ข้ามไปเนื้อหา

โสมนาถมนเทียร

พิกัด: 20°53′16.9″N 70°24′5.0″E / 20.888028°N 70.401389°E / 20.888028; 70.401389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Somnath temple)
โสมนาถมนเทียร
Image of temple
โสมนาถมนเทียร
ศาสนา
เขตอำเภอคีรโสมนาถ
เทพโสมนาถ (พระศิวะ)
เทศกาลมหาศิวราตรี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเวระวัล
รัฐคุชราต
ประเทศอินเดีย
โสมนาถมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐคุชราต
โสมนาถมนเทียร
ที่ตั้งในรัฐคุชราต
พิกัดภูมิศาสตร์20°53′16.9″N 70°24′5.0″E / 20.888028°N 70.401389°E / 20.888028; 70.401389
สถาปัตยกรรม
เสร็จสมบูรณ์1951 (สิ่งก่อสร้างปัจจุบัน)
เว็บไซต์
www.somnath.org

โสมนาถมนเทียร (อังกฤษ: Somnath temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ตั้งอยู่ในประภัสปตัน ใกล้กับเมืองชูนาคาธ สวราษฏระ บนชายฝั่งตะวันตกของรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นโบสถ์พระศิวะที่เชื่อกันว่าเป็นแห่งแรกในบรรดา ชโยติรลึงค์ (jyotirlinga) หรือโบสถ์พระศิวะที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 12 แห่ง[1] โสมนาถมนเทียรเป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญในรัฐคุชราต ตลอดประวัติศาสตร์ของมนเทียรได้มีการสร้างใหม่หลายครั้งหลังถูกทำลายต่อเนื่องจากการรุกรานของผู้ปกครองมุสลิม[2][3][4][5][6] มนเทียรหลังปัจจุบันนั้นสร้างขึ้นใหม่โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบเจาลุกยะ และสร้างเสร็จในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1951 ภายใต้คำสั่งโดยรัฐมนตรีวัลลภภาอี ปเฏล[7][8]

ศัพทมูล

[แก้]

มนเทียรนี้เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก มีตำนานต่าง ๆ มากมายที่เชื่อมโยงกับมนเทียรนี้ คำว่า “โสมนาถ” แปลว่า "จ้าว (นาถ) แห่งโสมะ" หนึ่งในพระนามขานของพระศิวะ

โสมนาถมนเทียรเป็นที่รู้จักในชื่อ “วิหารนิรันดร์กาล” ("the Shrine Eternal") ตามในหนังสือของ K. M. Munshi ที่ใช้ชื่อเดียวกัน เขียนบรรยายเล่าเรื่องของมนเทียรนี้ที่ถูกทำลายและสร้างขึ้นใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Somnath darshan". Official website of Somnath Temple. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  2. Yagnik & Sheth 2005, pp. 39–40.
  3. Thapar 2004, pp. 36–37.
  4. Catherine B. Asher, Cynthia Talbot. India before Europe. Sterling Publishers. p. 42.
  5. Thapar 2004, pp. 68–69
  6. Yagnik & Sheth 2005, p. 47-50.
  7. Gopal, Ram (1994). Hindu culture during and after Muslim rule: survival and subsequent challenges. M.D. Publications Pvt. Ltd. p. 148. ISBN 81-85880-26-3.
  8. Jaffrelot, Christophe (1996). The Hindu nationalist movement and Indian politics: 1925 to the 1990s. C. Hurst & Co. Publishers. p. 84. ISBN 1-85065-170-1.
  9. Ranjan Ghosh (30 June 2012). A Lover's Quarrel with the Past: Romance, Representation, Reading. Berghahn Books. pp. 54–. ISBN 978-0-85745-485-0.