ข้ามไปเนื้อหา

วรรณะที่ถูกกำหนดและชนเผ่าที่ถูกกำหนด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Scheduled Castes and Scheduled Tribes)
แผนที่สัดส่วนวรรณะที่ถูกกำหนดแบ่งตามเขตการปกครองระดับบนของประเทศอินเดีย ข้อมูลตามสำมะโนปี 2011[1] โดยรัฐที่มีสัดส่วนวรรณะกำหนดมากที่สุดคือรัฐปัญจาบ (~32%) ในขณะที่พื้นที่เกาะและรัฐทางตะวันตกสามรัฐมีสัดส่วนที่ 0%[1]
แผนที่สัดส่วนชนเผ่าที่ถูกกำหนดแบ่งตามเขตการปกครองระดับบนของประเทศอินเดีย ข้อมูลตามสำมะโนปี 2011[1] มิโซรัม กับ ลักษทวีป มีสัดส่วนประชากรเป็นชนเผ่ากำหนดมากที่สุด (~95%), ส่วนรัฐปัญจาบกับหรยาณาอยู่ที่ 0%[1]

วรรณะที่ถูกกำหนด[2] หรือ ผู้ด้อยโอกาสทางวรรณะ[3] (อังกฤษ: Scheduled Caste[4] ย่อว่า SC) และ ชนเผ่าที่ถูกกำหนด (อังกฤษ: Scheduled Tribes ย่อว่า ST) เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการในประเทศอินเดีย ทั้งสองคำปรากฏในรัฐธรรมนูญอินเดีย และในสมัยเจ้าอาณานิคมอังกฤษ กลุ่มคนเหล่านี้ถูกเรียกว่า ชนชั้นระดับล่าง (อังกฤษ: Depressed Classes)

ในวรรณกรรมยุคใหม่ ชนชั้นที่ถูกกำหนด บางครั้งถูกเรียกแทนด้วยคำว่า ทลิต อันแปลว่า "ผู้แตกหัก" ในภาษามราฐี การใช้คำนี้ถูกทำให้เป็นที่นิยมโดยชายชาวทลิต บี อาร์ อัมเพทกร (1891–1956) นักเศรษฐศาสตร์, นักปฏิรูป และประธานร่างรัฐธรรมนูญอินเดีย ผู้นำทลิตในยุคต่อสู้เพื่อเอกราช อัมเพทกรเลือกใช้คำว่าทลิตแทนที่จะใช้คำที่มหาตมะ คานธีใช้ หริชน อันแปลว่า "คนของหริ" (หริในที่นี้หมายถึงพระวิษณุและอาจหมายถึงพระเจ้าโดยรวม)

วรรณะที่ถูกกำหนดและชนเผ่าที่ถูกกำหนดคิดเป็นประชากร 16.6% และ 8.6% ของประเทศอินเดียตามลำดับ (ข้อมูลจากสำมะโนปี 2011)[5][6] ในรัฐบัญญัติฉบับแรกที่ว่าด้วยวรรณะและชนเผ่ากำหนดในปี 1950 ระบุวรรณะไว้ 1,108 วรรณะ[7] และชนเผ่า 744 ชนเผ่า[8]

นับตั้งแต่การได้รับเอกราช ทั้งสองกลุ่มชนได้รับสถานะรีเซิร์ฟพิเศษตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งยืนยันการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้กับกลุ่มชนเหล่านี้

Percent of scheduled tribes in India by tehsils by census 2011

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Census of India 2011, Primary Census Abstractแม่แบบ:PPTlink, Scheduled castes and scheduled tribes, Office of the Registrar General & Census Commissioner, Government of India (28 October 2013).
  2. ปรากฏใช้คำทับศัพท์นี้ใน
  3. ปรากฏใช้คำทับศัพท์นี้ใน Rajgopal, P.V. Journey to the Other India [อหิงสายาตรา บนเส้นทางสู่อินเดียอื่น]. แปลโดย ฮัมดานี, สายพิณ กุลกนกวรรณ. กรุงเทพมหานคร: สวนเงินมีมา. ISBN 9786167368603.
  4. "Scheduled Caste Welfare – List of Scheduled Castes". Ministry of Social Justice and Empowerment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2012. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  5. "2011 Census Primary Census Abstract" (PDF). Censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.
  6. "Half of India's dalit population lives in 4 states". Timesofindia.indiatimes.com. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.
  7. "Text of the Constitution (Scheduled Castes) Order, 1950, as amended". Lawmin.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-19. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.
  8. "Text of the Constitution (Scheduled Tribes) Order, 1950, as amended". Lawmin.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]