138–140.
- ↑ Barry 2009
- ↑ Barry 2009 "It has been widely thought that an adult, cross-eyed since infancy, could never acquire stereovision, but to everyone's surprise, Barry succeeded. In Fixing my Gaze, she describes how wonderful it was to have, step-by-step, this new 3D world revealed to her. And as a neurobiologist she is able to discuss the science as an expert, in simple language."
- ↑ Barry 2009, pp. 123 "that he could see one hundred more times negative space"
- ↑ Barry 2009, pp. 123–124 "looks and feels palpable, tangible—alive!"
- ↑ Barry 2009, pp. 124 "The coolest thing is the feeling you get being “in the dimension”"
- ↑ Barry 2009, pp. 128–129
- ↑ 16.0 16.1 Barry 2009, pp. 129–131 "I was able to take in so much more of the room than I did before", "It was very dramatic as my peripheral vision suddenly filled in on both sides"
- ↑ Morgen Peck (19 July 2012). "How a movie changed one man's vision forever". BBC Future. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-02-16.
- ↑ Barry B. Sandrew (19 March 2012). "Reflections on the Growth of 3D". สืบค้นเมื่อ 20 July 2013.
- ↑ Bruce Bridgeman (2014). "Restoring Adult Stereopsis: A Vision Researcher's Personal Experience". Optometry & Vision Science. Vol. 14 no. 6. doi:10.1097/OPX.0000000000000272.
- ↑ 20.0 20.1 S. Kim; S.T. Yi; Y.A. Cho (November 2005). "Postoperative Recovery of Stereopsis in Longstanding Adult Constant-Horizontal Strabismus". Journal of the Korean Ophthalmological Society (ภาษาเกาหลี). 46 (11): 1831–1836.
- ↑ 21.0 21.1 Davood Gharabaghi; Minoo Azadeh (2006). "Binocular vision and stereopsis following delayed strabismus surgery". Iranian Journal of Ophthalmology. 19 (2): 46–50. (abstract, full text เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ 22.0 22.1 Tarannum Fatima; Abadan K Amitava; Saba Siddiqui; Mohammad Ashraf (March–April 2009). "Gains beyond cosmesis: Recovery of fusion and stereopsis in adults with longstanding strabismus following successful surgical realignment". Indian Journal of Ophthalmology. 57 (2): 141–143. doi:10.4103/0301-4738.45505. PMC 2684431. PMID 19237789.
- ↑ 23.0 23.1 Jian Ding; Dennis M. Levi (September 2011). "Recovery of stereopsis through perceptual learning in human adults with abnormal binocular vision". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 108 (37): 15035–15036. doi:10.1073/pnas.1105183108. PMC 3174650. PMID 21896742.
- ↑ 24.0 24.1 Jian Ding; Dennis M. Levi. The spatial limits of recovered stereopsis in strabismic/amblyopic adults. European Conference on Visual Perception 2011, 28 August - 1 September 2011, 64. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-16. สืบค้นเมื่อ 2018-02-16. (full text เก็บถาวร 2013-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ 25.0 25.1 Indu Vedamurthy; Samuel J. Huang; Dennis M. Levi; Daphne Bavelier; David C. Knill (27 December 2012). "Recovery of stereopsis in adults through training in a virtual reality task". Journal of Vision. 12 (14): 53. doi:10.1167/12.14.53. Article 53
- ↑ David A. Leske; Jonathan M. Holmes (February 2004). "Maximum angle of horizontal strabismus consistent with true stereopsis". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 8 (1): 28–34. doi:10.1016/j.jaapos.2003.08.010. PMID 14970796.
- ↑ John D. Baker (June 2002). "The value of adult strabismus correction to the patient". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 6 (3): 136–140. doi:10.1067/mpa.2002.123430. PMID 12075288.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 Marilyn B. Mets; Cynthia Beauchamp; Betty Anne Haldi (2003). "Binocularity following surgical correction of strabismus in adults". Transactions of the American Ophthalmological Society. 101 (101): 201–207. doi:10.1016/j.jaapos.2004.07.003. PMC 1358989. PMID 14971578.
- ↑ Anthony David Neil Murray; Jane Orpen; Carolyn Calcutt (April 2007). "Changes in the functional binocular status of older children and adults with previously untreated infantile esotropia following late surgical realignment". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 11 (2): 125–130. doi:10.1016/j.jaapos.2006.10.016. PMID 17306996.
- ↑ S. Aziz; M. Cleary; H.K. Stewart; C.R. Weir (December 2006). "Are orthoptic exercises an effective treatment for convergence and fusion deficiencies?". Strabismus. 14 (4): 183–189. doi:10.1080/09273970601026185. PMID 17162439. S2CID 43413242.
- ↑ C. Nakatsuka; และคณะ (April 2007). "Effects of Perceptual Learning on Local Stereopsis and Neuronal Responses of V1 and V2 in Prism-Reared Monkeys". Journal of Neurophysiology. 97 (4): 2612–2626. doi:10.1152/jn.01001.2006. PMID 17267754.
- ↑ Dennis M. Levi (April 2005). "Perceptual learning in adults with amblyopia: A reevaluation of critical periods in human vision". Developmental Psychobiology. 46 (3): 222–232. doi:10.1002/dev.20050. PMID 15772964.
- ↑ Patent WO2003092482 A1 Ocular display apparatus for assessment and measurement of and for treatment of ocular disorders, and methods therefor, priority date 4 May 2002, publication date 13 November 2003, Isabel Ash et al.
- ↑ Eastgate RM, Griffiths GD, Waddingham PE, Moody AD, Butler TK, Cobb SV, Comaish IF, Haworth SM, Gregson RM, Ash IM, Brown SM (March 2006). "Modified virtual reality technology for treatment of amblyopia". Eye. 20 (3): 370–4. doi:10.1038/sj.eye.6701882. PMID 15832182.
- ↑ Gareth Mitchell (28 March 2006). "Video games tackle 'lazy eye'". BBC News.
- ↑ N. Herbison; S. Cobb; R. Gregson; I. Ash; R. Eastgate; J. Purdy; T. Hepburn; D. Mackeith; A. Foss (28 June 2013). "Interactive binocular treatment (I-BiT) for amblyopia: results of a pilot study of 3D shutter glasses system". Eye. 27 (9): 1077–1083. doi:10.1038/eye.2013.113. PMC 3772355. PMID 23807383.
- ↑ Andrew T. Astle; Paul V. McGraw; Ben S. Webb (September 2011). "Can Human Amblyopia be Treated in Adulthood?". Strabismus. 19 (3): 99–109. doi:10.3109/09273972.2011.600420. PMC 3433677. PMID 21870913.
- ↑ Patent WO 2009053917 A1 Binocular vision assessment and/or therapy, priority date 23 October 2007, publication date 30 April 2009, Robert F. Hess et al.
- ↑ Joseph Nordqvist (23 April 2013). "Tetris Video Game Helps Treat Lazy Eye". Medical News Today.
- ↑ Black JM, Hess RF, Cooperstock JR, To L, Thompson B (2012). "The measurement and treatment of suppression in amblyopia". Journal of Visualized Experiments (70): e3927. doi:10.3791/3927. PMC 3575204. PMID 23271400. (with video clip explaining the procedure)
- ↑ 41.0 41.1 Jinrong Li; Benjamin Thompson; Daming Deng; Lily Y.L. Chan; Minbin Yu; Robert F. Hess (2013). "Dichoptic training enables the adult amblyopic brain to learn". Current Biology. 23 (8): R308–309. doi:10.1016/j.cub.2013.01.059. PMID 23618662.
- ↑ Review of the Li et al (2013) article in: "Tetris as treatment". Student BMJ (21): f3332. 2013. doi:10.1136/sbmj.f3332. S2CID 220112170.
- ↑ Pamela J. Knox; Anita J. Simmers; Lyle S. Gray; Marie Cleary (February 2012). "An exploratory study: Prolonged periods of binocular stimulation can provide an effective treatment for childhood amblyopia". Investigative Ophthalmology & Visual Science. 53 (2): 817–824. doi:10.1167/iovs.11-8219. PMID 22169103.
- ↑ Hess, R. F.; Thompson, B; Black, J. M.; Machara, G; Zhang, P; Bobier, W. R.; Cooperstock, J (2012). "An i Pod treatment of amblyopia: An updated binocular approach". Optometry (St. Louis, Mo.). 83 (2): 87–94. PMID 23231369.
- ↑ Hess, Robert F.; Thompson, Benjamin; Baker, Daniel H. (2014). "Binocular vision in amblyopia: structure, suppression and plasticity". Ophthalmic and Physiological Optics. 34 (2): 146–162. doi:10.1111/opo.12123.
- ↑ Spiegel, D. P.; และคณะ (2013). "Transcranial direct current stimulation enhances recovery of stereopsis in adults with amblyopia". Neurotherapeutics. 10 (4): 831–839. doi:10.1007/s13311-013-0200-y.
- ↑ Patent US20120179076 A1 Method and system for treating amblyopia, priority date 16 September 2010, filing date 16 September 2011, publication date 12 July 2012, Daphne Bavelier et al.
- ↑ Blaha James; Gupta Manish (2014). "Diplopia: A virtual reality game designed to help amblyopics". 2014 IEEE Virtual Reality (VR). Virtual Reality. Vol. 2014. pp. 163–164. doi:10.1109/VR.2014.6802102. ISBN 978-1-4799-2871-2. S2CID 34995449.
- ↑ Rift, James. Reverend VR Podcast with James Rift (MP3).
- ↑ Astle AT, McGraw PV, Webb BS (2011). "Recovery of stereo acuity in adults with amblyopia". BMJ Case Reports. 2011 (feb21 2): bcr0720103143. doi:10.1136/bcr.07.2010.3143. PMC 3062842. PMID 22707543. Cited in: Levi DM (June 2012). "Prentice award lecture 2011: Removing the brakes on plasticity in the amblyopic brain". Optometry and Vision Science. 89 (6): 827–38. doi:10.1097/OPX.0b013e318257a187. PMC 3369432. PMID 22581119.
- ↑ Levi DM (June 2012). "Prentice award lecture 2011: Removing the brakes on plasticity in the amblyopic brain". Optometry and Vision Science. 89 (6): 827–38. doi:10.1097/OPX.0b013e318257a187. PMC 3369432. PMID 22581119.
- ↑ Laura Baroncelli; Lamberto Maffei; Alessandro Sale (2011). "New Perspectives in Amblyopia Therapy on Adults: A Critical Role for the Excitatory/Inhibitory Balance". Front Cell Neurosci. 5 (25): 25. doi:10.3389/fncel.2011.00025. PMC 3223381. PMID 22144947.
- ↑ D. Bavelier; D.M. Levi; R.W. Li; Y. Dan; T.K. Hensch (November 2010). "Removing brakes on adult brain plasticity: from molecular to behavioral interventions". The Journal of Neuroscience. 30 (45): 14964–14971. doi:10.1523/JNEUROSCI.4812-10.2010. PMC 2992973. PMID 21068299.
- ↑ Cigna Medical Coverage Policy, Coverage policy number 0221, effective 15 November 2012, for review 15 November 2013 (downloaded 20 July 2013)
- ↑ Clinical policy bulletins: Vision therapy, Number 0489, 4 June 2013, for review 13 June 2013 (downloaded 21 July 2013)