วงศ์ปลาสาก
วงศ์ปลาสาก ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีนตอนต้น-ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ฝูงปลาสาก | |
ฝูงปลาสาก ที่เกาะเต่า ประเทศไทย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
อันดับย่อย: | Percoidei |
วงศ์ใหญ่: | Percoidea |
วงศ์: | Sphyraenidae Rafinesque, 1815 |
สกุล: | Sphyraena Artedi in Röse, 1793 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
วงศ์ปลาสาก หรือ วงศ์ปลาน้ำดอกไม้[3] (อังกฤษ: Barracuda, Seapike) วงศ์ปลากระดูกแข็งน้ำเค็มวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphyraenidae
มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม ปากกว้าง กรามล่างยื่นยาวกว่ากรามบน มีฟันแหลมคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบางขอบเรียบ มีครีบหลัง 2 ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ทั้งสีน้ำตาลอมเหลือง หรือลายบั้งขวางลำตัวเป็นท่อน ๆ หรือแต้มจุด แต่โดยมากมักเป็นสีฟ้าเทา ครีบหางเป็นแฉกรูปตัววี (V)
มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30-180 เซนติเมตร [4]
อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่บางครั้งอาจถึง 1,000 ตัว เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียว ไล่ล่าฝูงปลาชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร นับเป็นผู้ล่าอันดับต้น ๆ ของห่วงโซ่ชีวิตในทะเลจำพวกหนึ่ง เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็ก จะอาศัยอยู่รวมกับฝูงปลาอย่างอื่น อาทิ ปลากะตัก ตามกองหินหรือแนวปะการังใต้น้ำ[5] หรือตามปากแม่น้่ำ ที่เป็นแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด[6]
ปลาสาก สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ เช่นเดียวกับปลาฉลาม ด้วยการกัดจากกรามและฟันที่แข็งแรง สามารถงับปลาอื่นที่เป็นอาหารให้ขาดสองท่อนได้จากการงับเพียงครั้งเดียว ที่สหรัฐอเมริกามีกรณีที่ปลากระโดดขึ้นมาจากน้ำงับแขนของเด็กผู้หญิงวัย 14 ปีที่นั่งอยู่บนเรือ เป็นแผลฉกรรจ์ต้องเย็บไปทั้งสิ้น 51 เข็ม[7] แต่ไม่เคยมีรายงานว่าทำอันตรายได้ถึงแก่ชีวิต[8]
ปลาสาก เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ด้วยนิยมบริโภคและซื้อขายกันในตลาดสด และนิยมตกเป็นเกมกีฬา
สามารถแบ่งออกเป็นชนิดได้ทั้งหมด 26 ชนิด ในสกุลเดียว กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก ในทวีปอเมริกาพบได้ตั้งแต่บราซิลไปจนถึงฟลอริดา
การจำแนก
[แก้]- Sphyraena
- Sphyraena acutipinnis Day, 1876
- Sphyraena afra Peters, 1844
- Sphyraena africana Gilchrist & Thompson, 1909
- Sphyraena argentea Girard, 1854
- Sphyraena barracuda (Edwards in Catesby, 1771)
- Sphyraena borealis DeKay, 1842
- Sphyraena chrysotaenia Klunzinger, 1884
- Sphyraena ensis Jordan & Gilbert, 1882
- Sphyraena flavicauda Rüppell, 1838
- Sphyraena forsteri Cuvier, 1829
- Sphyraena guachancho Cuvier, 1829
- Sphyraena helleri Jenkins, 1901
- Sphyraena idiastes Heller & Snodgrass, 1903
- Sphyraena japonica Bloch & Schneider, 1801
- Sphyraena jello Cuvier, 1829
- Sphyraena lucasana Gill, 1863
- Sphyraena nigripinnis Temminck & Schlegel, 1843
- Sphyraena novaehollandiae Günther, 1860
- Sphyraena obtusata Cuvier, 1829
- Sphyraena pinguis Günther, 1874
- Sphyraena putnamae Jordan & Seale, 1905
- Sphyraena qenie Klunzinger, 1870
- Sphyraena sphyraena (Linnaeus, 1758)
- Sphyraena tome Fowler, 1903
- Sphyraena viridensis Cuvier, 1829
- Sphyraena waitii Ogilby, 1908 [2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2007-12-25.
- ↑ 2.0 2.1 จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ น้ำดอกไม้ ๓ น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ Labat Jean-Baptiste (1663–1738) Nouveau voyage Isles de l'Amerique, contenant l'histoire naturelle...l'origine, les mour, la religion Paris 1742.
- ↑ [ลิงก์เสีย] ปลาสาก นักล่าผู้น่าเกรงขาม / วินิจ รังผึ้ง จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ สารคดีสำรวจโลก. สารคดีทาง new)tv: พุธที่ 4 มีนาคม 2558
- ↑ Vacation Nightmares, "Dangerous Encounters". สารคดีทาง new)tv: ศุกร์ที่ 26 ธันวาคม 2557
- ↑ สัตว์ทะเลที่เป็นอันตราย (ปลาสาก)[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Sphyraena ที่วิกิสปีชีส์