ข้ามไปเนื้อหา

อนุสรณ์สถานทหารโซเวียต (อุทยานเทรพโท)

พิกัด: 52°29′15″N 13°28′06″E / 52.48750°N 13.46833°E / 52.48750; 13.46833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Soviet War Memorial (Treptower Park))
อนุสรณ์สถานทหารโซเวียต
อุทยานเทรพโท
ผู้เยี่ยมชมได้วางดอกไม้ในวันแห่งชัยชนะ
สร้างเพื่อรำลึกถึง ทหารโซเวียตที่เสียชีวิตระหว่างการรบในยุทธการที่เบอร์ลิน
เปิดครั้งแรก8 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 (1949-05-08)
ที่ตั้ง52°29′15″N 13°28′06″E / 52.48750°N 13.46833°E / 52.48750; 13.46833
ใกล้ เบอร์ลิน
ออกแบบโดยยาคอฟ เบโลปอลสกี
ภาพพาโนรามาของอนุสรณ์สถานทหารโซเวียต (อุทยานเทรพโท)

อนุสรณ์สถานทหารโซเวียต (เยอรมัน: Sowjetisches Ehrenmal im Treptower Park) เป็นอนุสรณ์สถานสงครามและสุสาน ตั้งอยู่ที่อุทยานเทรพโทในกรุงเบอร์ลิน (เบอร์ลินตะวันออกในอดีต) อนุสรณ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวโซเวียต ยาคอฟ เบโลปอลสกี โดยสร้างเพื่อรำลึกถึงทหารโซเวียต 7,000 ถึง 80,000 คนที่เสียชีวิตระหว่างการรบในยุทธการที่เบอร์ลิน ระหว่างเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม 1945 อนุสรณ์สถานเปิดให้เข้าชมในวันที่ 8 พฤษภาคม 1949 สี่ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด

อนุสรณ์สถานนี้เป็นอนุสรณ์สถานหลักของเยอรมนีตะวันออก โดยอนุสรณ์สถานนี้เป็นหนึ่งในสามอนุสรณ์สถานทหารโซเวียตที่สร้างในกรุงเบอร์ลิน โดยมีอนุสรณ์สถานอีกสองที่คือ อนุสรณ์สถานที่เทียร์การ์เทินในเขตมิทเทอ และอนุสรณ์สถานที่เชินฮอลเซอร์ไฮเดอในเขตพังโค

อนุสาวรีย์หลักของอนุสรณ์สถานทหารโซเวียตออกแบบและสร้างโดยสถาปนิกชาวโซเวียต เยฟเกนี วูเชติช มีความสูง 12 เมตร อนุสาวรีย์ประกอบไปด้วยทหารโซเวียตถือดาบกำลังอุ้มเด็กผู้หญิงชาวเยอรมัน โดยยืนอยู่เหนือ เครื่องหมายสวัสดิกะที่ถูกทำลาย โดยสร้างจากความประสงค์ของจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต วาซีลี ชุยคอฟ โดยเพื่อรำลึกถึงสิบเอกนิโคไล มาซาลอฟ ระหว่างการบุกครั้งสุดท้ายที่ตอนกลางของกรุงเบอร์ลิน โดยได้ช่วยชีวิตเด็กสาวอายุสามขวบ ที่ตามหาแม่ที่หายไปท่ามกลางกระสุนปืนกลของนาซี[1]

นอกจากนี้อนุสรณ์สถานยังมีโลงหิน 16 โลง แต่ละโลงจะจารึกชื่อ 16 สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต (ในปี 1940–56 โดยรวมถึง สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช ต่อมาคือ สาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตคาเรลียา ในชื่อ 16 "สาธารณรัฐของสหภาพ") โดยที่หินอ่อนสีน้ำตาลแดงและโลงหินที่ใช้ในการสร้างอนุสรณ์สถานทหารโซเวียตนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการทำลายอาคารทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์[2]

หลังจากที่กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย มีผู้ไม่หวังดีนิรนามได้ทำลายข้าวของในอนุสรณ์สถาน รวมถึงได้สร้างรอยขูดขีดเขียนต่อต้านโซเวียต ทำให้ชาวเยอรมันตะวันออก 250,000 คน ได้มีการเดินขบวนที่อนุสรณ์สถานในวันที่ 3 มกราคม 1990[3]

สมุดภาพ

[แก้]

ดูเพื่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chuikov, Vasili I. The Fall of Berlin: With the Russian Army in Berlin, The Last Battle of Nazi Germany. Ballantine Books, New York, 1967. Translated by Ruth Kirsch. Masalov's actions are summarized on pages 210-212.
  2. Speer, Albert, Insider the Third Reich, 1970, p.116
  3. Tim Peters, Der Antifaschismus der PDS aus antiextremistischer Sicht, VS-Verlag, Wiesbaden 2006, S. 60

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Satellite photo of the Memorial - centered on the statue of a Soviet soldier holding a German girl
  • "Sowjetisches Ehrenmal (Soviet War Memorial)". The Polynational War Memorial. 24 April 2006. สืบค้นเมื่อ 2009-04-13.