จอกหูหนู
จอกหูหนู | |
---|---|
![]() | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
ไม่มีข้อมูล
| |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Pteridophyta |
ชั้น: | Filicopsida |
อันดับ: | Hydropteridales |
วงศ์: | Salviniaceae |
สกุล: | Salvinia |
สปีชีส์: | S. cucullata roxb |
จอกหูหนู ชื่อวิทยาศาสตร์: Salvinia cucullata Roxb. ex Bory เป็นเฟินประเภทเฟินลอยน้ำ ลำต้นเป็นเหง้ากลม แตกกิ่งสาขาทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีใบออกเวียนรอบ เป็น 3 แถว โดย 2 แถวบน เป็นส่วนที่เราเห็นเป็นใบลอยน้ำ เนื้อใบหนาและนุ่ม รูปกลม หรือกว้างมากกว่ายาว ขอบใบห่อโค้งขึ้นทำให้ดูคล้ายหูหนู ขอบใบเรียบ ขนาด 1.-1.8 ซ.ม. ตัวใบไม่เปียกน้ำ ผิวใบด้านบนปกคลุมแน่นด้วยตุ่มขน จัดเรียงเป็นแถว รูปร่างแถวไม่เป็นระเบียบ ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ส่วนใบอีกแถวเป็นส่วนที่จมน้ำ ที่เรียกว่า ใบราก แตกกิ่งสาขาได้ มีสีขาว ปกคลุมด้วยขนน้ำตาล และเป็นส่วนที่สร้างกระเปาะเก็บสปอร์ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกเหง้าแบ่งกอ
จอกหูหนูใช้เป็นไม้ประดับในอ่างเลี้ยงปลา มีการนำจอกหูหนูไปหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นไม้ และยังนำไปใช้เป็นอาหารเสริมในการเพาะเห็ดฟาง จอกหูหนู ยังเป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นในการวัดคุณภาพของแหล่งน้ำได้ด้วย กล่าวคือ จอกหูหนูที่เกิดในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ ใบของจอกหูหนูจะเป็นสีเขียวอมฟ้า แต่หากน้ำมีปริมาณออกซิเจนน้อยแล้ว ใบจะออกเหลือง